จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
สวัสดีครับผม Mr.Leon มาแล้วครับ เพื่อนๆ คงตามข่าวแผ่นดินไหวใหญ่อีกครั้งที่จังหวัดคุมาโมโตะ และจังหวัดในภูมิภาคคิวชู ไม่ว่าจะเป็น ฟุกุโอกะ เมืองที่หลายคนน่าจะรู้จักดี โออิตะ คาโงชิมา เป็นต้น ถ้านึกไม่ออกว่าคิวชูมีอะไรเด่นๆ ยกตัวอย่าง เช่น
☀ โออิตะ มีน้ำพุร้อนสวยๆ เป็นแหล่งท่องเที่ยวดังๆ เยอะมาก เช่น เบปปุ ยูฟุอิน
☀ คุมาโมโตะ เพื่อนๆ เคยเห็น mascot เจ้าหมีน่ารักที่ชื่อว่าคุมามอน ไหมครับนั่นแหละหนึ่งในสัญลักษณ์ของจังหวัดเลย นอกจากนั้นยังมีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ทั้งออนเซ็นที่มีชื่อเสียง ทัศนียภาพภูเขาไฟ 阿蘇 Aso อาหารอร่อย มีเหล้าต้นตำหรับที่รสชาติดีมาก เป็นต้น
ทั้งโออิตะ คุมาโมโตะ และคาโงชิมา ภูมิภาคแถบที่เป็นแนววงแหวนที่มีแผ่นดินไหวใหญ่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นจังหวัดที่มีแหล่งน้ำพุร้อนที่มีชื่อเสียงมาก
ครั้งนี้ผมอยากเล่าเรื่องวิธีเอาตัวรอดในกรณีที่เกิดเหตุการณ์แผ่น ดินไหวสักหน่อยครับ เผื่อมีเพื่อนๆ ไปเที่ยวแล้วบังเอิญเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น เพราะเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติอื่นๆ อาจจะพอทำนายล่วงหน้ากันได้ ไม่ว่าจะเป็นพายุ ฝนตก แต่เรื่องภัยแผ่นดินไหวไม่สามารถทำนายล่วงหน้านานๆ ได้เลย และถ้าเพื่อนๆ เจอเหตุการณ์แบบไม่ทันตั้งตัวขึ้นมาจะทำอย่างไร อีกอย่างถ้าเราไม่รู้ภาษาญี่ปุ่น การที่จะไปสอบถามข้อมูลหรือฟังข้อมูลเรื่องการหนีภัยอาจเป็นไปโดยยากและ ตะกุกตะกัก ดังนั้นเรามาเตรียมตัวหาความรู้ไว้บ้างก็จะเป็นประโยชน์ครับ
ผมจะอธิบายลักษณะการวัดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวให้ฟังคร่าวๆ นะครับ ที่ญี่ปุ่นมักจะนำเสนอข่าวให้ทราบค่าของระดับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว เป็นมาตรา ที่เรียกว่า 震度 Shindo หรือ ระดับความรุนแรงของการสั่นสะเทือน โดยค่าที่ว่านี้เป็นค่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงบนพื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหว นั้นๆ ส่วนจุดต้นกำเนิดหรือจุดศุนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวที่อยู่ลึกลงไปในชั้นดิน เป็นหน่วยสากลที่ใช้กันทั่วไป คือ Magnitude นั่นเอง
ดังนั้น ระดับ Magnitude และระดับ Shindo อาจจะไม่เท่ากันก็ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกิดและสภาพแวดล้อมของบริเวณที่เกิด เช่น ระดับความลึก ความอ่อนตัวของชั้นหินหรือผืนดิน เป็นต้น
ยกตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวที่คุมาโมโตะในครั้งนี้ ครั้งหนึ่งวัดค่า Magnitude ที่จุดกำเนิดอยู่ที่ 6.4 แต่เกิดที่ใต้ชั้นดินที่ไม่ลึกมากนัก แค่ 11 กิโลเมตรจากพื้นราบ ทำให้มีระดับความสั่นสะเทือนค่อนข้างรุนแรงที่ Shindo 7 นั่นเอง และบริเวณที่ไกลออกไปจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวก็จะมีระดับความสั่นสะเทือน น้อยลง หรือ มากกว่ากันตามลักษณะภูมิประเทศนั้นๆ ครับ และแผ่นดินไหวก็อาจเกิดต่อเนื่องได้อีก
ระดับความรุนแรงของการสั่นสะเทือนที่เล่าไปข้างต้นนั้น ระดับ Shindo 1-3 ยังไม่น่ากลัวเท่าไหร่นักครับ ใครไปแถบโตเกียวอาจจะเจอบ่อยๆ ระดับ 1-2 บางครั้งแทบไม่รู้สึกตัวเพราะมัวเพลินเดินช้อปปิ้ง และดูนู้นนี่นั่น แต่ถ้าระดับ 3 ขึ้นไปเริ่มสั่นแรงแล้วครับ คราวก่อนที่ผมเคยเจอที่แรงที่สุดแค่ Shindo 5 กว่าๆ ยังแกว่งสะข้าวของกระจาย ดังนั้นถ้า Shindo 7 ก็ถือว่าแรงมาก ดังภาพข่าวที่เห็นครับ
ทีนี้มาดูกันดีกว่าว่าถ้าเพื่อนๆ บังเอิญไปเที่ยวแล้วประสบเหตุการณ์แผ่นดินไหวโดยไม่ทันตั้งตัว เราต้องทำอย่างไรบ้าง ก่อนอื่นอย่าตกใจครับพยายามคุมสติไว้ครับ แล้วก็...
♢หาที่กำบังเช่นใต้โต๊ะ เพื่อหลบของหรือเศษกระจกที่อาจแตกแล้วหล่นมาโดนเรา
♢พยายามอย่านอนใกล้ทีวี หรือตู้เก็บของหรือชั้นวางที่อาจล้มมาทับเราได้ กรณีเกิดแผ่นดินไหวขณะที่เรากำลังหลับอยู่
♢ขณะที่เกิดแผ่นดินไหว แล้วเรากำลังเปิดแก๊สอยู่ให้รีบปิดทันที เพราะอันตรายจากแผ่นดินไหวมันอาจจะเกิดจากไฟไหม้ได้ด้วย เป็นกระทบที่ต้องระมัดระวังไว้นั่นเอง เช่นเดียวกับกรณีน้ำท่วมที่บ้านเรา ผู้โชคร้ายอาจจะไม่ได้เสียชีวิตจากการจมน้ำแต่เสียชีวิตจากการถูกไฟฟ้าดูดไฟ ฟ้าช๊อตก็เป็นได้
♢ปกติคนญี่ปุ่นจะเตรียมถุงยังชีพไว้ แต่ถ้าเราเป็นนักท่องเที่ยวก็อาจมีการเตรียมถุงสัมภาระเล็กๆ ที่พอคว้าติดมือมาได้สะดวกใส่ของสำคัญไว้ในนั้น และพยายามมองหาช่องทางการหนีภัย หรือจุดรวมพลไว้บ้างครับ
※ส่วนใหญ่ที่ญี่ปุ่นจุดรวมพลกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติขึ้น เช่น รวมพลเมื่อเกิดแผ่นดินไหวจนต้องอพยพ จะไปรวมตัวกันที่สนามโรงเรียนในบริเวณชุมชุนนั้นๆ หรือบริเวณที่มีสนามกว้างๆ สวนสาธารณะต่างๆ ไม่ควรเดินตามริมถนนเด็ดขาดเพราะรถอาจพุ่งมาชนเราได้ และไม่ควรอยู่ใกล้ตึกสูงเพราะอาจมีเศษกระจกแตกร่วงลงมาถูกเราได้เช่นกัน
♢สิ่งที่ควรมีในกรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหว นอกจากของในถุงยังชีพ หรือยาประจำตัว ไฟฉายหรืออะไรก็ตามที่จำเป็นสำหรับแต่ละคน แต่ผมแนะนำว่าสิ่งที่ควรมีติดตัวคือ เงินสดครับ เพราะเมื่อเกิดเหตุขึ้นเครดิตการ์ดต่างๆ ก็อาจจะใช้ไม่ได้ มีเงินสดติดตัวไว้สามารถใช้ได้ทันที
♢มีอาหารตุนไว้บ้างเผื่อหิว จะได้รองท้องได้ครับ
แต่อย่างไรก็ตาม อย่ากลัวหรือกังวลไปก่อนนะครับ และที่คิวชูเองก็ยังมีสถานที่สวยงามรอเพื่อนๆ ไปเยี่ยมชมอยู่ รอให้สถานการณ์สงบก่อน ก็ไปเที่ยวกันได้อยู่ครับ ใครเดินทางไปไหนก็ขอให้สนุกสนานและปลอดภัยครับ
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต