สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

บอกเลยว่าน่ากลัวมาก!! โทษ 10 ข้อ ของสารสเตียรอยด์

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

        สเตียรอยด์คืออะไร
       
       สเตียรอยด์ เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายผลิตได้เองจากต่อมหมวกไตชั้นนอก แต่สเตียรอยด์ที่เป็นสารสังเคราะห์นั้น ใช้เพื่อประโยชน์ในการรักษาโรคและทดแทนในกรณีที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้เอง ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสเตียรอยด์เป็นยาควบคุมพิเศษ ต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้จ่ายยาให้เท่านั้น

        สเตียรอยด์ แบ่งเป็นสองกลุ่ม ได้แก่
       
       1.สเตียรอยด์ธรรมชาติ ที่ร่างกายสร้างได้เอง เป็นกลุ่มฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นในปริมาณเพียงเล็กน้อยเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายให้เป็นปกติอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานเป็นปกติ และอื่นๆอีกมากมายอย่างครอบจักรวาล
       
       2.สเตียรอยด์สังเคราะห์ ที่บริษัทยาสร้างขึ้น เนื่องด้วยคุณสมบัติในการรักษาของสารสเตียรอยด์มีมากมายนั่นเอง จึงทำให้บริษัทผลิตยา ผลิตยาสเตียรอยด์ขึ้นมาจำหน่ายโดยเลียนแบบสเตียรอยด์ที่ร่างกายสร้างขึ้น เพื่อใช้ในการรักษาทางการแพทย์ เป็นยาเคมี ที่ให้ผลในเรื่องการรักษาโรคได้ดีและรวดเร็วคล้ายสเตียรอยด์ธรรมชาติ แต่แตกต่างกัน ตรงที่สเตียรอยด์เป็นยาเคมีสังเคราะห์ และมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายมากกว่า มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน มีหลายชนิดแต่ชนิดที่เรามักจะได้ยินคุ้นหู คือ เดกซาเมธาโซน และเพรดนิโซโลน
       
       - สเตียรอยด์ประเภทใช้ภายนอก ได้แก่ ยาทา สำหรับรักษาผื่นแพ้ ลมพิษ ผิวหนังอักเสบ สะเก็ดเงิน, ยาหยอดตา ยาป้ายตา, ยาหยอดหู, ยาพ่นจมูก, ยาพ่นคอ
       
       
       - สเตียรอยด์ประเภทกินและฉีด เช่น รักษาแพ้บางชนิด โรคหืดชนิดรุนแรง โรคภูมิคุ้มกันไวเกิน ผู้ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ เป็นต้น

        โทษของสเตียรอยด์
       
       1. ภูมิคุ้มในร่างกายลดลง ทำให้ติดเชื้อง่ายมากขึ้น
       
       2. ทำให้เยื่อบุในกระเพาะอาหารบางลงและยับยั้งการสร้างเนื้อเยื่อกระเพาะ อาจทำให้กระเพาะอาหารทะลุ หรือเลือดออกในกระเพาะอาหารโดยไม่มีอาการปวดท้องมาก่อน
       
       3. ทำให้ ผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในช่วงปกติได้
       
       4. ทำให้ผู้ป่วยความดันโลหิตไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต ให้อยู่ในช่วงปกติได้ จะมีระดับความดันโลหิตสูง แต่ไม่มีอาการเตือน เป็นภัยเงียบที่อาจทำให้เกิดเส้นเลือดในสมองแตก เสี่ยงเป็นอัมพฤต-อัมพาตได้
       
       5. ทำให้กระดูกพรุน แตกหักง่าย ดังนั้น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคไขกระดูก ผู้อยู่ในวัยทอง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรตรวจภาวะกระดูกพรุนหรือปรึกษาหมอก่อนใช้ยา
       
       6.ทำให้อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อบริเวณแขน และขาไม่มีแรง จึงปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นผิดจังหวะหรืออาจหยุดเต้นได้
       
       7. ยาหยอดตาที่ผสมสเตียรอยด์ ใช้ต่อเนื่องนานๆอาจทำให้เป็น ต้อหิน หรือทำให้เลนส์กระจกตาขุ่นเกิดเป็นต้อกระจก หรือทำให้เกิดติดเชื้อที่ตาได้ง่าย อาจถึงขั้นตาบอด ไม่ควรซื้อยามาหยอดเอง
       
       8.สเตียรอยด์ชนิดยาทาภายนอก หากใช้นานๆติดต่อกัน จะทำให้ผิวหนังบาง เส้นเลือดที่ผิวหนังแตกง่าย จะเห็นรอยแตกสีม่วงแดงตามผิวหนังที่หน้าท้องและต้นขา ผิวหนังมีลักษณะเป็นมัน อักเสบมีผื่นแดง บางรายอาจเป็นสิวเห่อขึ้นทั้งตัว
       
       9. ทำให้อารมณ์แปรปรวนง่าย 
       
       10.การใช้สเตียรอยด์มากเกินขนาด จะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า “คุชชิ่ง ซินโดรม (Cushing Syndrome)” ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการใช้สเตียรอยด์ในปริมาณที่มาก มีลักษณะที่สังเกตุได้ คือใบหน้ากลมคล้ายพระจันทร์ มีไขมันพอกที่ต้นคอ ด้านหลังเป็นหนอก ผิวหนังบาง มีรอยแตกสีม่วงแดงตามผิวหนังที่หน้าท้องและต้นขา มีข้อมูลทางวิชาการยืนยัน ว่าผู้ที่มีอาการถึงขั้น คุชชิง ซินโดรม จะมีความเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตจากโรคไตสูงถึง 12 เท่า เสี่ยงต่อกระดูกหักจากกระดูกผุ 23 เท่า
       
       ประโยชน์ของยาสเตียรอยด์ที่ใช้ในทางการแพทย์
       1. ใช้เพื่อทดแทนการขาดฮอร์โมน
       2. ต้านการอักเสบ เช่น โรคปวดข้อรูมาตอยด์
       3. ใช้รักษาโรคภูมิแพ้ ที่รุนแรง เช่น
       4. การแพ้ยาและโรคผื่นคันตามผิวหนังที่เกิดจากการแพ้
       5. โรคแพ้ภูมิตนเอง เช่น เอส.แอล.อี, ไมแอสติเนีย เกรวิส ฯลฯ
       6. โรคหอบหืด
       7. โรคตาที่เกิดจากอาการแพ้ที่ไม่ติดเชื้อ
       
       วิธีสังแกตผลิตภัณฑ์หรืออาหารเสริมที่มีสารสเตียรอยด์
       1. หลังจากกินยาหรืออาหารเสริมบำรุงสุขภาพ ชนิดนี้แล้ว อาการปวดเมื่อยหายไปอย่างรวดเร็ว
       2. เจริญอาหาร หิวบ่อย กินอาหารได้เยอะขึ้น
       3. ใบหน้าบวมแดงจนเห็นเส้นเลือดฝอย
       4. ไม่มีฉลาก ไม่มีทะเบียนยา โอ้อวดสรรพคุณ
       5. ฉลากที่ถูกต้องจะต้องมี เลขทะเบียนตำรับยาซึ่งแสดงว่า ได้รับอนุญาตจาก อย. เช่น เลขทะเบียน G 20/42 หมายถึง ยาตำรับนี้เป็นยาแผนโบราณที่ผลิตในประเทศ ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนลำดับที่ 20 ในปี พ.ศ. 2542 เป็นต้น
       6. ชื่อยา สูตรยา ชื่อและจังหวัดที่ตั้งของผู้ผลิตยา วันเดือนปี ที่ผลิตยา เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิตยา ปริมาณยาที่บรรจุ และมีคำว่า "ยาแผนโบราณ" ระบุไว้ด้วย
       
       วิธีการหยุดสเตียรอยด์
       ต้องค่อยๆ ลดการใช้ลง ไม่ควรหยุดใช้อย่างกะทันหัน เพราะจะทำให้ร่างกายขาดสเตียรอยด์อย่างฉับพลัน อาจเกิดภาวะช็อก หมดสติและเสียชีวิตได้

ข้อมูลประกอบ http://www.steroidsocial.org


อี.โอ.เอส เกียร์,ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต,#มีดดามัสกัส,#เหล็กดามัสกัส

Tags : บอกเลยว่าน่ากลัวมาก โทษ 10 ข้อ สารสเตียรอยด์

view