จากประชาชาติธุรกิจ
วิธีง่ายๆปลูกผักทานเองในพื้นที่จำกัด และลงทุนน้อย
updated: 23 ธ.ค. 2558 เวลา 20:02:27 น.
หลายๆ ท่านที่อยากปลูกผักไว้รับประทานเอง แต่มีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ จำเป็นที่จะต้องคำนึงในเรื่องการปลูกดังนี้
- หากมีพื้นที่ปลูกไม่มากจึงควรปลูกผักให้มากชนิด แต่ละชนิดให้เพียงพอต่อการกินในแต่ละมื้อ
- หากไม่มีพื้นที่ที่เป็นดิน สามารถปลูกได้ในภาชนะต่างๆ
- เลือกใช้วัสดุปลูกที่ร่วนซุย น้ำหนักเบา และอุ้มน้ำได้ดี
- เลือกปลูกผักที่การดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก ไม่มีกลิ่นฉุน ต้นไม่สูงเกินไป
- ผักที่ได้มักจะเป็นผักที่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ผักที่ปลูก เช่น ผักบุ้งจีน คะน้า กะเพรา โหระพา แมงลัก พริกขี้หนู มะเขือเปราะ ผักปลัง สะระแหน่ ผักกาดหอม ชมจันทร์ ผักชี ต้นหอม ขึ้นฉ่าย ยี่หร่า เป็นต้น
- การปลูกใส่ภาชนะ ต้องให้น้ำบ่อยครั้ง แต่ละครั้งจะไม่มาก เพราะน้ำจะแห้งเร็วกว่าปลูกลงดิน
- การให้ปุ๋ย อาจให้ได้ทั้งในรูปปุ๋ยหมัก หรือ ปุ๋ยเคมี ในปริมาณที่เหมาะสม
- สารกำจัดโรคแมลง ทำได้โดยการเด็ดใบที่เป็นโรคทิ้ง การบี้ทำลายแมลงหรือหนอน หรือใช้ชีวภัณฑ์ เช่น สารสกัดจากสะเดา น้ำสบู่ น้ำแช่ยาฉุน
การเพาะเมล็ด
อุปกรณ์ ภาชนะที่จะนำมาเพาะ เช่น ถาดเพาะ ตะกร้า กระถาง ต้องเป็นภาชนะที่สามารถระบายน้ำได้ดี วัสดุปลูก เมล็ดพันธุ์
1. เลือกชนิดของผักที่ต้องการปลูก
2. ทำวัสดุปลูกให้ชื้นก่อน (อาจเป็นขุยมะพร้าวผสมปุ๋ยหมัก (4: 1) หรือใช้พีทมอส วัสดุปลูกสำเร็จต่างๆ หรือดินหมักก็ได้)
3. จากนั้นนำวัสดุปลูกใส่ลงในถาดเพาะ แล้วใช้ไม้เล็กๆ หรือนิ้วมือขีดวัสดุปลูกให้เป็นร่องตื้นๆ
4. หยอดเมล็ดพันธุ์ผักลงไป รดน้ำให้ชุ่ม 2 ครั้ง เช้า-เย็น
- เมล็ดพันธุ์ผักส่วนใหญ่จะใช้เวลาในการงอกประมาณ 4-7 วัน
- เมล็ดพันธุ์ผักที่มีเปลือกแข็ง เช่น บวบ มะระ อาจใช้กรรไกรตัดเล็บตัดบริเวณเปลือกเล็กน้อย (ตรงข้ามด้านที่รากจะงอก) เพื่อให้เมล็ดงอกได้ดีขึ้น
การทำดินหมัก
การทำดินหมักเพื่อให้ดินระบายน้ำได้ดี มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะกับการปลูกผักในกระถาง (สามารถทำเองได้) ส่วนประกอบดังนี้
- ปุ๋ยคอก
- เศษผัก
- กากน้ำตาลน้ำตาลทราย
- หัวเชื้อจุลินทรีย์ (EMหรือน้ำหมักชีวภาพ)
- ดินที่มีอยู่ หรือ ดินถุง
นำส่วนประกอบทั้งหมดมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน (ความชื้น 60-70% ) คลุมกองดินหมักด้วยผ้าใบหรือผ้าพลาสติกเพื่อไม่ให้โดนน้ำฝน
ในระยะแรกกองดินหมักจะเกิดความร้อนขึ้น ให้หมั่นกลับกองดินหมัก และหมักไปเรื่อยๆ จนไม่มีความร้อนหลงเหลืออยู่ จึงสามารถนำดินไปใช้เพาะเมล็ดหรือปลูกต้นไม้ต่อไปได้
ที่มา : ภาควิชาพืชสวน มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์
http://topicstock.pantip.com/…/20…/08/J9630445/J9630445.html
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต