ขยะอิเล็กทรอนิกส์ไทย นับวันอันตราย
จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
• แฉปัญหานี้แก้ไม่ตก เพราะไร้กฎหมายกำหนดความรับผิดชอบ “ผู้ผลิต ร้านค้า และผู้บริโภค” • เส้นทาง e-waste ก่อผลร้ายต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน พบมีอัตราการเพิ่มสูงขึ้น • “ความร่วมมือโดยสมัครใจ” ยังเป็นทางออกเดียวที่เยียวยา “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” หรือ e-waste มีอัตราการเพิ่มสูงขึ้นเป็น 3 เท่าของขยะมูลฝอยในชุมชนในปัจจุบัน โดยเฉพาะในช่วงสองทศวรรษนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจกลายเป็นตัวเร่งพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ด้านไอทีต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงรุ่นและตกรุ่นอยู่ตลอดเวลา จนทำให้มีผลิตภัณฑ์ที่เลิกใช้และถูกทิ้งเป็นขยะสะสมเป็นปริมาณมากตามความ ต้องการของตลาด |
|||||
เส้นทางออกกฎหมายที่จบไม่ลง ประเทศไทยจะต้องดำเนินการให้มีกฎหมายจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยด่วน เพื่อจัดให้มีระบบการรวบรวม ขนส่งและรีไซเคิลอย่างถูกต้อง นั่นเป็นทางออกเดียวซึ่งดูเหมือนไม่ยาก แต่ก็ผ่านมาแล้วผ่านไปหลายรัฐบาลก็ยังออกกฎหมายไม่ได้ ทั้งที่ได้เห็นแบบอย่างที่ประสบสำเร็จมาแล้วในต่างประเทศ ที่ได้กำหนดความรับผิดชอบของผู้ผลิต ร้านค้าปลีก ท้องถิ่นและผู้บริโภค ดร. สุจิตรา วาสนาดำรงดี ผู้จัดการโครงการจุฬาฯ รักษ์โลก เล่าสถานการณ์และอุปสรรคในการออกกฎหมาย ว่าที่ผ่านมา กรมควบคุมมลพิษและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาดัง กล่าวโดยได้จัดทำยุทธศาสตร์การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์เชิงบูรณาการเพื่อกำหนดกรอบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาและได้ มีการยกร่างกฎหมายเพื่อสร้างระบบบริหารจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 |
|||||
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของการผลักดันร่างมาตรการการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม มีทีท่าว่าจะหยุดชะงัก แม้ร่างกฎหมายนี้ได้ผ่านความเห็นชอบในหลักการจากมติคณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อปี 2553 แต่กลับต้องเผชิญกับปัญหาความเห็นที่ไม่ตรงกันระหว่างกระทรวงการคลังและ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเรื่องของกองทุนที่จะจัดตั้งขึ้น ประกอบกับข้อวิพากษ์เรื่องแนวทางการเขียนกฎหมายแบบกว้างๆ ที่ให้รายละเอียดไปอยู่ที่พระราชกฤษฎีกา ตลอดจนข้อกังวลว่าร่างกฎหมายนี้จะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจให้มีต้นทุนที่ เพิ่มขึ้น ทำให้ปัจจุบัน กระทรวงการคลังอยู่ในระหว่างการทบทวนแก้ไขร่างพ.ร.บ. ฉบับนี้อีกครั้งและยังไม่มีวี่แววว่าจะมีการเดินหน้านำเสนอร่างกฎหมายนี้ต่อ รัฐบาลและสภาอีกเมื่อใด? จากสถานการณ์ความชะงักงันของร่างกฎหมายแม่ดังกล่าว ทำให้ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ที่กรมควบคุมมลพิษได้ยกร่างรอไว้แต่ไม่สามารถมีผลบังคับใช้ได้ ปัจจุบัน เป็นที่แน่ชัดว่า กระทรวงการคลังจะไม่รวมร่างอนุบัญญัติเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์ในร่าง พ.ร.บ.มาตรการการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ กรมควบคุมมลพิษ จึงต้องกลับมานับหนึ่งใหม่ ในการยกร่างกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ ภายใต้ชื่อ “ร่างกฎหมายการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และของเสียอันตรายจากชุมชน” โดยจะศึกษาทางเลือกของกฎหมาย 2 ทางเลือก ทางเลือกแรก ยึดตามแนวทางเดิม คือ การจัดเก็บค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์เข้ากองทุน ทางเลือกที่สอง ออกกฎหมายที่ใช้หลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility: EPR) กำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำรับผิดชอบผลิตภัณฑ์ของตนเองเมื่อกลายเป็นซาก ผลิตภัณฑ์ฯ โดยการจัดระบบการเรียกคืนซากผลิตภัณฑ์ฯ การขนส่งและการบำบัดกำจัดเอง |
|||||
ดังนั้น หากประชาชนไม่ทราบข้อมูลถึงความจำเป็นที่ประเทศต้องมีการพัฒนาระบบการจัดการ ซากผลิตภัณฑ์ฯ อย่างถูกต้อง ประชาชนก็ย่อมไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการออกกฎหมายและอาจไม่สนใจที่จะเป็น แนวร่วมผลักดันให้เกิดกฎหมายนี้ อีกทั้งเป็นที่น่ากังวลว่า แม้จะสามารถผลักดันให้มีการออกกฎหมายได้จริง แต่หากประชาชนไม่เข้าใจในหลักการและเหตุผลของกฎหมายก็อาจนำ ไปสู่ปัญหาการไม่ให้ความร่วมมือในการส่งคืนซากผลิตภัณฑ์ฯ ให้กับระบบที่จัดตั้งขึ้น (ไม่ว่าจะเป็นการส่งให้ฟรีหรือขายให้ก็ตาม) และทำให้ภาครัฐไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ |
|||||
ส่วนใหญ่ ขายต่อให้ซาเล้ง หรือรถเร่ (รถปิคอัพ) หรือไม่ก็บริจาคให้วัด มูลนิธิต่างๆ (ซึ่งเมื่อได้รับบริจาคมามากๆ บางแห่งก็ขายต่อให้กลุ่มพ่อค้า) ของที่ซ่อมได้ จะซ่อมแล้วขายต่อ (หรือใช้ต่อ) เป็นสินค้ามือสอง ของที่ซ่อมไม่ได้ จะขายต่อหรือถอดแยกชิ้นส่วนเพื่อนำไปรีไซเคิล แต่มักทำอย่างไม่ถูกต้อง จึงสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เช่น สายไฟที่ปอกด้วยมือไม่ได้ จะใช้วิธีการเผา รวมทั้งเผาพลาสติกเพื่อเอาชิ้นส่วนโลหะ เช่น น็อต ก่อให้เกิดสารพิษกระจายปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม ชิ้นส่วนที่ขายไม่ได้ ถูกทิ้งปะปนไปกับขยะทั่วไป ทำให้เกิดสารพิษและโลหะหนัก (เช่น ตะกั่ว) แพร่กระจายสู่แหล่งดินและน้ำ |
e-waste : ข้อเท็จจริงที่ต้องมีกฎหมายรองรับ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
หากว่า ประชาชนไม่ทราบถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาระบบการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ อย่างถูกต้องโดยมีกฏหมายรองรับ ประชาชนก็ย่อมไม่ตระหนัก และอาจจะไม่สนใจปฏิบัติอย่างถูกต้อง แม้ว่าจะมีการรณรงค์ให้รับรู้ถึงอันตรายที่เกิดจาก “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” | ||||
อีกทั้งหากต้องมาแย่งซื้อซากผลิตภัณฑ์ฯ กับธุรกิจค้าของเก่าก็อาจจะไม่สามารถแข่งขันได้ เพราะธุรกิจค้าของเก่าส่วนใหญ่จะจัดการซากฯ อย่างไม่เหมาะสมและไม่รับผิดชอบต่อสารอันตราย จึงมีต้นทุนการดำเนินการที่ต่ำกว่าโรงงานรีไซเคิล ดังนั้น หากไม่มีการจัดระบบการเก็บรวบรวมเพื่อการจัดการอย่างถูกต้อง ก็จะทำให้ผู้ประกอบการรีไซเคิลประสบปัญหาการขาดแคลนซากผลิตภัณฑ์ฯ ที่จะป้อนเข้าสู่โรงงาน นอกจากนี้ หากปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด ซากผลิตภัณฑ์ฯ ที่ไม่มีมูลค่าในการรีไซเคิลหรือมีต้นทุนการกำจัดสารอันตรายสูง ได้แก่ โทรทัศน์ ตู้เย็น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย ก็จะไม่มีนักลงทุนรายใดสนใจที่จะรับซากผลิตภัณฑ์ฯ เหล่านี้ไปรีไซเคิลหรือบำบัดอย่างถูกต้อง 2. ประเทศอื่นๆ ที่ต้องการพัฒนาระบบการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ ล้วนแต่ออกกฎหมายมาบังคับใช้ หากมองการดำเนินงานของประเทศต่างๆ เราจะพบว่า การออกกฎหมายว่าด้วยการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ มิใช่เรื่องใหม่ ปัจจุบัน มีประเทศกว่า 34 ประเทศ 23 มลรัฐในสหรัฐอเมริกาและ 6 รัฐในแคนาดาได้มีการออกกฎหมายดังกล่าวแล้ว โดยประเทศในแถบยุโรป ได้แก่ สวีเดนถือเป็นประเทศที่บุกเบิกแนวคิด “หลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต” (Extended Producer Responsibility: EPR) (เสนอโดย Thomas Lindhqvist, 2000) ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1990 ซึ่งต่อมา สหภาพยุโรปได้นำแนวคิดดังกล่าวมาเป็นพื้นฐานในการออกระเบียบว่าด้วยการ จัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (WEEE Directive) ในปีพ.ศ. 2546 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ส่งอิทธิพลไปยังประเทศอื่นๆ ให้มีการออกกฎหมายในลักษณะเดียวกัน ในเอเชีย มีประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวันที่ดำเนินการในเรื่องนี้มานานแล้วตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 ส่วนจีนก็เพิ่งออกกฎหมาย (Regulations for the Administration of the Recovery and Disposal of Waste Electric and Electronic Products (2009)) ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อต้นปี 2554 เช่นเดียวกับที่ประเทศอินเดียได้มีการออกกฎหมาย The e-waste (Management and Handling) Rules (2011) ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังมีประเทศที่กำลังอยู่ในระหว่างการออกกฎหมาย เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย แม้กระทั่ง ลาว หากประเทศไทยยังคงเพิกเฉยกับการออกกฎหมาย ประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม อินโดนีเซียและลาวก็อาจจะแซงหน้าเราไปก็ได้ 3. การออกกฎหมายจะเป็นการจัดสรรความรับผิดชอบและแบ่งเบาภาระของท้องถิ่นในการจัดการขยะ เนื่องจากซากผลิตภัณฑ์ฯ ถือเป็นขยะจากครัวเรือนประเภทหนึ่ง ที่ผ่านมา ท้องถิ่นจึงมีบทบาทในการเก็บรวบรวมและการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ เหล่านี้ (โดยเฉพาะซากผลิตภัณฑ์ฯ ที่ไม่มีมูลค่ารีไซเคิล) ยิ่งซากผลิตภัณฑ์ฯ เพิ่มปริมาณสูงขึ้นก็จะยิ่งสร้างภาระให้กับท้องถิ่นในการจัดหาอุปกรณ์ การเก็บขนและการนำซากผลิตภัณฑ์ฯ ไปบำบัดหรือกำจัดและเนื่องจากงบประมาณของท้องถิ่นมาจากภาษีของประชาชน ภาระในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ ที่ผ่านมาจึงตกอยู่กับท้องถิ่นและผู้เสียภาษีโดยรวม การออกกฎหมายการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ ที่มีพื้นฐานของหลักการ EPR จะช่วยกระจายความรับผิดชอบไปยังภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ผลิต ท้องถิ่น ร้านค้าปลีกและผู้บริโภค โดยให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการเก็บรวบรวมและการจัดการ ซากผลิตภัณฑ์ฯ ส่วนท้องถิ่นและร้านค้าปลีกจะมีส่วนร่วมในการรวบรวมและเก็บขนซากผลิตภัณฑ์ฯ ในขณะที่ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการนำซากผลิตภัณฑ์ฯ มาส่งคืนยังจุดที่กำหนดและร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายร่วมกับผู้ผลิต ดังนั้น กฎหมายการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ จะช่วยจัดสรรและกระจายความรับผิดชอบต่อการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมมากขึ้น |
||||
การออกกฎหมายการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ เป็นการเปิดช่องทางใหม่ที่จะช่วยให้ภาครัฐมีงบประมาณเพิ่มเติมมาใช้ในการ บริหารจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ โดยการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตและผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่อง ใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่กองทุนของรัฐหรือทางเลือกที่ให้ผู้ผลิตและ ผู้นำเข้ามารับผิดชอบทางการเงินโดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับ ผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การจ่ายค่ารวบรวม ค่าเก็บขน ค่าบำบัดและค่ากำจัดซากผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ อาจกำหนดให้รับผิดชอบทั้งหมดหรือบางส่วนร่วมกับท้องถิ่น 5. ในแง่สิ่งแวดล้อม กฎหมายจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ในกรณีที่กฎหมายการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ ที่มีพื้นฐานจากหลักการ EPR กำหนดให้ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบทั้งทางการเงินและทางกายภาพในการเก็บรวบรวมและ จัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ ก็จะช่วยสร้างแรงจูงใจให้ผู้ผลิตมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวด ล้อมตลอดทั้งวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เช่น การลดการใช้วัสดุ การเพิ่มสัดส่วนวัสดุรีไซเคิล การเพิ่มการใช้ซ้ำ การออกแบบเพื่อให้ง่ายต่อการถอดรื้อ เพื่อลดต้นทุนที่เกิดขึ้นจากกระบวนการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ เห็นได้จากตัวอย่างของประเทศญี่ปุ่นที่ผู้ผลิตได้รวมตัวกันพัฒนาระบบเก็บรวบ รวมและจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ โดยร่วมลงทุนตั้งโรงงานรีไซเคิลขึ้น ทำให้ผู้ผลิตทราบถึงปัญหาอุปสรรคในการถอดแยกและรีไซเคิลและนำไปสู่การพัฒนา ผลิตภัณฑ์ที่ถอดแยกและรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น กฎหมายดีๆ e-waste ที่ยังค้างคา ร่างกฎหมายมีการริเริ่มและยกร่างกันมาร่วม 10 ปี (ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547) มีสองฉบับ แต่ไม่มีความคืบหน้า ติดปัญหาผู้บริหารของหน่วยงานและนักการเมืองไม่เห็นถึงความสำคัญ ปัจจุบัน มีเพียง “ยุทธศาสตร์การจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ เชิงบูรณาการ” ระยะแรก (พ.ศ. 2550 - 2554) กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) อยู่ระหว่างเสนอร่างยุทธศาสตร์ฯ ระยะที่สอง (พ.ศ. 2555 - 2559) แต่ยุทธศาสตร์ฯ มิใช่ กฎหมาย บังคับให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพัฒนาระบบ จึงทำตามกติกาไม่ได้ ปัจจุบัน เป็นเพียงการดำเนินการโดยสมัครใจโดยผู้ผลิตบางราย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่ง |
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต