สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ลดปัญหาผื่นผ้าอ้อมกวนใจลูกน้อย

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

       “ผิวหนัง” ของลูกน้อยเป็นอีกส่วนสำคัญที่บรรดาคุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากผิวหนังของเด็กเล็กนั้นมีความบอบบางมาก หากสัมผัสกับสิ่งสกปรกหรือสารระคายเคืองต่างๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ เป็นผื่นแดงคัน หรือผดได้ โดยหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ลูกน้อยระคายเคืองผิวนั้น เกิดจากโรคผื่นผ้าอ้อมซึ่งพบเห็นบ่อยครั้งในหมู่เด็กทารกปัจจุบัน เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่ยุคนี้นิยมให้ลูกใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเป็นประจำ
       
       พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด กล่าวว่า โรคผื่นผ้าอ้อมนั้น มักจะพบเห็นในเด็กวัยแรกเกิดระหว่าง 3- 24 เดือน เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่มีปัสสาวะและอุจจาระบ่อยเป็นพิเศษ จึงต้องสวมใส่ผ้าอ้อมตลอดเวลา นอกจากนี้เด็กทารกอายุระหว่าง 9-12 เดือน จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นผื่นผ้าอ้อมมากเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่เริ่มหัดนั่ง จึงทำให้ลูกน้อยนั่งทับผ้าอ้อมเปียกชื้นบ่อยครั้ง และผิวหนังมีโอกาสเสียดสีกับพื้นผิวสัมผัสที่อาจมีเชื้อโรคปะปนมา

       “สาเหตุหลักของการเป็นโรคผื่นผ้าอ้อม คือ เชื้อราในบริเวณผิวหนังที่สวมใส่ผ้าอ้อม ความอับชื้นหรือการหมักหมมของอุจจาระหรือปัสสาวะในบริเวณนั้นอาจก่อให้เกิด การติดเชื้อรา ส่วนสาเหตุอื่นๆ ของผื่นผ้าอ้อม คือ อาการแพ้อาหาร โรคเลือดบางประเภท แพ้น้ำยาหรือสารเคมี เช่น น้ำยาปรับผ้านุ่ม หรือแพ้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวบางชนิด เช่น แป้งหรือโลชั่น ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวังอาหารหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ลูกน้อยใช้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผื่นผ้าอ้อมหรือโรคผิวหนังอื่นๆ ได้
       
       อาการของโรคผื่นผ้าอ้อมนั้นส่วนใหญ่รุนแรงไม่มาก คือ อาการคันและเกาจนผิวหนังอักเสบ ซึ่งส่งผลให้เกิดรอยผื่นแดงและผด หากอาการมีความรุนแรงปานกลาง ผื่นจะแดงมากขึ้น โดยจะมีขนาดและรอยถลอกกว้างขึ้น ในกรณีรุนแรงก็อาจมีผื่นแดงจัด เป็นตุ่มนูน ตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง รอยถลอกอาจขยายเป็นบริเวณกว้างไปที่ลำตัวหรือต้นขาด้านใน หรือกลายเป็นแผลลึกได้ ส่วนใหญ่แล้วผื่นผ้าอ้อมจะหายเองหลังจากมีการดูแลรักษาบริเวณผิวเป็นเวลา ประมาณ 3-4 วัน แต่ถ้าหากอาการไม่บรรเทาลงภายในหนึ่งอาทิตย์ คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์
       
       “วิธีง่ายๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลและปกป้องผิวของลูกน้อยให้ห่างไกลจากโรคผื่น ผ้าอ้อม คือ การเปลี่ยนผ้าอ้อมอย่างสม่ำเสมอตลอดวัน เพื่อป้องกันการอับชื้นและหมักหมมของเชื้อโรค เช่น แบคทีเรียในอุจจาระ และเพิ่มความสบายตัวให้แก่ลูกน้อยไม่ให้เกิดอาการระคายเคืองตามตัว อีกหนึ่งวิธีคือการดูแลทำความสะอาดผิวของลูกน้อยหลังจากเปลี่ยนผ้าอ้อม โดยเฉพาะการใช้สำลีชุบน้ำหมาดๆ ทำความสะอาดทุกซอกมุมเพื่อป้องกันเชื้อโรคจากปัสสาวะหรืออุจจาระที่ตกค้าง และซับบริเวณผื้นผิวในร่มผ้าให้แห้ง เพื่อไม่ให้เกิดความอับชื้นหลังใส่ผ้าอ้อมใหม่ นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกเสื้อผ้าให้ลูกน้อยที่ไม่แน่นคับจนเกินไป เพื่อให้ลูกน้อยสวมใส่อย่างคล่องตัวและมีอากาศระบายถ่ายเท ทำให้ไม่อับชื้นและเสี่ยงต่อการติดเชื้อรา ในกรณีที่ลูกน้อยเป็นผื่นผ้าอ้อมติดต่อกันหลายครั้ง คุณพ่อคุณแม่ควรพิจารณาเปลี่ยนยี่ห้อผ้าอ้อมสำเร็จรูป
       
       พญ.สุธีรากล่าวว่า คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลยการดูแลผิวของลูก โดยเฉพาะในวัยใส่ผ้าอ้อม เนื่องจากเด็กทุกคนมีอัตราเสี่ยงที่จะเป็นโรคผื่นผ้าอ้อมได้ วิธีที่ง่ายที่สุดในการปกป้องและดูแลผิวของลูกให้ห่างไกลจากผื่นผ้าอ้อม คือการทาครีมบำรุงหลังการเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง เพื่อเคลือบผิวไม่ให้เสียดสีกับผ้าอ้อมโดยตรง ป้องกันความเปียกชื้นจากปัสสาวะหรืออุจจาระที่หลงเหลือและอาจก่อให้เกิดผื่น ผ้าอ้อมได้ นอกจากนี้ การทาครีมเคลือบผิวยังช่วยให้ผิวหนังของลูกน้อยชุ่มชื้นและนุ่มนวลอยู่เสมอ ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องคำนึงถึงส่วนผสมหลักของครีมป้องกันที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะซิงค์ ออกไซด์ (Zinc Oxide) ซึ่งช่วยในกระบวนการซ่อมแซมผิวให้กลับสู่สภาวะสมดุล และลาโนลิน ไฮโปอัลเลอเจนิก (Lanolin Hyper-allergenic) ที่ช่วยลดการสูญเสียน้ำ ให้ความชุ่มชื้น และบรรเทาอาการระคายเคืองของผิว
       
       “การที่ลูกน้อยมีอาการระคายเคืองจาก ผื่นผ้าอ้อมหรือโรคผิวหนังอื่นๆ อาจทำให้เขานอนหลับไม่สนิทหรือไม่เต็มอิ่ม ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ได้ นอกจากนี้อาการเจ็บตามบริเวณที่สวมใส่ผ้าอ้อมเวลาที่นั่งทับ อาจทำให้ลูกน้อยไม่อยากหัดนั่ง ทำให้งอแงอยากให้อุ้มตลอดเวลา อาการเจ็บอาจทำให้ลูกอั้นอุจจาระปัสสาวะเพราะกลัวว่าจะเจ็บผิวหนังเวลาทำ ความสะอาด ทำให้มีปัญหาด้านการขับถ่ายเกิดภาวะท้องผูกเพราะอั้นไว้ หรือกลายเป็นเด็กกลัวการขับถ่าย หรือหากอั้นปัสสาวะก็จะทำให้ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะตามมา ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรละเลยปัญหาโรคผื่นผ้าอ้อม เพราะนอกจากจะทำให้ลูกน้อยมีปัญหาทางสุขภาพแล้ว ยังอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและการเรียนรู้อีกด้วย

       สำหรับคุณแม่ยุคใหม่อย่าง คุณอุ้ย-สุทัศนีย์ ซอโสตถิกุล กล่าวว่า อุ้ยจะพยายามดูแลเรื่องความชุ่มชื้นของผิวลูก เพราะถ้าลูกผิวแห้งก็จะมีโอกาสเป็นผื่นคัน หรืออักเสบจากการเกาได้ง่าย อุ้ยจึงเน้นการใช้ครีมทาผิวลูกทั่วร่างกาย โดยเฉพาะในบริเวณที่ใส่ผ้าอ้อม ทาก่อนและหลังการเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง หรือเมื่อไหร่ที่สังเกตุเห็นว่าผิวลูกเริ่มเป็นผื่น ก็จะรีบทาครีมป้องกันไว้ก่อนเลยค่ะ เพราะครีมสามารถซึมซับได้ไว ไม่เหนียวเหนอะหนะตัว และเคลือบผิวให้ชุ่มชื้นเสมอ อุ้ยจะไม่ใช้แป้งฝุ่น เพราะอาจเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจของลูกได้
       
       “เมื่อสังเกตเห็นรอยแดงที่ขอบผ้าอ้อม หรือถ้าน้องกายมีอาการบ่งชี้ เช่น พยายามดึงขอบกางเกง งอแงเวลาจะเข้าห้องน้ำ อุ้ยก็จะรีบเปลี่ยนจากผ้าอ้อมสำเร็จรูปให้เป็นผ้าอ้อมธรรมดาซึ่งจะมีอากาศ ถ่ายเทได้มากกว่า และไม่รัดตึงตรงบริเวณผื่น ส่วนเมื่อลูกโตขึ้นนิดนึงประมาณหนึ่งขวบ อุ้ยก็พยายามหัดให้น้องกายเข้าห้องน้ำตอนเช้า เพื่อไม่ให้ปัสสาวะและเชื้อโรคหมักหมมในผ้าอ้อมเป็นเวลานานหลังตื่นนอน ส่วนการทำความสะอาดบริเวณที่สวมใส่ผ้าอ้อมสำคัญมาก เพราะถึงแม้คุณพ่อคุณแม่จะเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกบ่อยครั้งก็ตาม แต่ถ้าไม่ทำความสะอาดให้ดีก็อาจยังคงมีเชื้อโรคตกค้างที่อาจก่อให้เกิดผื่น ผ้าอ้อมได้
       
       นอกจากการดูแลผิวของลูกน้อยโดยตรงแล้ว พฤติกรรมและสุขภาพของคุณพ่อคุณแม่ก็ยังมีผลกระทบต่อการเป็นผื่นผ้าอ้อมของ ลูกน้อยในทางอ้อมได้อีกด้วย เช่น หากคุณแม่รับประทานอาหารที่ไม่สะอาด หรือรับประทานยาปฏิชีวนะบ่อยครั้งเพราะสุขภาพไม่ค่อยดีในระหว่างช่วงให้น้ำ นมลูก ก็อาจส่งผลให้ลูกน้อยมีอาการท้องเสียได้ง่ายและต้องขับถ่ายบ่อยเป็นพิเศษ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคผื่นผ้าอ้อมของลูกน้อยได้โดย ทางอ้อม ดังนั้นการดูแลผิวอันบอบบางของลูกน้อยจะต้องอาศัยความเอาใจใส่ที่รอบด้าน ทั้งด้านสุขอนามัยของร่างกายลูกน้อยเอง และด้านสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่รอบตัว


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : ลดปัญห าผื่นผ้าอ้อม กวนใจลูกน้อย

view