จากประชาชาติธุรกิจ
ขณะกระแสวิจารณ์ของผู้ไม่เห็นด้วยกับนโยบายจำนำข้าวเข้ม ข้นดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ "นายกฯ ยิ่งลักษณ์" ก็ลดโทนเสียงต้าน โดยเปิดเผยว่า "นายหลี่ เค่อเฉียง" นายกรัฐมนตรีจีนจะซื้อข้าวไทย 1 ล้านตันเป็นเวลา 5 ปี แต่หลังจากไปเยือนเชียงใหม่กลับเป็นปีละ 1 ล้านตันเป็นเวลา 5 ปี
พุ่งพรวดจาก 5 ปี 1 ล้านตัน เป็น 5 ปี 5 ล้านตัน
การ เจรจาระหว่างไทยกับจีนครั้งนี้มี 2 ขยัก ขยักแรกคือ ข้อตกลงร่วมกันในการเอาสินค้าเกษตรแลกกับรถไฟความเร็วสูง ขยักที่ 2 คือ ผลการเจรจากรณีรัฐบาลจีนจะซื้อข้าวไทยปีละ 1 ล้านตันเป็นเวลา 5 ปี
หากเป็นเช่นนั้นจริงถือเป็นความสำเร็จอันงดงามยิ่งจากฝีมือเจรจาต่อรองของนายกฯ ยิ่งลักษณ์
แต่ น่าสงสัยตรงที่แม้จีนมีประชากรกว่าพันล้านคนบริโภคข้าวแต่ละปีมหาศาล แต่ชาวนาจีนก็ปลูกข้าวแต่ละปีมหาศาลเช่นกัน หากรัฐบาลนำเข้าปีละ 1 ล้านตันจริงๆ ย่อมกระทบกับชาวนาจีนอย่างมิอาจหลีกเลี่ยง แม้ไม่กล้าประท้วงหรือโวยวาย คงจะล้งเล้งกันบ้าง
ขนาดมีข้อตกลงซื้อ ข้าวจากเอกชนอยู่แล้วปีละ 2 แสนตัน กว่าจะขายของได้ก็ยากเย็นแสนเข็ญ จึงแปลกใจที่จีนจะซื้อข้าวปีละ 1 ล้านตัน น่าสนใจว่าผลเจรจาจะเพริศแพร้วศิวิไลซ์จริงหรือ หรือเราคิดเอาเองข้างเดียว
หาก พลิกประวัติศาสตร์ย้อนหลังการเจรจาทำบาร์เตอร์เทรดหรือเปลี่ยนเอาสินค้า เกษตรแลกกับสินค้าของจีนมีมาหลายครั้งแต่ไม่เคยสำเร็จ เมื่อ ส.ค.2549 ไทยกับจีนมีโครงการแลกเปลี่ยนลำไยกับหัวรถจักรดีเซล 7 คัน พร้อมอะไหล่และโบกี้ 112 โบกี้ แต่ตอนหลังจีนขอเปลี่ยนเป็นข้าวสาร แต่พอขั้นลงรายละเอียดกลับมีปัญหายุบยับจนการรถไฟแห่งประเทศไทยต้องขอยกเลิก โครงการ
โครงการข้าวไทยแลกรถไฟจีนก็เลยล้มไม่เป็นท่า
กระทั่ง โครงการซื้อข้าวไทยของรัฐบาลจีนก็ไม่ใช่ครั้งแรกคราวที่ "เหวิน เจียเป่า" อดีตนายกรัฐมนตรีจีนมาเยือนไทยก่อนอำลาเก้าอี้ได้ทำบันทึกข้อตกลงให้บริษัท จีน 10 บริษัทรับซื้อข้าวไทย 2.6 ล้านตัน จนถึงวันนี้ทุกอย่างก็หายเข้ากลีบเมฆ
ไม่ช้าไม่นาน นายกฯ ยิ่งลักษณ์ไปเยือนจีนเมื่อ ก.ย.ที่ผ่านมาก็ตีปี๊บว่ารัฐบาลจีนมีข้อเสนอซื้อ ข้าวไทย 1 ล้านตัน จนถึงวันนี้ก็ไม่มีอะไรคืบหน้า ที่หยิบเรื่องนี้ขึ้นมาอยากให้เป็นบทเรียนว่าปัญหาอยู่ตรงไหน ไม่ใช่แค่หยิบมาเป็นข่าวกลบ "ม็อบ" หรือคิดแค่คนไทยขี้ลืม
สุดท้ายทุกอย่างหายไปกับสายลม
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต