จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
ทบทวน บทเรียนหรืออ่านหนังสืออย่างไรให้ได้ผลดียังเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอยู่ เรื่อยๆ เพราะแต่ละคนก็มีสไตล์การเรียนที่แตกต่างกัน วิธีการนั้นอาจจะได้ดีกับคนนั้น วิธีการนี้อาจจะได้ดีกับคนนี้ ก็เป็นเรื่องที่คาดเดาไม่ได้ สำหรับวันนี้ Life on Campus นำขั้นตอนการทบทวนบทเรียนก่อนสอบจาก Theguardian 9 ขั้นตอนที่ง่ายแสนง่าย รับรองว่าใครก็สามารถทำได้แถมยังการันตีด้วยผลงานวิจัยหลากหลาย
เตรียมตัวให้พร้อมก่อนทบทวน
1.เริ่มต้นวันใหม่ด้วยมื้อเช้า
อาหารเช้าเป็นมื้อสำคัญที่สุดอย่างที่ทุกคนทราบ เพราะการกินอาหารเช้าจะช่วยเติมเต็มท้องที่ว่างตลอดทั้งคืนและสร้างพลังงานที่จะใช้ในชีวิตประจำวัน จาก ผลงานวิจัยออกมาว่า 27 เปอร์เซนต์ของเด็กผู้ชายและ 39 เปอร์เซนต์ของเด็กผู้หญิงที่อดมื้อเช้าบ่อยๆ หรือเป็นประจำจะทำให้ขาดสมาธิในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยอย่างยิ่งนิสิตนักศึกษาที่ต้องใช้พลังสมองเยอะ ความจำ การเรียนรู้และความกระตือรือร้นก็จะลดลง ไม่กระฉับกระเฉงเท่าที่ควร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่อ่านหนังสือไม่รู้เรื่องหรือเรียนไม่เข้าหัว
ถ้า ใครคิดไม่ออกว่าเช้านี้จะกินอะไรดี จริงๆ ไม่ยากเลย เมนูง่ายๆ รอบตัว อย่างเช่น ต้มเลือดหมู, โจ๊กร้อนๆ, ขนมปังปิ้งสัก 1 คู่, แซนวิช(โฮลวีต), ไข่ดาว - ไข่ต้ม ,ผลไม้จำพวก กล้วย แคนตาลูป แตงโม กีวี่ เบอร์รี่, น้ำส้ม, โยเกิต ,ข้าวโอ๊ต หรือแม้กระทั่งซีเรียลยังได้ ควรมีติดไว้ที่บ้านเผื่อวันที่เร่งรีบ
2.วางอุปกรณ์สื่อสารให้ไกลตัว
FOMO ย่อมาจากคำว่า “Fear of Missing Out” ที่ แปลว่า “กลัวการตกกระแส” คนที่อยู่ในประเภท FMO จะต้องการรู้ข้อมูลข่าวสารก่อนคนอื่น ไม่อยากตกเทรนด์และรู้สึกภาคภูมิใจถ้าได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ เป็นคนแรก โดยส่วนใหญ่คนที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายจะเป็น 'วัยรุ่น' สังเกตได้จาก การติดแชทติดไลน์, ก้มหน้ามองมือถือตลอดเวลาและกระวนกระวายเวลาลืมเอามือถืออกจากบ้านหรือแบ ตใกล้จะหมด เป็นต้น วางไว้ใกล้ตัวก็ยิ่งไขว้เขว้ต้องเหลือบไปมองบ่อยๆ ว่าจะมีใครส่งข้อความหาบ้างหรือมีอะไรอัพเดทในโลกโซเชียล
นอก จากนี้ผลงานวิจัยหลายชิ้นยังชี้ให้เห็นว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเล่นแชทและเสพติดการท่อง โซเชียลมีเดียได้เกรดต่ำกว่าคนทั่วไป! เกิดขึ้นจากการที่สมาธิถูกรบกวนจากสิ่งเร้า
ข้อควรปฏิบัติระหว่างทบทวน
3.เริ่มแต่เนิ่นๆ และยืดระยะเวลา
ว่า กันว่านักแสดงที่ดีจะอยู่ในบทบาทจนถึงวันก่อนแสดง และนักกีฬาไม่ได้ฝึกซ้อมเพียงแค่วันเดียวก่อนการแข่งขัน การทบทวนบทเรียนก็เช่นเดียวกัน ต้องใช้เวลาในการจดจำ มีกลยุทธ์หนึ่งที่อยู่ใน “การวิจัยเชิงทดลองใน การเรียนรู้ และความทรงจำ ."( Bjork และ Bjork , 2011 ,p59 ) ว่าด้วยการเว้น 'ช่องว่าง' (spacing) ในระยะที่เหมาะสมจะช่วยให้กลายเป็นความทรงจำระยะยาว เช่น ทบทวนหนังสือเรื่อยๆวันละ 1 ชั่วโมง เป็นเวลา 10 วัน จะจำได้มีประสิทธิภาพมากกว่า ใช้เวลา 10 ชั่วโมงในวันเดียว
4.ไม่มีอะไรดีไปกว่าทบสอบด้วยตนเอง
ตาม ผลงานวิจัยในเรื่องของหน่วยความจำ การทดสอบด้วยตัวเองเป็นวิธีการที่ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธิ การหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการระลึกถึงข้อมูลที่เคยรู้มาก่อนแล้ว นอกจากนี้การทดสอบกับตัวเองยังเป็นการเช็คว่าความรู้ที่มีอยู่มีช่องโหว่ตรง ไหน เริ่มจากการเขียนคำตอบลงในกระดาษคำถามโดยปิดคำเฉลย หรือจะทำควิซทุกครั้งหลังจบการทบทวนในแต่ละครั้งก็ได้
5.สอนคนอื่น = สอนตัวเอง
หลังจากที่ลองทดสอบความรู้ด้วยตนเองแล้ว การสอนคนอื่นต่อก็เป็นวิธีการที่ดี นักวิทยาศาสตร์พบว่าการสอนคนอื่นจะช่วยในเรื่องความจำและสามารถนึกเรื่องต่างๆ ออกได้มากขึ้น (the Protégé Effect) เด็กที่ติวคนอื่นจะต้องทำงานหนักเพื่อเข้าใจเนื้อหาแม่นยำ ถูกต้อง และต้องหาวิธีการสอนเพื่อให้คนที่ถูกติวเข้าใจง่าย จึงทำให้เข้าใจอย่างถ่องแท้มากกว่าคนอื่น ดังคำกล่าวของ นักปรัชญาชาวโรมัน Seneca ที่ว่า “While we teach, we learn.” (ระหว่างที่เราสอน เราก็ได้เรียนรู้)
6.คิดสักนิดก่อนจะไฮไลท์
ปากกาไฮไลต์และปากกาสีๆ ถือเป็นอุปกรณ์เครื่องเขียนยอดฮิตที่ใช้ในการทบทวนเพราะเชื่อว่าการเพิ่มสีสันลงในชีทจะทำให้จำได้มากขึ้น แต่ผลการวิจัยของศาสตราจารย์ Dunlovsky ที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารของสมาคมวิทยาศาสตร์จิตวิทยา พบว่าอาจจะไม่ได้ผลดีเท่าที่คิด การใช้ปากกาไฮไลต์สีฟลูออเรสเซนต์ เช่น สีเหลือง สีเขียวและสีชมพู เป็นอุปสรรคต่อการทบทวน
นอกจากนี้นักเรียนยังสามารถเรียนรู้และระลึกข้อมูลได้ดีกว่าถ้าเชื่อมโยงทุกอย่างเข้าด้วยกัน ในขณะที่ไฮไลท์นั้นทำหน้าที่แยกข้อมูลออกเป็นชิ้นย่อยๆ เป็นส่วน และบ่อยครั้งที่ผู้อ่านลงท้ายด้วยการไฮไลท์เพื่อให้ตัวเองรู้สึกว่าอ่านเรียบร้อยแล้ง
7.ห้ามฟังเพลง
ใน ขณะที่น้องๆ หลายคนเชื่อว่า การฟังเพลงจะทำให้จำได้มากขึ้น แต่ก็มีอีกหลายคนที่ไม่ได้คิดเช่นนั้น จากหนังสือ Applied Cognitive Psychology พบว่าผู้เรียนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบระหว่างทบทวนจะสามารถจำได้มากกว่าคนที่ฟังเพลงไปด้วย เพราะไม่มีสิ่งรบกวนจากภายนอก
8.ออกไปสูดอากาศ - ยืดเส้นยืดสาย
จำไว้ว่าการทบทวนบทเรียนเป็นเรื่องของคุณภาพมากกว่าจำนวนหน้าหรือหัวข้อที่อ่าน บางครั้งหลังจากที่โหมงานหนักไปสักพักใหญ่ น้องๆ ก็ควรออกมาสูดอากาศ ยืดเส้นยืดสายบ้าง การได้มองหรือได้รับอากาศบริสุทธิ์เข้าไปในร่างกายจะช่วยให้รู้สึกสดชื่นและพอกลับไปทบทวนก็จะสามารถ Focus ได้ดีขึ้น การออกกำลังกายง่ายๆ เช่น การบิดตัวไปมาก็ช่วยกำจัดความเครียด ลดความวิตกกังวลและเพิ่มความพึงพอใจในตัวเอง
9.ปิดท้ายวันด้วยการนอน
หลังจากที่โหมทบทวนหนังสือมาทั้งวันก่อนจะเริ่มสอบ ถึงเวลาที่น้องๆ ควรจะต้องหยุดในเวลาที่พอเหมาะ การนอนจะช่วยให้สมาธิดีขึ้น หน่วยความจำดีขึ้น สายตาแหลมคม มีความคิดสร้างสรรค์และมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี หากอยากนอนอย่างเพียงพอแบบมีประสิทธิภาพ จะต้องหลีกเลี่ยงนิสัยเสีย 9 อย่างที่ห้ามทำก่อนนอนดังนี้
ดูทีวีจนกว่าจะเข้านอน จริงๆ แนะนำว่าไม่ควรมีทีวีอยู่ในห้องนอน, เข้านอนไม่เป็นเวลา การนอนในเวลาที่แตกต่างกันในแต่ละวันเป็นสาเหตุที่ทำให้นอนหลับยาก, รอจนกว่าจะเพลียถึงจะไปนอน, นอนงีบตอนกลางวันนานเกินไป (มากกว่า 30 นาที), นอนไม่หลับมากกว่าครึ่งชั่วโมงแต่ยังอยู่บนเตียง ถ้านอนไม่หลับขนาดนั้นแนะนำให้ลุกไปหาอะไรทำ เช่น เล่นจิ๊กซอว์ฆ่าเวลา, เล่นโทรศัพท์ก่อนนอน แสงจากโทรศัพท์ทำให้สมองคิดว่าเป็นตอนกลางวันเลยรู้สึกตื่น รวมถึงหยุดการสร้างเมลาโทนิน, ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน, ฝืนท่องโลกโซเชียลทั้งที่เหนื่อย และ กังวลเรื่องพรุ่งนี้ระหว่างนอน
https://skilleddigital.com/wp-content/uploads/2015/12/redesign_blog.jpg
ขอบคุณที่มา
http://www.theguardian.com/teacher-network/2016/mar/08/children-mobile-phone-distraction-study-school
http://www.suttontrust.com/wp-content/uploads/2014/10/What-Makes-Great-Teaching-REPORT.pdf
http://ideas.time.com/2011/11/30/the-protege-effect/
http://www.innerdrive.co.uk/Release_Your_Inner_Drive/9-common-sleep-mistakes/
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต