จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
ศ.เกียรติคุณ พญ.สุจิตรา ประสานสุข
ภ.โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
หลายคนอาจเคยเมารถ หรือเมาเรือระหว่างเดินทาง ทำอย่างไรดี
อาการเมารถ เมาเรือ เกิดจากประสาทการทรงตัวของเราทำงานได้ไม่สมดุล ซึ่งความไม่สมดุลนี้อาจเกิดจากการได้รับแรงกระตุ้นที่มากเกินไป เช่น นั่งรถที่เหวี่ยงนานเกินไป หรือนั่งเรือที่โยนไปมาตามลูกคลื่น โคลงไปโคลงมานานเกินไป จนไปกระตุ้นประสาทการทรงตัวของเรา
|
|
ถ้าประสาทการทรงตัวของเราไม่มีความไว ผิดปกติ ก็อาจไม่รู้สึกอะไร ทว่า ผู้นั้นมีประสาทการทรงตัวที่ไวเป็นพิเศษ พอนั่งรถหรือเรือไปได้สักพักจะรู้สึกเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
การป้องกัน เริ่มตั้งแต่ก่อนออกเดินทาง ควรรับประทานอาหารตามปกติ อย่ารีบร้อน รับประทานช้าๆ และควรเว้นระยะพักสักครึ่งชั่วโมงก่อนออกเดินทาง ไม่ใช่ว่าอิ่มปั๊บก็ไปทันที เรื่องนี้มีหลายคนเข้าใจผิดว่า ถ้ารับประทานอาหารเข้าไปอาจทำให้อาเจียนกลางทาง ความจริงแล้ว ยิ่งท้องว่างก็จะทำให้เมาเร็วยิ่งขึ้น
เมื่อเดินทางด้วยรถ ถ้ารู้ตัวว่าตัวเองเมา ควรมานั่งด้านหน้าแทนด้านหลัง เพื่อให้สายตาเรามองตรงไปข้างหน้า เพราะการที่เราเห็นถนนตรงหน้า เห็นต้นไม้ที่ไม่มีการเคลื่อนไหว จะทำให้เราเมาช้ากว่านั่งด้านหลังที่เห็นสิ่งต่างๆ จากด้านข้างเคลื่อนไหวผ่านหน้าเราไปอย่างเร็วๆ ผู้ที่เมาเรือก็เช่นกัน ถ้าคลื่นลมไม่แรงก็คงไม่เมา แต่ถ้าคลื่นโยนตัวแรงมาก ก็ให้นั่งอยู่กลางลำเรือ ไม่ควรนั่งเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง
นอกจากนี้ อาจช่วยแก้อาการเมาโดยรับประทานยาแก้เมา 1 เม็ด ก่อนออกเดินทางอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง เพื่อให้ตัวยาที่ถูกดูดซึมไปควบคุมให้ประสาทการทรงตัวมีความไวน้อย ซึ่งแรงกระตุ้นที่ได้รับก็อาจไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดเสียสมดุลของ ประสาทการทรงตัว เราก็อาจจะเดินทาง หรือเที่ยวให้สนุกได้ดังใจ
สำหรับผู้ที่เคยเวียนศีรษะมาก่อน บ้านหมุน มีประสาทการทรงตัวผิดปกติ ไม่ว่าเด็ก หรือผู้ใหญ่ก็ตาม ถ้าเคยตรวจมาแล้วว่าประสาทการทรงตัวที่อยู่ในหู 2 ข้างทำงานไม่สมดุล ขอเตือนว่าว่ายน้ำได้ค่ะ แต่ไม่ใช่ดำน้ำ เพราะเวลาดำน้ำ เราจะเห็นแต่น้ำอยู่รอบๆ ตัวเรา ความรู้สึกสัมผัสรอบๆ ตัวเราจะไม่มี เพราะน้ำอยู่ล้อมรอบกายเราทั้งหมด เพราะฉะนั้น เราจึงต้องใช้ประสาทการทรงตัวจริงๆ ถ้าประสาทการทรงตัวของเราเสื่อม เราจะไม่สามารถรับรู้ทิศทางได้ และอาจจมน้ำได้ เป็นเรื่องที่ควรระวัง
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต