จากประชาชาติธุรกิจ
เคยรู้สึกหงุดหงิดรำคาญใจกับเสียงจราจรที่ดังจนรับไม่ไหวบ้างไหม? เสียทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต
เสียงจากการจราจรเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับผู้ใช้ทางและผู้ที่มีกิจวัตรประจำวันอยู่ใกล้เส้นทาง นอกจากนี้ เสียงที่ดังเกินมาตรฐานยังเป็นอันตรายต่อระบบการรับฟังของมนุษย์
ทำอย่างไรดี ย้ายบ้าน ย้ายโรงเรียน หรือได้แต่ทำใจ วันนี้มีอีกหนึ่งทางออกที่ไม่ใช่การหนีปัญหามาบอกกัน
เสียงจราจรจากรถที่เราได้ยิน ดังบ้าง ค่อยบ้าง มาจาก 5 ปัจจัย คือ
1.ประเภทของรถ ซึ่งมีอยู่ถึง 9 ประเภท ได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถบรรทุกขนาดเล็ก รถบรรทุกขนาดกลาง รถบรรทุกขนาดใหญ่ รถบรรทุกพ่วง รถบรรทุกกึ่งพ่วง รถจักรยานยนต์ รถโดยสาร และรถสามล้อเครื่อง แตกต่างกันทั้งขนาดและน้ำหนักรถที่บดลงบนผิวทาง เสียงและขนาดเครื่องยนต์ เทคโนโลยีทางเครื่องยนต์ สภาพเครื่องยนต์
2.ความเร็วของรถและความต่อเนื่องในการขับเคลื่อน ยกตัวอย่าง รถที่วิ่งบนทางด่วน ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง จะใช้ความเร็วค่อนข้างสูงและต่อเนื่อง ซึ่งหากวิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 60 กม./ชม.จะมีระดับเสียงจราจร 58-73 dB (A) ทำให้ระดับเสียงต่างจากรถที่วิ่งตามถนนในเขตเมืองช่วงชั่วโมงเร่งด่วน ซึ่งใช้ความเร็วได้ต่ำ และรถจะเคลื่อนที่และหยุดตามจังหวะ จึงมีเสียงหยุดที่ทำให้ล้อเสียดสีกับผิวทางและเสียงจากการเร่งเครื่องขณะออกตัวโดยใช้เกียร์ต่ำอยู่บ่อย ๆ
3.ปริมาณการจราจร ค่าระดับเสียงจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่ปริมาณรถตั้งแต่ 0-2,000 คัน/ชม.แต่หลังจากนั้นแม้ปริมาณรถจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ค่าระดับเสียงจะเพิ่มขึ้นอีกเพียงประมาณ 4 dB (A) เท่านั้น
4.สภาพผิวทาง ทำให้เกิดเสียงจากการที่หน้ายางสัมผัสกับผิวทาง ผิวทางขรุขระเกิดเสียงดังกว่าทางเรียบ ในปัจจุบันมีวัสดุปูผิวทางที่เรียกว่า แอสฟัลติกพรุน สามารถลดเสียงจากการที่หน้ายางสัมผัสกับผิวถนนลงได้ 3-7 dB (A)
5.ความลาดชันของทาง การเร่งเครื่องยนต์เพื่อขึ้นเขาหรือที่สูง หรือการชะลอการขับรถลงเขาจะทำให้เกิดเสียงดังกว่าการขับเคลื่อนบนทางราบ
ค่าระดับเสียงที่เหมาะสม คืออะไร
ค่าระดับเสียงที่เหมาะสมต้องมีมาตรฐาน โดยจะมีค่าแบ่งตามกิจกรรมและช่วงเวลากลางวัน กลางคืน ซึ่งค่าระดับเสียงตามมาตรฐานทั้งต่างประเทศและประเทศไทย สามารถสรุปเป็นค่าระดับเสียงที่เหมาะสมโดยจำแนกตามการใช้ประโยชน์พื้นที่
แนวทางลดมลพิษทางเสียงที่เกิดขึ้นจากการจราจรอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ
วิธีธรรมชาติง่าย ๆ ในการลดเสียงดังจากการจราจร คือการเอานิ้วอุดหู แต่วันนี้จะแนะนำให้รู้จักกับ "กำแพงกันเสียง" เป็นมาตรการหนึ่งที่สามารถลดผลกระทบด้านเสียงจากการจราจรลงได้ แม้ว่าจะไม่ทั้งหมด แต่ถ้ามองในด้านวิศวกรรมแล้ว การติดตั้งกำแพงกันเสียงที่สามารถลดเสียงลงได้ 10 เดซิเบล นับได้ว่าเป็นการลดเสียงที่มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ
ทำความรู้จักและความเข้าใจกับกำแพงกันเสียง
ชนิดของวัสดุกำแพงกันเสียงมีอยู่มากถึง 8 ชนิด ได้แก่ คอนกรีต/ผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต โลหะ พลาสติก วัสดุโปร่งใส วัสดุรีไซเคิล ไฟเบอร์กลาส อะคริลิก และไม้ ซึ่งแต่ละวัสดุมีคุณสมบัติต่างกัน รวมทั้งสามารถลดเสียงได้มากน้อยแตกต่างกันด้วย
ทั้งนี้ การจะเลือกใช้วัสดุชนิดใด มีหลักเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้
เมื่อเส้นสายตาถูกบังโดยกำแพงกันเสียง ระดับเสียงที่ผู้รับผลกระทบได้รับจะเริ่มลดลงที่ 5 dB (A) และเมื่อความสูงของกำแพงกันเสียงเพิ่มขึ้นทุก ๆ 1 เมตร ระดับเสียงจะลดลงอีก 1.5 dB (A)
การออกแบบกำแพงกันเสียงสามารถใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการคำนวณ โดยการนำเข้าข้อมูล ได้แก่ ค่าระดับความสูงของพื้นที่ ภาพถ่ายทางอากาศ ความสูงของถนนและอาคาร ชนิดผิวทาง สภาพภูมิอากาศ และข้อมูลจราจร รวมทั้งชนิดวัสดุของกำแพงกันเสียง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือความยาว ความสูงของกำแพงกันเสียงที่สามารถลดเสียงให้อยู่ในระดับเสียงที่ต้องการ
เมื่อออกแบบขนาดกำแพงกันเสียงเสร็จเรียบร้อย ก็เป็นเรื่องของความสวยงามที่สถาปนิกจะเข้ามาช่วยดูแล แต่ประสิทธิภาพของงานไม่ได้หมดอยู่แค่นั้น
สิ่งที่ต้องให้ความใส่ใจไม่แพ้กัน คือความใส่ใจในการติดตั้งกำแพงกันเสียง เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามประการหนึ่ง คือการสอบถามความคิดเห็นของผู้ที่อยู่ในบริเวณที่ต้องติดตั้งกำแพงกันเสียง ว่ามีความต้องการอย่างไร ทั้งเรื่องชนิดวัสดุ ขนาด รูปแบบ สอดคล้องกับความต้องการของผู้ได้รับผลกระทบ
ปัญหาจะลดลง ถ้ามีการวางแผน การป้องกัน และการดำเนินงานอย่างใส่ใจ
ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,ไร่รักษ์ไม้สวนศิริผล,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,สินค้าเกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต