จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
เรื่องราวสำคัญในภาคนี้อยู่ที่ “สงครามยุทธหัตถี” หรือการทำสงครามบนหลังช้างระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชของพม่า ในครั้งนั้นพระมหาอุปราชทรงคุมทัพหลวงเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาทางด่านเจดีย์ สามองค์ สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นจอมทัพยกทัพไปรับข้าศึกที่หนองสาหร่าย และเกิดการปะทะกันขึ้น สมเด็จพระนเรศวรทรงขับพระคชาธารเข้าไปต่อสู้และวิ่งฝ่าเข้าไปในกองทัพข้าศึก โดยที่ทหารในกองทัพไม่สามารถติดตามมาได้ทัน เมื่อตกอยู่ในวงล้อมของทหารพม่าที่มีจำนวนมากกว่า สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงเชิญพระมหาอุปราชให้ออกมากระทำยุทธหัตถี ในครั้งนั้น ทั้งสองพระองค์ขับช้างทรงชนกัน พระมหาอุปราชเสียทีถูกสมเด็จพระนเรศวรฟันด้วยของ้าวจนสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระนเรศวรมีชัยชนะในสงครามยุทธหัตถี และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ก่อพระเจดีย์ขึ้นองค์หนึ่งตรงที่พระองค์ได้ทรงชนช้างกับพระมหาอุปราชไว้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ |
||||
พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี "พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์" หรือที่รู้จักกันดีในชื่ออนุสรณ์ดอนเจดีย์ ตั้งอยู่ที่ ต.ดอนเจดีย์ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี อยู่ห่างจากตัวเมืองสุพรรณบุรีราว 31 กิโลเมตร เดิมเชื่อว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่กระทำยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรและ พระมหาอุปราชา ตามข้อสันนิษฐานของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งต่อมาก็ได้สร้างพระเจดีย์องค์ใหม่ครอบเจดีย์องค์เก่าที่เหลือเพียงฐาน |
||||
ด้านหลังของพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นที่ตั้งของ "พระตำหนักสมเด็จพระนเรศวร" โดยรอบพระตำหนักจะมีภาพปั้นนูนต่ำ แสดงเรื่องราวของสมเด็จพระนเรศวร มีรูปปั้นของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระสุพรรณกัลยา ซึ่งมักมีผู้นิยมไปสักการบูชาอยู่เป็นนิตย์ |
||||
ภายหลังได้มีอีกหนึ่งข้อสันนิษฐานว่าเจดีย์ยุทธหัตถีที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะในสงครามของสมเด็จพระนเรศวร ที่แท้แล้วก็คือเจดีย์ที่ตั้งอยู่ใน อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่ในที่ดอน ล้อมรอบด้วยป่าละเมาะเป็นบริเวณกว้าง องค์เจดีย์เป็นศิลปะแบบอยุธยา เป็นเจดีย์ทรงกลม ก่ออิฐฉาบปูน ส่วนยอดหักพังไปตามกาลเวลา จนปัจจุบันมีความสูงราว 3 เมตร |
||||
ในพื้นที่บริเวณเจดีย์ยุทธหัตถีและบริเวณใกล้เคียงมีการขุดพบกระดูก ช้าง กระดูกม้า กะโหลกช้าง และกระดูกคนอยู่มากมาย และเครื่องประดับที่ใช้ตกแต่งช้างศึกและม้าศึกอยู่มากมาย อันแสดงว่าสถานที่แห่งนี้จะต้องเคยเป็นที่กระทำสงครามครั้งยิ่งใหญ่ แต่จะเท็จจริงอย่างไรก็คงอยู่ที่การพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติ ศาสตร์ |
||||
|
||||
อีกหนึ่งสถานที่ที่มีนักวิชาการสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นจุดกระทำยุทธหัตถี นั่นก็คือที่ “ทุ่งภูเขาทอง” ที่พระนครศรีอยุธยา และเจดีย์ภูเขาทองก็คือเจดีย์ยุทธหัตถีที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงสงครามในครั้งนั้น พระเจดีย์ภูเขาทองเป็นเจดีย์ทรงระฆังบนฐานสูง ส่วนฐานของเจดีย์เป็นรูปแบบมอญพม่า รองรับเจดีย์เพิ่มมุมที่มีรูปแบบสืบทอดมาจากเจดีย์ศรีสุริโยทัย ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมโกศโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ในปี 2288 โดยเปลี่ยนทรงเจดีย์เป็นทรงเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง คงเหลือเพียงฐานประทักษิณที่ยังเป็นรูปแบบเดิม พระเจดีย์ภูเขาทองจึงมีรูปแบบผสมผสานระหว่างศิลปะมอญและศิลปะอยุธยาตอนปลาย |
||||
|
ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ถุงมือกันบาด,อะไหล่ victorinox,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,ร้านกาแฟดี,,thaiworm33