สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

อุกกาบาต ตกจากฟ้า! เป็นของใคร ในสายตาของกฎหมาย

จากประชาชาติธุรกิจ

 โอภาส เพ็งเจริญ

http://www.matichon.co.th/online/2015/09/14432662411443269880l.jpg

วันที่ 7 กันยายน ที่ผ่านมา เกิดปรากฏการณ์ลูกไฟดวงใหญ่ร่วงลงมาจากท้องฟ้าในเวลากลางวัน ถ่ายภาพได้ด้วยกล้องบันทึกภาพหน้ารถยนต์ในบริเวณประเทศไทยฮือฮากันใหญ่


ต่อมาไม่นานองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา(nasa)ระบุว่าที่เห็นนั้นเป็นอุกกาบาตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 3.5 เมตร มวลราวๆ 66 ตัน ตกในบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย (ตัวเลขนี้จะเท็จหรือจริงใกล้เคียงหรือไม่ ไปเค้นเอากับ nasa โน่น อย่ามาคาดคั้นเอากะผม)

http://www.matichon.co.th/online/2015/09/14417696611441769686l.jpg


ตอนนี้ นักวิชาการที่เกี่ยวข้องของไทย คือ ดร.ศรันย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(อันนี้เป็นของชาติไทย)ของเรามีชื่อย่อว่า narit กับทีม กำลังออกค้นหากันให้จ้าละหวั่น บริเวณอุทยานแห่งชาติไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี


ข่าวนี้เมื่อแพร่กระจายขยายวงออกไป นอกเหนือจากทีมของคุณ ดร.ศรันย์แล้ว คงจะมีใครๆในย่านนั้นหรือย่านอื่นๆ ที่ว่างๆไม่มีอะไรทำอาจออกค้นหาด้วยเหมือนกัน


อุกกาบาตนั้น ไม่ใช่ว่าเพิ่งจะเคยตกในประเทศไทยครั้งนี้เป็นครั้งแรก และคงไม่ใช่ครั้งสุดท้ายหรอก แต่ที่ตกก่อนหน้านี้ในปีก่อนๆ ที่เราไม่เคยได้เห็นเช่นนี้ เพราะสมัยก่อนๆเราไม่มีกล้องบันทึกภาพหน้ารถเหมือนอย่างสมัยนี้


มาถึงกรณีที่ตกหนนี้ ถ้าคุณ ดร.ศรันย์กับทีมค้นหาเจอก่อนก็คงไม่มีปัญหาไร คงจะคว้าใส่เป้แบกมา ศึกษาวิเคราะห์วิจัยกันเป็นที่สนุกสนาน


แต่ถ้าคุณสมชาย คุณสิรัตน์ คุณนวลเนียน คุณปลื้ม คุณเนือบ หรือ คุณอื่นๆที่ไม่ใช่ทีมค้นหาทีมนั้นเจอะเข้าละ


มีคำถามว่า... 

ถ้าเกิดมีการค้นหาจนพบเจอแล้ว อุกกาบาตจะตกเป็นของใคร?

เป็นของผู้คนพบเจอ สามารถยึดเอาไปเป็นเจ้าของได้หรือไม่?
หรือว่าอุกกาบาตนั้น จะต้องตกเป็นของแผ่นดินไป?

ดูๆ เหมือนว่า ไม่น่าจะมีปัญหานะ
แต่เคยมีกรณีเป็นปัญหามาแล้ว
กะไอ้เรื่องลูกอุกกาบาตที่ตกลงมาจากฟ้าในประเทศเรานี่ละ


ถ้าไปตกที่ประเทศอื่นๆอาจไม่มีปัญหาแต่เพราะดันมาตกในประเทศไทยจึงเกิดเป็นปัญหาขึ้นจนได้

กระทรวงมหาดไทยแจ้งว่าจังหวัดเพชรบูรณ์ได้หารือข้อกฎหมายมา ทางกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในลูกอุกกาบาตซึ่งตกที่จังหวัด เพชรบูรณ์เมื่อวันที่๑๓มิถุนายน ๒๕๓๖ ว่าลูกอุกกาบาตจะตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่ และหากลูกอุกกาบาตเป็นของแผ่นดิน จะให้จังหวัดปฏิบัติประการใด


กระทรวงมหาดไทยได้สรุปข้อเท็จจริงว่า เจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณีเห็นว่า ลูกอุกกาบาต มิใช่แร่ และ มิใช่ทรัพยากรธรณี ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.๒๕๑๐ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๔ พ.ศ.๒๕๓๔ และตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ตามลำดับ 


เพราะลูกอุกกาบาตมิได้เป็นทรัพย์อยู่ใต้แผ่นดิน อุกกาบาตเป็นทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของ ดังนั้น การเก็บอุกกาบาตได้ จึงไม่สามารถปรับเข้ากับการเก็บทรัพย์สินหาย ตามมาตรา ๑๓๒๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และอุกกาบาตก็ไม่ได้เป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุโบราณ ที่จะทำให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของแผ่นดิน ตามมาตรา ๑๓๒๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


เมื่อปรับเข้ากับเรื่องการเก็บทรัพย์สินหายไม่ได้แล้วจะนำมาปรับเข้ากับทรัพย์นอกพาณิชย์ได้หรือไม่


ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๔๓ บัญญัติว่า
"ทรัพย์นอกพาณิชย์ หมายความว่า ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้ และทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย"

ท่านหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้ให้ความหมายว่า วัตถุบางอย่างไม่อาจถือเอาได้ เช่น ทะเลหลวง โลกมนุษย์ทั่วทั้งโลก ก้อนเมฆ ท้องฟ้า อากาศ พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาวต่างๆ มนุษย์ไม่อาจถือเเอาได้ ถือว่าเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์ แต่ถ้าวัตถุเหล่านั้นได้ถูกแบ่งส่วนฤาเปลี่ยนสภาพมาตกอยู่ในอำนาจความยึดถือของคนก็อาจเป็นทรัพย์สิน ตามมาตรา ๑๓๘ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา ๙๙ เดิม)


จากข้อเท็จจริง อุกกาบาตเป็นการแตกแยกเพราะแรงเหวี่ยงของดวงดาว แล้วตกลงพื้นโลก เมื่อสามารถยึดถือได้ ย่อมถือเป็นทรัพย์สินตามมาตรา ๑๓๘ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


เมื่อชาวบ้านเข้ายึดถือได้และไม่มีเจ้าของอื่น ทั้งการเข้ายึดถือนั้นไม่ต้องห้ามตามกฎหมายข้างต้น หรือฝ่าฝืนสิทธิขจองบุคคลอื่นที่จะเข้าถือเอาสังหาริมทรัพย์นี้ อีกทั้งไม่เป็นทรัพย์แผ่นดิน หรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามมาตรา ๑๓๐๔ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในลูกอุกกาบาต จึงตกเป็นของชาวบ้านที่ยึดถือได้ ตามนัย มาตรา ๑๓๑๘ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงใคร่ขอหารือว่า ความเห็นของกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ถูกต้องหรือไม่

สำนักงานอัยการสูงสุด ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่า ลูกอุกกาบาตถึงแม้จะมีอายุ ๔,๕๐๐ ล้านปี เทียบเท่ากับอายุของระบบสุริยจักรวาลก็ตาม แต่ลูกอุกกาบาตดังกล่าว มิได้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์อันสำคัญเกี่ยวกับอารยธรรมของมนุษยชาติ จึงไม่เป็นโบราณวัตถุ และไม่ตกเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ มาตรา ๔ และมาตรา ๒๔


ทั้งมิใช่สังหาริมทรัพย์มีค่า ซึ่งซ่อนหรือฝังไว้ ที่กรรมสิทธิ์ตกเป็นของแผ่นดิน ที่ผู้เก็บได้ต้องส่งมสอบทรัพย์นั้นให้แก่เจ้าหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๒๘


ดังนั้น ลูกอุกกาบาต เมื่อตกลงมายังพื้นโลก ย่อมเป็นทรัพย์ไม่มีเจ้าของ

เมื่อมีบุคคลเข้าถือเอา บุคคลนั้นย่อมได้กรรมสิทธิ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๑๘


ความเห็นของกระทรวงมหาดไทยถูกต้องแล้ว


(สำนักงานอัยการสูงสุดตอบข้อหารือที่๕๙/๒๕๓๖วารสารอัยการตุลาคม๒๕๓๖)

ที่มา มติชนออนไลน์


ไร่รักษ์ไม้,Eosgear,มูลไส้เดือน,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,victorinox,แปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,servival Kit,ราคา,อร่อย

Tags : อุกกาบาต ตกจากฟ้า เป็นของใคร ในสายตาของกฎหมาย

view