สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

7 วิธีบำบัดความดัน ด้วยแพทย์ทางเลือก

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ 360 องศากับแพทย์ทางเลือก

นอกจากการรับประทานยาเพื่อควบคุมความดันโลหิตสูงแล้ว ในปัจจุบัน ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่หันไปพึ่ง แพทย์ทางเลือกกันมากขึ้น โดยเฉพาะการจัดการกับความเครียดที่พิสูจน์แล้วว่า สามารถลดความดันโลหิตสูงได้เป็นอย่างดี ไปดู 7 วิธีที่คุณอาจนำไปใช้ทั้งป้องกันและบำบัดโรค "ความดันโลหิตสูง"

1) สุคนธบำบัด กลิ่นช่วยบำบัดความเครียดได้โดยเฉพาะกลิ่นลาเวนเดอร์ มาจอแรม คาโมไมลด์ และดอกส้ม ที่ช่วยทำให้ง่วง นอนหลับสบาย จึงนำมาใช้บำบัดอาการเครียด นอนไม่หลับ โกรธ กังวล รำคาญ และความดันโลหิตสูง ทำให้ร่างกายผลิตเซโรโทนินทำให้ใจสงบ นอกจากนี้ ยังมี น้ำมันดอกโหระพา ที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ ไล่แมลง บรรเทาอาการปวดต่างๆ รวมทั้งโรคเก๊าท์ และยังช่วยลดอาการเครียด กระวนกระวาย ทำให้อารมณ์สดชื่นขึ้นจากความเหนื่อยล้า หรือจะเป็น น้ำมันขิง และน้ำมันพริกไทยดำ ที่ช่วยบรรเทาอาการเครียด กระวนกระวาย เหนื่อยล้า และทำให้เกิดอาการตื่นตัว อบอุ่น

2) โสตบำบัด มีรายงานว่า เสียงเพลงที่ผ่อนคลาย จะช่วยให้ความดันเลือดลดลง ขณะที่การฟังเพลงเร็ว และเสียงดังจะทำให้หายใจเร็วขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันเลือดสูงขึ้น เลือดไปเลี้ยงผิวหนังน้อยลง หากคุณเป็นความดันโลหิตสูงควรหาเพลงช้าที่ชื่นชอบมาฟัง หรือธรรมะเบาๆ ก็ได้ จะ ทำให้เกิดการผ่อนคลาย หัวใจเต้นช้าลง ความดันเลือด

3) การนวด การนวดจะช่วยให้ความตึงตัวของกล้ามเนื้อคลายลง ผลการวิจัยพบว่า ผู้เป็นความดันโลหิตสูงภายหลังได้รับการนวดกดจุดฝ่าเท้าแบบนวดจริง สามารถลดความดันโลหิตซิสโตลิคที่สูง ไดแอสโตลิคที่สูงได้ และอาจนำการนวดกดจุดฝ่าเท้าไปประยุกต์และผสมผสานร่วมกับการดูแลแบบใช้ยาในการลดความดันโลหิตสูง ได้โดยไม่เกิดอันตราย และยังเป็นการเติมเต็มความสมบูรณ์ในการพยาบาลแบบองค์รวม

4) การฝึกชี่กง
โดยเฉพาะการฝึกท่ายืนอรหันต์นั้นมีความสำคัญมากเพราะเป็นพื้นฐานขั้นแรก ที่สำคัญหากฝึกท่ายืนอรหันต์เป็นประจำจะช่วยบำบัดโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง ป้องกันโรคหัวใจ และโรคเบาหวาน เพราะท่ายืนอรหันต์สามารถทำให้ร่างกายเกิดพลังความร้อนในปริมาณที่สูง และเผาผลาญไขมันส่วนเกินได้เร็วที่สุดนั่นเอง


5) การฝึกโยคะ เทรนด์โยคะมีมานานแล้วในไทย แต่มุ่งเน้นไปที่รูปร่างเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ได้จากโยคะยังเป็นการบำบัดรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้ ยกเว้นที่ต้องหลีกเลี่ยง คือท่าที่มีการก้มหัวลงไป เช่น พัทธะ (การนั่งเท้าชนกันและก้มหัวลง), ปะสาริตะ (ท่ายืนกางเท้าออก แล้วก้มศีรษะลงไป) หรือ ศีรษะณะ (ศีรษะวางลงบนพื้นและเหยียดเท้าขึ้นตรง) เพราะท่าเหล่านี้จะทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงที่ศีรษะได้ดี แต่คนที่เป็นความดันสูง ความดันเลือดจะแรงอาจจะเสี่ยงต่อเส้นเลือดในสมองแตกได้ การฝึกจึงควรขอคำแนะนำจากกูรูเท่านั้น

6) สมาธิบำบัด เรื่องนี้รู้กันดีมานาน เพราะการฝึกสมาธิจะช่วยให้จิตใจสงบเยือกเย็นไม่วอกแวก เมื่อจิตใจสงบไม่ฟุ้งซ่าน ความดันโลหิตก็อยู่ในภาวะที่สมดุลได้ ทั้งนี้ นักวิจัยมหาวิทยาลัยเคนตักกี สหรัฐฯ ศึกษาพบว่าการนั่งสมาธิเป็นคุณกับผู้มีอาการความดันโลหิตสูงอย่างมาก เพราะนอกจากจะช่วยให้คลายเครียด แล้วยังช่วยควบคุมความดันโลหิตโดยไม่เกิดมีอาการแทรกซ้อนอย่างอื่น การนั่งสมาธิในผู้มีความดันโลหิตสูงจึงเท่ากับเป็นการใช้ยาลดความดันโลหิตอีกขนานหนึ่งมาเสริมได้อย่างปลอดภัยและไม่ยุ่งยาก

7) หัวเราะบำบัด นักวิจัยสามารถพิสูจน์ได้แล้วว่าผู้ที่ยิ้มแย้มแจ่มใส อารมณ์ดี และหัวเราะอยู่เป็นนิจ มักไม่ค่อยเจ็บไข้ได้ป่วย ปวดหัวตัวร้อน เหมือนคนอื่น แถมยัง เป็นคนแข็งแรง ต่างจากผู้ที่มีอารมณ์ซึมเศร้า โมโห ฉุนเฉียวง่าย ความเจ็บไข้อยู่เสมอ ข้อสรุปคืออารมณ์และจิตใจของคนเรานั้นมีผลต่อสุขภาพของเราด้วยนั่นเอง ใครที่เครียดต้องหัดยิ้มแย้มและหัวเราะแล้วล่ะ แน่นอนโรคความดันโลหิตสูงคงหนีห่างออกไปอย่างไม่ต้องสงสัย

เป็นทางเลือก 7 วิธีที่จะช่วยให้คุณห่างไกลจากความดันโลหิตสูง สะดวกแบบไหนก็ทำได้เลย!



ที่มา : หน้าพิเศษ Hospital Healthcare


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : วิธีบำบัดความดัน แพทย์ทางเลือก

view