จากประชาชาติธุรกิจ
ขอบคุณข้อมูลจาก นิตยสาร Mother & Care จากเครือ The GM Group www.motherandcare.in.th
เราสามารถสอนลูก ๆ เรื่องภัยที่มาจากคนแปลกหน้าได้ด้วยการอธิบายให้ลูกฟัง ด้วยวิธีพูดคุยให้พอเหมาะ พอดีกับวัยของลูก เวลาสอนควรใช้ท่าทีที่สงบแต่หนักแน่น เพื่อให้ลูกรับรู้ว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ลูกจะต้องเรียนรู้ แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังในการสอนไม่ทำให้ลูก ๆ กลัวคนแปลกหน้าจนสูญเสียความมั่นใจในตัวเองไปด้วยเช่นกัน ด้วย 12 วิธีง่าย ๆ
1.สอนให้ลูกรู้จักชื่อจริงของตัวเอง
- รวมถึงชื่อพ่อแม่ อายุ เบอร์โทรศัพท์ บ้านเลขที่
2.สอนวิธีโทรศัพท์ทางไกล
-ผ่านโอเปอเรเตอร์แบบเรียกเก็บเงินปลายทาง เพื่อติดต่อพ่อแม่หรือญาติ ในกรณีฉุกเฉิน วิธีโทรหาตำรวจ หมายเลขฉุกเฉิน
3.สอนให้ลูกรู้ว่าผู้ร้ายมาได้ทุกรูปแบบ
-อาจเป็นคนที่ดูเป็นมิตร เป็นผู้หญิง หรือผู้ชายก็ได้ ถ้าเป็นเด็กเล็ก ๆ ให้สอนลูกให้รู้ว่า นอกจากพ่อ ญาติพี่น้องที่เคยเห็น นอกนั้นคือคนแปลกหน้า
4.ถ้าลูกต้องอยู่บ้านคนเดียว
-ถ้ามีคนโทรมาต้องตอบไปว่า "พ่อแม่อยู่บ้าน แต่กำลังยุ่ง มารับสายไม่ได้ หรือถ้ามีคนมาห้ามเปิดประตูให้บอกว่า "พ่อแม่กำลังยุ่งอยู่" อย่าพูดคุยกับคนแปลกหน้ายืดเยื้อ ถ้าลูกกลัวให้โทรหาคุณแม่ที่ทำงาน ตำรวจหรือเพื่อนบ้านที่ไว้ใจได้เพื่อจะได้มีคนมาที่บ้านได้ทันที และห้ามบอกกับใครไปว่า การติดต่อทางใด เช่น โทรศัพท์หรือข้อความในโซเชียล ว่าอยู่บ้านคนเดียว
5.ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับของฟรี
-อย่ารับสิ่งของจากคนแปลกหน้า หรือบุคคลอื่นหากพ่อแม่ผู้ปกครองไม่อนุญาต เพราะคนร้ายมักใช้วิธีให้ขนม หรือของเล่นแก่เด็กเพื่อเข้าใกล้ ตีสนิท
6.หลีกเลี่ยงทางเปลี่ยว
-แม้จะเป็นทางลัดก็ตาม สอนเด็กหลีกเลี่ยงทางเปลี่ยว รกร้าง ลับตาคน มีด แม้เด็กจะคุ้นเคยก็ตาม
7.หากมีคนขับรถตามขณะเดินอยู่ ให้วิ่งกลับไปในทางเดิม
-เพราะรถจะเสียเวลาวกรถกลับ อาจทำให้เลิกติดตาม แต่ถ้ายังติดตามอยู่ให้วิ่งกลับบ้าน ไปบ้านเพื่อนบ้าน หรือไปในที่มีคนอยู่เยอะ ๆ และควรสอนให้ลูกหัดจำลักษณะของคนขับ ลักษณะของรถ และหมายเลขทะเบียนรถ
8.วิ่งกลับบ้านทันที
-ถ้าลูกไปเล่นบ้านเพื่อนบ้าน หรือวิ่งไปในที่มีคนเยอะ ๆ หากมีคนแปลกหน้าเดินเข้ามาหา หรือทำให้ลูกกลัวขณะที่ลูกกำลังอยู่คนเดียว
9.ถ้ามีผู้ใหญ่มาขอความช่วยเหลือ
-ให้รีบบยอกพ่อแม่ ครู หรือผู้ใหญ่คนอื่นมาช่วยเหลือแทน เพราะผู้ร้ายอาจแฝงมาทำทีเป็นขอความช่วยเหลือก็ได้
10.ถ้าพลัดจากพ่อแม่ในห้างสรรพสินค้า
-ให้ลูกตรงไปขอความช่วยเหลือจากพนักงานขาย หรือพนักงานเก็บเงิน ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่อย่าทิ้งลูกให้อยู่ตามลำพังในที่สาธารณะหรือทิ้งในรถเข็นเด็ก รถเข็นซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ต แม้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ตาม
11.ระวังรถที่มาจอดเทียบ
-ให้อยู่ห่างรถคนแปลกหน้าที่แล่นมาเทียบใกล้ตัว ไม่ว่ารถตู้ รถเก๋ง หรือจักรยานยนต์ แม้คนขับจะทำทีรู้จักมาก่อน และสอนให้หนีไปอยู่ในที่คนพลุกพล่าน เดินเข้าหาตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ไปยังสถานที่ปลอดภัย
12.นัดแนะสถานที่ใช้ติดต่อ
-บอกวิธีให้เด็กติดต่อ พ่อแม่ผู้ปกครองได้ทุกเวลา นัดแนะจุดนัดหมายที่เด็กคุ้นเคย เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านประจำแถวบ้าน ป้อมตำรวจ หรือสถานที่ปลอดภัยที่จะให้ผู้ปกครองรับเด็กได้ทันทีหากเด็กรู้สึกอยู่ในภาวะที่ไม่น่าไว้วางใจ
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต