จากประชาชาติธุรกิจ
หน้าหนาวปีนี้ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยเป็นห่วงประชาชนที่ต้องเผชิญสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง หากปรับตัวไม่ทันอาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ โดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ที่สำคัญ 7 โรคผิวหนัง ที่ควรพึงระวังเป็นพิเศษ คือ
1.โรคสุกใส หรืออีสุกอีใส ส่วนใหญ่เกิดกับเด็กเล็ก วัยรุ่น แต่ถ้าเป็นในผู้ใหญ่แล้วมักจะมีอาการรุนแรง และมีโรคแทรกซ้อน โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส Varicella virus ชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคงูสวัด
2.โรคงูสวัด จะเกิดในผู้ที่เคยเป็นโรคสุกใสแล้ว เมื่อหาย เชื้อไวรัสจะหลบเข้าไปในปมประสาทรับความรู้สึกโดยจะอยู่แบบไม่แบ่งตัว เมื่อร่างกายอ่อนแอ ไวรัสที่แฝงอยู่จะก่อให้เกิดอาการไข้และปวดรุนแรงตามแนวยาวของปมประสาท
3.โรคเริม เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม HERPES (Hsv-1/Hsv-2) มีลักษณะเป็นกลุ่มของตุ่มน้ำขนาดเล็ก มีขอบแดง พบได้บ่อยที่บริเวณริมฝีปาก อวัยวะเพศ และก้น การติดเชื้อครั้งแรกมักจะมีไข้ ปวดเมื่อย ต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียงมีอาการอักเสบ ผู้ที่เคยเป็นแล้วจะมีโอกาสเป็นซ้ำในตำแหน่งเดิมได้บ่อย โดยมีสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดซ้ำ คือ ภาวะเครียด ภูมิต้านทานร่างกายต่ำลง พักผ่อนไม่เพียงพอ ใกล้มีประจำเดือน หรือถูกแสงแดดจัด
4.โรคหัด มักเป็นในเด็กอายุ 1 ปี จนถึงระดับประถมศึกษา
5.โรคหัดเยอรมัน ผู้ป่วยมักมีไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยตามตัว หลังจากนั้นจะมีผื่นขึ้นที่หน้า คอ ลำตัว แขนและขา ผื่นมักขึ้นเต็มตัวภายในระยะเวลา 1 วัน และมีต่อมน้ำเหลืองโต ผื่นมักจะหายไปเองภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 วัน
6.โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) พบได้ทุกฤดู แต่ในช่วงฤดูหนาวผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจะมีโอกาสเกิดมากขึ้น
7.โรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมัน (Seborrheic dermatitis) มีลักษณะเป็นผื่นแดง มีสะเก็ดเป็นมัน ขอบเขตชัดเจน ผื่นชนิดนี้มักอยู่บริเวณร่องข้างจมูก หว่างคิ้ว หน้าหู และหนังศีรษะ
ดังนั้น ควรทำร่างกายให้อบอุ่น ดื่มน้ำมากๆ กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และระมัดระวังตัวเองให้มากขึ้นเป็นพิเศษ
คอลัมน์ ส่องโรคไขสุขภาพ
ที่มา มติชนรายวัน
อี.โอ.เอส เกียร์,ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต,#มีดดามัสกัส,#เหล็กดามัสกัส