สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ภัยใกล้ตัว-ไฟลัดวงจร-ปลั๊กเน่า-ชนวนเพลิงไหม้

จาก โพสต์ทูเดย์

ทีมข่าวในประเทศโพสต์ทูเดย์

ยังไม่ได้ข้อสรุปเหตุเพลิงไหม้อาคารอัจฉริยะ SCB สำนักงานใหญ่ไทยพาณิชย์ แม้ว่าเจ้าหน้าที่จะสอบปากคำไปแล้ว 45 ปาก

พล.ต.ต.ก่อเกียรติ วงศ์สุเมธ ผบก.น.2 ระบุประเด็นน่าสนใจ หลังเดินทางมาตรวจสอบที่เกิดเหตุ

“ปกติจะมีพนักงานหลายคนทำงานวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ภายในห้องที่เกิดเหตุมีโต๊ะทำงานของพนักงาน และอาจมีการใช้ไฟฟ้าที่ปลั๊กไฟตามทั่วไป แต่อาจมีการชาร์จโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์สื่อสาร คอมพิวเตอร์ หรือลืมเสียบปลั๊กอุปกรณ์ต่างๆ ทิ้งไว้ก็อาจเป็นได้”

ปมไฟฟ้าลัดวงจร เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ยังไม่ตัดทิ้งกับตึก SCB

พ.ต.อ.พิชัย เกรียงวัฒนศิริ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทสาธารณภัย (ปภ.) กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ปัญหาอัคคีภัยมักเกิดจากหลายสาเหตุ ที่ผ่านมาพบว่า เกิดจากความประมาท มองข้ามสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เช่น จากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า การใช้เชื้อเพลิงทั้งน้ำมันและแก๊ส แต่สาเหตุอันดับต้นๆ เกิดจากไฟลัดวงจร เนื่องจากสภาพการใช้งานนาน ขาดการดูแลบำรุงรักษา

ส่วนเหตุไฟไหม้จากการเสียบสายชาร์จแบตโทรศัพท์ทิ้งไว้ พ.ต.อ.พิชัย ยอมรับว่า มีแต่อาจไม่มาก ส่วนใหญ่เกิดไฟไหม้จากปลั๊กหรือเต้ารับที่สภาพเสื่อมโทรมตามอายุการใช้งาน หรือบางครั้งสายชาร์จไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน

จากสถิติในช่วงรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา ระหว่าง ก.ค.-ธ.ค.ปี 2557 พบสาเหตุเพลิงไหม้ใน กทม. 3 อันดับแรก คือ 1.ไฟฟ้าลัดวงจร เกิดเหตุขึ้นกว่า 212 ครั้ง เฉลี่ย 62% อันดับ 2 การจุดธูปเทียนทิ้งไว้ 39 ครั้ง เฉลี่ย 11% และอันดับ 3 การประกอบอาหารหรืออุ่นทิ้งไว้ เกิดเหตุ 35 ครั้ง เฉลี่ย 10%

“จุดที่เกิดไฟฟ้าลัดวงจรมากที่สุด คือ บริเวณปลั๊กไฟฟ้า เกิดเหตุกว่า 60 ครั้ง รองลงมาเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า อย่างพัดลม เกิดเหตุไฟไหม้ 21 ครั้ง และสุดท้ายแผงควบคุมไฟฟ้าหรือสะพานไฟ เกิดเหตุตรงจุดนี้ 18 ครั้ง” พ.ต.อ. พิชัย ระบุ

ตฤณ แสงสุวรรณ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มองถึงสาเหตุไฟไหม้ตามบ้านเรือนหรืออาคาร มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ 1.การใช้ไฟเกินขนาด 2.กระแสไฟฟ้าลัดวงจร

รูปแบบการใช้ไฟเกินขนาด หมายถึง อาจมีการเสียบปลั๊กไฟเกินกว่าค่าพิกัดของระบบ สายไฟจะร้อนขึ้นเรื่อยๆ และฉนวนกันความร้อนในสายไฟค่อยๆ หลอมละลายทำให้เกิดไฟไหม้ตามมา อีกส่วนเกิดจากสายไฟชำรุด ขาด หรือมีปัญหา ทำให้กระแสไฟฟ้าที่ใช้เกิดไปกระทบกับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ โดยตรง ทำให้กระแสไฟเข้าไปทำลายและเกิดไฟไหม้ตามมา

แม้ว่าระบบไฟฟ้าตามบ้านเรือนและอาคารต่างๆ จะมีตัวตัดไฟกรณีใช้ไฟเกินขนาด หรือไฟลัดวงจร อยู่หลายชั้น ป้องกันไม่ให้เกิดสาเหตุทั้งสองอย่างข้างต้น ที่เรียกว่า Cercuit Breaker แต่บางแห่งก็พบว่า ระบบ Cercuit Breaker มีปัญหาเสียเอง

“ยิ่งกับอาคารขนาดใหญ่ หรือองค์กรใหญ่ระบบพวกนี้จะดีมาก ทำให้ไม่เกิดปัญหาไฟไหม้ แต่คนส่วนใหญ่เมื่อเกิดไฟไหม้ตามบ้านเรือนหรืออาคารต่างๆ ก็จะลงความเห็นว่าไฟฟ้าลัดวงจรไว้ก่อน เพราะมันปิดคดีได้ง่ายดี แต่จริงๆ แล้วต้องไปดูว่ามันจริงหรือไม่”อาจารย์วิศวกรรมไฟฟ้า กล่าวสรุป

อย่างไรก็ดี กทม.มีโครงการอบรมแผนป้องกันไฟไหม้ให้กับชุมชนเสี่ยงต่างๆ หนึ่งในนั้น โครงการการ ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร สาเหตุมาจากการเสียบปลั๊กไฟชาร์จโทรศัพท์มือถือทิ้งไว้ โดยจะรณรงค์ให้ความรู้กับคนในชุมชนถึงวิธีป้องกัน อาทิ ไม่กระทำสิ่งที่ก่อให้เกิดประกายไฟ ไม่เสียบสายชาร์จแบตโทรศัพท์ทิ้งไว้ ตรวจสอบสายไฟในบ้านเรือนให้อยู่สภาพดีไม่ฉีกขาด


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,อะไหล่ victorinox,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,servival Kit

Tags : ภัยใกล้ตัว ไฟลัดวงจร ปลั๊กเน่า ชนวนเพลิงไหม้

view