จากประชาชาติธุรกิจ
นายพงษ์ธร ชัยวัฒน์ รองประธานกรรมการบริหารสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวถึงประเด็นภาครัฐจัดระเบียบไม่ให้มีการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) ว่า เรือประมงกว่า 40% ต้องหยุดหาปลา แม้ว่าศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) จะผ่อนผันกฎระเบียบลดลงจาก 15 ข้อเหลือ 8 ข้อ แต่ปลาหน้าดินหายไปกว่า 40% ส่งผลกระทบต่อโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล ตลาดปลาแม่กลองที่เปิดอีกครั้งเมื่อวันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมา รถบรรทุกขนาดใหญ่เคยวิ่งเข้าตลาดวันละ 40-50 ตู้ เหลือเพียง 2-3 ตู้ต่อวัน รถบรรทุกขนาดเล็กที่วิ่งเข้าวันละ 100 กว่าตู้ เหลือเพียง 10 ตู้ ทำให้แพปลาต้องคัดคนงานออก ขณะที่เรือประมงต้องวิ่งเคลียร์หนี้สินทั้งในและนอกระบบ
"ที่ระนองเรือที่มีอาชญาบัตรเครื่องมือจับปลาถูกต้อง มีเรืออวนลากเพียง 2 คู่ จากปกติมีมากกว่า 100 ลำ เมื่อเป็นเช่นนี้ องค์การสะพานปลา (อสป.) จะรับมือกับผลกระทบอย่างไร เพราะรายได้จะลดลงจากที่เคยได้ค่าธรรมเนียมเรือประมงเทียบท่า 1% ของมูลค่าปลา การขายน้ำแข็ง ค่าจอดรถ"
ปลาในทะเลอ่าวไทยขณะนี้ การปิดอ่าวเพื่อให้ปลาวางไข่เริ่มล้มเหลว ทะเลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร มีระบบส่วย เรือประมงที่ต้องการละเมิดกฎหมายจับปลา 30-50 ลำ จ่ายค่าส่วยลำละ 3-5 แสนบาท กำไรยังเหลือลำละเป็นล้านบาท มาปีนี้ปิดอ่าวไทยอีก มีเรือจ่ายส่วย 100 กว่าลำเข้าไปจับปลาในเขตห้าม โดยเก็บลำละ 5 แสนบาท ฉะนั้นการปิดอ่าวตัว ก.ในอ่าวไทยจะล้มเหลวอีก เพราะวงจรปลาถูกตัดไปตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และชุมพร
ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์ นายกสมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย กล่าวถึงแผนการนำเข้าปลาจากต่างประเทศมาชดเชยปลาที่ขาดแคลนในไทยว่า คงต้องรออีกประมาณ 1 เดือนให้คณะรัฐมนตรีอินโดนีเซียปรับ ครม.ก่อน การเจรจาให้อินโดฯเปิดน่านน้ำจับปลาน่าจะสะดวกขึ้น เท่าที่ดูจากเงื่อนไขให้เรือประมงต่างชาติต้องลงทุนหรือร่วมทุนแปรรูปสัตว์ น้ำเบื้องต้น ก็คงจะมีการลงหุ้นกับคู่ค้าในอินโดฯต่อไป เช่น การร่วมหุ้นในโรงงานทำเนื้อปลาบดหรือซูริมิเพื่อส่งออกมาไทยอีกทอดหนึ่ง
เรือประมงนอกน่านน้ำของไทย จับปลาที่อินโดนีเซียมากที่สุด แต่หยุดหาปลามา 8 เดือนแล้ว เนื่องจากทางรัฐมนตรีกระทรวงการประมง ต้องการตรวจสอบความถูกต้องของเรือว่าทำประมงถูกกฎหมายหรือไม่ ต้องยอมรับว่า เขตอินโดฯเหนือที่อยู่ใกล้ไทย ตั๋วปลอมหรือใบอนุญาตจับปลาไม่ถูกกฎหมายมีมาก ส่วนใหญ่เป็นเรือประมงแช่น้ำแข็งจากปัตตานี สงขลา และนครศรีธรรมราช จับปลาได้ประมาณ 3-4 แสนตัน/ปี เมื่ออินโดฯจะตรวจสอบ เรือเหล่านี้จะวิ่งกลับไทยหมด เหลือแต่เรือประมงที่ถูกต้องให้อินโดฯตรวจสอบ
ในส่วนการประมงเขตอินโดฯใต้ ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสมาคม จับปลาโดยถูกต้องตามกฎหมาย จับได้ปีละประมาณ 3-4 แสนตัน
ไร่รักษ์ไม้,Eosgear,มูลไส้เดือน,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,victorinox,แปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,servival Kit,ราคา,อร่อย