จากประชาชาติธุรกิจ
โดย พัฒนพันธุ์ วงษ์พันธุ์
ข้อมูลใหม่ที่เพิ่งได้ยินมาและน่าตกใจไม่น้อยก็คือ ประเทศไทยกำลังตกอยู่ท่ามกลาง "วัตถุมีพิษ" มากกว่าที่คิด ๆ กันหลายเท่านัก
ที่ ผ่านมาเรารับรู้กันว่า บรรดาเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ หลังหมดอายุการใช้งาน ถูกปล่อยทิ้งกลายเป็นขยะ เป็นอันตรายต่อชีวิต และสร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อม
เนื่องจากส่วนประกอบภายในตัวเครื่อง สามารถแปรเปลี่ยนเป็นวัตถุมีพิษ หากไม่จัดการให้ถูกต้อง
ความน่าตกใจเรื่องนี้มีที่มาจากซากอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกและอิเล็กทรอนิกส์ กำลังเพิ่มขึ้นมหาศาล
สืบเนื่องจากชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนกำลังเปลี่ยนไป
ทุก บ้านต้องการสิ่งอำนวยความสะดวก อยากได้ทีวีเครื่องใหม่ อยากได้ตู้เย็นใหญ่ขึ้น อยากได้พีซีที่ประมวลผลได้เร็วกว่าเดิม เมื่อของใหม่มาก็ต้องโยนของเก่าทิ้ง
ผลศึกษาของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประเมินว่า เมื่อปี 2555 มีเครื่องรับโทรทัศน์ถูกทิ้งเป็นขยะ เพราะใช้งานต่อไม่ได้ หรือเพราะต้องการเปลี่ยนเครื่องใหม่มากถึง 2.37 ล้านเครื่อง ตัวเลขนี้กำลังจะเพิ่มเป็น 2.79 ล้านเครื่องในปี 2559
ปัญหานี้ กำลังเกิดขึ้นกับข้าวของเครื่องใช้อื่น ๆ ด้วยเช่นกัน อาทิ เครื่องปรับอากาศ จาก 6.96 แสนเครื่อง เป็น 7.96 แสนเครื่อง คอมพิวเตอร์พีซี จาก 1.78 ล้านเครื่อง เป็น 2.63 ล้านเครื่อง เครื่องพิมพ์-โทรสาร จาก 1.49 ล้านเครื่อง เป็น 1.54 ล้านเครื่อง
ที่กำลังมาแรงแซงทุกผลิตภัณฑ์สินค้า คือ โทรศัพท์มือถือ และโทรศัพท์บ้าน จาก 8.52 ล้านเครื่อง เป็น 10.90 ล้านเครื่อง
นี่ยังไม่รวมตู้เย็น เครื่องซักผ้า และอื่น ๆ อีกมากมาย
ไม่ น่าเชื่อนะครับ ในขณะที่ขยะอิเล็กทรอนิกส์กำลังกองเป็นพะเนิน บ้านเรากลับไม่มีมาตรการใด ๆ ที่ชัดเจน รวมทั้งไม่มีกฎหมายใด ๆ มาควบคุมการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ที่หมดสภาพเหล่านี้โดยตรง
มีข่าวดีอยู่บ้างก็คือ กรมควบคุมมลพิษยืนยันว่าปัญหาดังกล่าวยังไม่เหลือบ่ากว่าแรงถึงขนาดควบคุมไม่ได้
ส่วน หนึ่งเป็นเพราะผลิตภัณฑ์จำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะเครื่องพีซีและมือถือถูกแปรสภาพไปเป็นสินค้ามือสอง แต่ถ้าจะให้ถึงขั้นมีธุรกิจรีไซเคิลมารองรับ คัดแยกอุปกรณ์
ซึ่งถือเป็นวิธีที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุดเหมือนในยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา ซึ่งคงต้องรอกันต่อไป
และไม่รู้อีกเมื่อไรถึงจะเกิดขึ้น
เท่ากับว่าด้านหนึ่งในขณะที่เราสุขสบายขึ้น อีกด้านหนึ่งเรากลับซุกซ่อนขยะพิษเอาไว้ใต้พรม ราวกับไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น
คล้าย กับปัญหาการใช้สารเคมีนานาชนิดในสินค้าเกษตร ซึ่ง "ประชาชาติธุรกิจ" นำเสนอข่าวสารเชิงให้ความรู้ไปก่อนหน้านี้ไม่นาน ลำพังสารเมทิลโบรไมด์ที่ใช้กัน
ในข้าวถุง เพื่อกำจัดมด มอด ถือเป็นเรื่องน้อยนิดไปทันทีเมื่อเทียบกับสารเคมีสารพัดชนิดที่เราใช้ใน สินค้าเกษตร ซึ่งรายงานระบุว่า แต่ละปีประเทศไทยใช้สารเคมีทาง
การเกษตรไม่ต่ำกว่า 100,000 ตัน
ประมาณ กันว่าสารเคมีเหล่านี้มากกว่า 90% ถูกใช้ในนาข้าว นับตั้งแต่ขั้นตอนการหว่านไถ ปักดำ กระทั่งข้าวออกรวง เก็บเกี่ยว กลายเป็นสารตกค้างอยู่ในพื้นดิน แหล่งน้ำ และพืชผลทางการเกษตร
ความ จริงที่น่าเจ็บปวด สารเคมีทางการเกษตรบางประเภทที่แพร่หลายในประเทศไทย ถูกห้ามใช้ในสหภาพยุโรป-สหรัฐ แต่ปรากฏในบ้านเราภายใต้ชื่อการค้าอื่น ๆ
ขึ้นต้นด้วยขยะอิเล็กทรอกนิกส์ ลงท้ายด้วยสารพัด
สารเคมีในนาข้าว ซึ่งจะว่าไปแล้วก็ครือ ๆ กัน เพราะล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อโลก ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเราทั้งสิ้น
ท่ามกลางความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจการค้า
บ้านเรายังมีเรื่องประหลาด ๆ ทำนองนี้อีกมาก ไม่เพียงเฉพาะขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือสารเคมีที่ใช้ในนาข้าว
หากภาครัฐยังรี ๆ รอ ๆ อยู่แบบนี้
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,อะไหล่ victorinox,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,servival Kit