สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

โรคผิวหนังอักเสบจากแมลงก้นกระดก

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

โดย...สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย
       
       “เตือนกันทั่วโลก ไปแล้วว่า แมลง (หรือหนอน?) ชนิดนี้ (ไม่ทราบว่าจะแปลชื่อเป็นภาษาไทยว่าอย่างไรดี) แต่ถ้ามาเกาะบนตัวคุณ ห้ามตบมันเด็ดขาด เพราะในตัวมันมีสารพิษชนิดเหลว เมื่อสัมผัสผิวเรา ตายลูกเดียวเลย บอกเด็กๆ เพื่อนๆ ด้วยว่า หากมีแมลงแบบนี้มาเกาะ ให้ใช้ปากเป่าไล่ก็ได้แล้ว ห้ามใช้มือตีมันเด็ดขาด หมอเน้นว่าถ้าแชร์เรื่องนี้ออกไปสักสิบคน อย่างน้อยช่วยชีวิตคนได้ถึงหนึ่งชีวิตเชียว”
 โรคผิวหนังอักเสบจากแมลงก้นกระดก
       จากข้อความทางโซเชียล มีเดียดังกล่าว ที่ส่งต่อๆ กันมาเป็นทอดๆ เกี่ยวกับพิษภัยของ “ด้วงก้นกระดก” ที่เมื่อโดนกัดหรือต่อยแล้ว จะเกิดเป็นโรคผิวหนังอักเสบ จนอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตนั้น ทางสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยขอยืนยันว่า โรคผิวหนังอักเสบจากแมลงก้นกระดก ชนิดนี้ไม่ได้เป็นโรคใหม่ ซึ่งมีการค้นพบในประเทศไทยหลายสิบปีแล้ว แต่ก่อนนี้มักพบบ่อยตามชานเมืองที่มีหนองน้ำ แต่ปัจจุบันพบบ่อยขึ้น ทั้งในต่างจังหวัดและกรุงเทพฯและในทุกฤดูกาล ส่วนต่างประเทศมีรายงานการระบาด เช่น ไต้หวัน อินเดีย แอฟริกา แต่ยังไม่เคยมีการรายงานว่าถึงแก่ชีวิต
       
       ทั้งนี้ ข้อความดังกล่าวมีส่วนถูกต้อง คือ เมื่อโดนแมลงนี้ห้ามตบ เพราะในตัวมีสารพิษ แต่ที่ไม่ถูกต้องคือ ถึงแก่ชีวิต และแมลงตัวนี้บินไม่ได้ จึงไม่สามารถมาเกาะได้ ส่วนใหญ่ผู้ที่โดนจะไม่รู้สึกตัวจะทราบก็มีผื่นแล้ว ไม่เคยมีรายงานว่าถึงตาย และรูปที่ส่งมาเป็นตุ่มน้ำ พอง ไม่น่าจะเกิดจากแมลงชนิดนี้
       
       สำหรับ "แมลงก้นกระดก" หรือ "ด้วงก้นกระดก" หรือ "แมลงเฟรชชี่" (มักจะเจอช่วงเปิดเทอมใหม่ๆ) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Paederus Fucipes เป็นแมลงขนาดเล็ก ประมาณ 7-8 มม. ส่วนหัวมีสีดำ ปีกน้ำเงินเข้มขนาดเล็ก และส่วนท้องมีสีส้ม ชอบงอส่วนท้ายกระดกขึ้นลง ทำให้ได้ชื่อว่าแมลงก้นกระดก เป็นแมลงที่พบเฉพาะในเขตร้อนชื้น โดยมากอาศัยบริเวณพงหญ้าที่มีความชื้น ใกล้หนองน้ำ ชอบออกมาเล่นไฟและแสงสว่างตามบ้านเรือน ทำให้พบว่ามันจะลอดมุ้งลวดเข้ามาได้
 โรคผิวหนังอักเสบจากแมลงก้นกระดก
       ผื่นที่เกิดจากแมลงชนิดนี้ไม่ได้เกิดจากการที่มันกัดหรือต่อย แต่เกิดจากการที่ไปโดนแล้วบี้ทำให้สารเคมีในตัวที่ชื่อว่า paederin จะทำให้ผิวหนังบริเวณที่สัมผัสไหม้มักเเป็นรอยแปลกๆ ตามที่มือไปสัมผัส อาจเป็นเส้น เป็นทางทำให้คิดว่าเป็นงูสวัดหรือเริม บางครั้งพบลักษณะเฉพาะของโรคนี้ คือ kissing lesion คือถ้าเป็นที่ข้อพับจะเกิดผื่นที่เหมือนกันในด้านตรงข้าม ส่วนใหญ่มักโดนเวลากลางคืน แต่จะไม่เกิดอาการ จน 6-12 ชั่วโมง จึงเกิดอาการ ทำให้มือที่สัมผัสไปโดนบริเวณอื่นแล้วทำให้เกิดอาการหลายตำแหน่งได้
       
       การป้องกันเมื่อโดนแมลงหรือ เกิดอาการปวดแสบปวดร้อน ให้ล้างด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาดหลายๆครั้ง หรือใช้แอมโมเนียทาบริเวณที่โดนแมลงจะลดอาการแสบร้อนได้ ถ้าผื่นเป็นน้อยๆจะหายไปเองได้แต่ถ้ามีการติดเชื้อแทรกซ้อนต้องให้ยาปฎิชี วนะทาหรือรับประทานด้วย ถ้ามีแมลงมาเกาะพยายามอย่าตบ บดขยี้บนลงผิวหนังให้ปัดออกหรือกำจัดโดยวิธีอื่น
       
       แมลงชนิดนี้ชอบไฟในเวลากลางคืน ดังนั้นไม่ควรเปิดไฟแรงสูงทิ้งไว้เพราะแสงไฟจะล่อแมลงเข้ามา จากการทดลองพบว่าแมลงจะชอบเข้ามาถ้าใช้แสงไฟนีออนหรือหลอดไฟที่มีแรงเทียน สูงกว่า 40 วัตต์ ดังนั้นประตู หน้าต่างควรบุด้วยมุ้งลวดที่มีความถี่มากๆเพื่อให้แมลงเข้ามาไม่ได้ ถ้าไม่แน่ใจว่าโดนแมลงหรือไม่แต่แสบๆร้อนๆให้ ทำความสะอาดผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ทำความสะอาดบ้านมองหาตามผนังและเพดานใกล้หลอดไฟ อย่าเปิดไฟนอน และควรปิดประตูหรือหน้าต่างให้ดีก่อนที่จะเข้านอน
       
       จะเห็นว่าแมลงชนิดนี้ไม่ได้อันตราย กัดต่อยแล้วถึงกับชีวิต แต่ สามารทำให้ผิวหนังไหม้พองได้ ดังนั้น ควรป้องกันไว้ก่อนจะดีที่สุด

ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : โรคผิวหนังอักเสบ แมลงก้นกระดก

view