จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
โดย...สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย “เตือนกันทั่วโลก ไปแล้วว่า แมลง (หรือหนอน?) ชนิดนี้ (ไม่ทราบว่าจะแปลชื่อเป็นภาษาไทยว่าอย่างไรดี) แต่ถ้ามาเกาะบนตัวคุณ ห้ามตบมันเด็ดขาด เพราะในตัวมันมีสารพิษชนิดเหลว เมื่อสัมผัสผิวเรา ตายลูกเดียวเลย บอกเด็กๆ เพื่อนๆ ด้วยว่า หากมีแมลงแบบนี้มาเกาะ ให้ใช้ปากเป่าไล่ก็ได้แล้ว ห้ามใช้มือตีมันเด็ดขาด หมอเน้นว่าถ้าแชร์เรื่องนี้ออกไปสักสิบคน อย่างน้อยช่วยชีวิตคนได้ถึงหนึ่งชีวิตเชียว” |
||||
ทั้งนี้ ข้อความดังกล่าวมีส่วนถูกต้อง คือ เมื่อโดนแมลงนี้ห้ามตบ เพราะในตัวมีสารพิษ แต่ที่ไม่ถูกต้องคือ ถึงแก่ชีวิต และแมลงตัวนี้บินไม่ได้ จึงไม่สามารถมาเกาะได้ ส่วนใหญ่ผู้ที่โดนจะไม่รู้สึกตัวจะทราบก็มีผื่นแล้ว ไม่เคยมีรายงานว่าถึงตาย และรูปที่ส่งมาเป็นตุ่มน้ำ พอง ไม่น่าจะเกิดจากแมลงชนิดนี้ สำหรับ "แมลงก้นกระดก" หรือ "ด้วงก้นกระดก" หรือ "แมลงเฟรชชี่" (มักจะเจอช่วงเปิดเทอมใหม่ๆ) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Paederus Fucipes เป็นแมลงขนาดเล็ก ประมาณ 7-8 มม. ส่วนหัวมีสีดำ ปีกน้ำเงินเข้มขนาดเล็ก และส่วนท้องมีสีส้ม ชอบงอส่วนท้ายกระดกขึ้นลง ทำให้ได้ชื่อว่าแมลงก้นกระดก เป็นแมลงที่พบเฉพาะในเขตร้อนชื้น โดยมากอาศัยบริเวณพงหญ้าที่มีความชื้น ใกล้หนองน้ำ ชอบออกมาเล่นไฟและแสงสว่างตามบ้านเรือน ทำให้พบว่ามันจะลอดมุ้งลวดเข้ามาได้ |
||||
การป้องกันเมื่อโดนแมลงหรือ เกิดอาการปวดแสบปวดร้อน ให้ล้างด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาดหลายๆครั้ง หรือใช้แอมโมเนียทาบริเวณที่โดนแมลงจะลดอาการแสบร้อนได้ ถ้าผื่นเป็นน้อยๆจะหายไปเองได้แต่ถ้ามีการติดเชื้อแทรกซ้อนต้องให้ยาปฎิชี วนะทาหรือรับประทานด้วย ถ้ามีแมลงมาเกาะพยายามอย่าตบ บดขยี้บนลงผิวหนังให้ปัดออกหรือกำจัดโดยวิธีอื่น แมลงชนิดนี้ชอบไฟในเวลากลางคืน ดังนั้นไม่ควรเปิดไฟแรงสูงทิ้งไว้เพราะแสงไฟจะล่อแมลงเข้ามา จากการทดลองพบว่าแมลงจะชอบเข้ามาถ้าใช้แสงไฟนีออนหรือหลอดไฟที่มีแรงเทียน สูงกว่า 40 วัตต์ ดังนั้นประตู หน้าต่างควรบุด้วยมุ้งลวดที่มีความถี่มากๆเพื่อให้แมลงเข้ามาไม่ได้ ถ้าไม่แน่ใจว่าโดนแมลงหรือไม่แต่แสบๆร้อนๆให้ ทำความสะอาดผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ทำความสะอาดบ้านมองหาตามผนังและเพดานใกล้หลอดไฟ อย่าเปิดไฟนอน และควรปิดประตูหรือหน้าต่างให้ดีก่อนที่จะเข้านอน จะเห็นว่าแมลงชนิดนี้ไม่ได้อันตราย กัดต่อยแล้วถึงกับชีวิต แต่ สามารทำให้ผิวหนังไหม้พองได้ ดังนั้น ควรป้องกันไว้ก่อนจะดีที่สุด |
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต