จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
ไข่ชา!? แค่ได้ฟังชื่อทำเอานักปั่นชายหลายคนถึงกับขนลุกไปตามๆ กัน แต่ถึงยังไงคงหลีกเลี่ยงที่จะไม่ให้เกิดอาการเช่นนี้ขณะปั่นจักรยานบนหลัง อานไม่ได้ สิงห์นักปั่นชายจึงเกิดคำถามตามมาว่า อาการไข่ชาที่เกิดขึ้นนั้นจะมีผลเสียกับน้องชายหรือเปล่า?? FEEL GOOD ขอพาเหล่านักปั่นชายทุกคนตามมาหาคำตอบของสาเหตุอาการนี้กัน พร้อมวิธีการเลือกเบาะจักรยานให้เหมาะสมกับสรีระร่างกายของแต่ละคนด้วย เพื่อให้ไลฟ์สไตล์การปั่นของคุณกลับมาฟิวกูดอีกครั้ง . .
ปัญหา “ไข่ชา” เกิดจากการเลือกเบาะนั่งไม่รองรับกับสรีระของเรานั่นเอง ทำให้น้ำหนักกดทับไปยัง “ฝีเย็บ” (อยู่บริเวณกึ่งกางระหว่างใต้ต่ออัณฑะก่อนถึงรูทวารหนัก จะมีจุดเชื่อมบริเวณนั้นหละครับ) ทำให้เลือด และออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงลูกอัณฑะกับน้องชายไม่เพียงพอ เหตุก็เพราะว่า บริเวณฝีเย็บเป็นบริเวณศูนย์รวมเส้นประสาทและเส้นเลือดนั่นเอง
ดัง นั้นเบาะนั่งที่ดีจะต้องช่วยกระจายน้ำหนักของผู้ขับได้ดี มีการทดสอบหนึ่งที่แสดงถึงการกดทับของเบาะ โดยมีการศึกษาเปรียบเทียบระดับออกซิเจนที่ปลายน้องชาย หลังจากปั่นจักรยานบนเบาะที่แตกต่างกันสี่แบบ
แบบ A) คือ narrow, heavily padded seat
แบบ B คือ narrow seat with medium padding and V-shaped groove in the saddle nose
แบบ C คือ wide unpadded leather seat
แบบ D คือ women’s special wide seat with medium padding and no saddle nose
โดย วัดระดับออกซิเจนในท่ายืน และหลังจากนั่งปั่นจักรยานบนเบาะจักรยานทั้งสี่แบบ ผลการศึกษาพบว่า เบาะแบบ D มีการลดลงของออกซิเจนที่ปลายองคชาติน้อยที่สุด รองลงมาเป็นแบบ C และแบบ B โดยแบบ A มีการลดลงของออกซิเจนที่ปลายองคชาติมากที่สุด ซึ่งก็หมายถึง แบบ D ดีที่สุด
ซึ่ง มีการศึกษาอื่นสนับสนุนอีกด้วยว่า เบาะนั่งที่มีลักษณะเป็นจมูกยื่น เป็นแบบที่ไม่สมควรนำมีใช้ในการขับขี่เช่นกัน เพราะจะมีการกดทับเส้นประสาทมากกว่า สังเกตจากรูปทั้งสองรูป
A. รูปแสดงตำแหน่งของเส้นเลือดและเส้นประสาทที่อาจถูกกดทับจากเบาะที่มีส่วนยื่นด้านหน้า
ลักษณะเบาะจักรยานแบบไม่มีส่วนยื่นคล้ายจมูก เส้นเลือดและเส้นประสาทมีโอกาสถูกดทับน้อยกว่า และมีการกระจายน้ำหนักสองข้างได้ดีกว่า เหล่า นักปั่นจะเห็นได้เลยว่า เบาะในแบบที่มีจมูกจะเกิดการกดทับบริเวณฝีเย็บที่มากกว่า เพราะไม่มีการกระจายน้ำหนัก ในทางตรงกันข้ามหากเป็นเบาะที่ไม่มีจมูกจะมีการกระจายน้ำหนักได้ดีกว่า ทำให้ฝีเย็บไม่ถูกกดทับเท่าไหร่นั่นเอง ดัง นั้น จึงมีการศึกษาทางการแพทย์รายงานว่า เมื่อเปลี่ยนมาใช้เบาะแบบที่ไม่มีจมูกยื่นออกมาเป็นระยะเวลา 6 เดือน อาการชาบริเวณฝีเย็บ อวัยวะเพศลดลงและข้อมูลนี้ก็ช่วยให้นักปั่นสบายใจขึ้นว่า อาการที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นถาวร และดีขึ้นได้เมื่อมีการแก้ไขตามสาเหตุที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ยังไม่สามารถตอบได้ชัดเจนในขณะนี้ว่ามีผลหรือไม่ เช่น ความนุ่ม แข็งของเบาะแต่ละชนิด รวมถึงลักษณะกางเกงที่ผู้ปั่นสวมใส่เวลาปั่นจักรยาน ลักษณะพื้นผิวของถนนที่ขับขี่ |
อ้างอิงข้อมูลจาก ศูนย์ต่อมลูกหมาก โรงพยาบาลรามาฯ |
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต