สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

วิกฤติ ปตท. แก้ปัญหาคราบน้ำมัน

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เฉลา กาญจนา



เมื่อเวลาประมาณ 06.50 น. ของเช้าวันเสาร์ที่ผ่านมา ขณะที่เรือบรรทุกน้ำมันกำลังขนถ่ายน้ำมันดิบ ผ่านทุ่นรับน้ำมันดิบ
ads not by this site     

มายังโรงกลั่นน้ำมันของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมืองระยอง ได้เกิดอุบัติเหตุท่อรับน้ำมันดิบขนาด 16 นิ้ว รั่วบริเวณทุ่นรับน้ำมันดิบ (Single Point Mooring) STP ของ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ "พีทีทีจีซี" ซึ่งอยู่ห่างจากฝั่งท่าเรือนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร
ผลที่ตามมาทำให้น้ำมันดิบไหลออกสู่ทะเลประมาณ 50-70 ตัน คราบน้ำมันได้กระจายบนผิวน้ำเป็นบริเวณกว้าง

ตามแถลงการณ์ของบริษัท ระบุว่า หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้บริหารทุ่นรับน้ำมันดิบ ทำการปิดวาล์วหยุดการส่งน้ำมันและควบคุมสถานการณ์ทันที เพื่อไม่ให้มีน้ำมันรั่วไหลเพิ่ม พร้อมนำทุ่นกักน้ำมัน (Boom) กักคราบน้ำมันไว้ และใช้เครื่องมือเก็บคราบน้ำมัน Oil Skimmer เก็บคราบน้ำมันขึ้นไปเก็บในภาชนะบนเรือ พร้อมกับแจ้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทันที คือ กองทัพเรือภาคที่ 1 กรมเจ้าท่า การนิคมอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย กรมควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อเข้าร่วมปฏิบัติการขจัดคราบน้ำมัน

ท่ามกลางสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ต้องเรียกว่า"อลหม่าน" กันพอสมควร ระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่วันนั้น วุ่นวายกันไม่น้อย โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ ที่ต้องเข้ามาจัดการกับเรื่องนี้ เท่าที่ทำได้เวลานั้น ก็คงเป็นการ "วางบูมล้อมบริเวณคราบน้ำมันและฉีดน้ำยา"

การจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น เห็นจะเป็นงานหนักของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติเสียมากกว่า ส่วนผู้บริหารบางคนในบริษัท ก็กุลีกุจอเข้าไปในพื้นที่ ขณะที่สื่อมวลชนเองก็วุ่นวายไม่น้อยกับการเสาะแสวงหาข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้น และตรวจสอบวิธีการจัดการคราบน้ำมันในทะเลว่า ผู้รับผิดชอบทำอย่างไร เพื่อไม่ให้น้ำมันกระจาย ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ กระทบต่อการท่องเที่ยว ชนิดที่ว่าใครอยากได้ข่าวนี้ก็ต้องขวนขวายหาข้อมูลกันเอง

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าน้ำมันจะกี่ร้อย..กี่พัน..กี่หมื่นลิตร..แต่เมื่อเกิดการรั่วไหลลงทะเลแล้ว ความเสียหายย่อมเกิดขึ้นแน่ แต่ที่ประหลาดใจอย่างยิ่ง วันนั้นการสื่อสารต่อสาธารณะ โดยเฉพาะ ปตท.ในฐานะบริษัทแม่ ดูเหมือนไม่ค่อยจะ "แอคทีฟ" ต่อสถานการณ์เท่าที่ควร แต่กลับปล่อยให้จังหวัด หน่วยงานรัฐในพื้นที่ กลายเป็นเจ้าภาพหลักในการแก้ปัญหามากกว่า

การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เรียกว่า ปตท. "ไม่ได้ใจ" ผู้คนที่เฝ้าติดตามสถานการณ์ทั้งประเทศ ซ้ำร้าย ยังปล่อยให้ข่าวไหลไปตามกระแสของผู้คนที่ออกมาให้สัมภาษณ์วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก

แม้กระทั่งวันนี้ก็ตาม การสร้างความกระจ่างของทีมผู้บริหาร ปตท. ก็ยัง "แอคชั่น" ไม่พอ แต่ปล่อยให้สถานการณ์การเมืองนำหน้าการแก้ปัญหาเรื่องนี้มากกว่า ไม่รู้ว่าบรรดาผู้บริหารเครือ ปตท.หายไปไหนกัน

เรื่องราวที่ใหญ่โตขนาดนี้เครือ ปตท.สมควรอย่างยิ่ง ที่จะต้อง "ตั้งทีม" ขึ้นมาบริหารจัดการสิ่งที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสารที่ตรงไปตรงมา เพราะกระแสโลกออนไลน์ในปัจจุบัน ข่าวสารที่สื่อกันระหว่างประชาชนได้กระจายไปอย่างรวดเร็ว มิหนำซ้ำยังควบคุมไม่ได้ จึงไม่แน่ใจว่าข้อมูลที่สะท้อนออกไปกันเอง ถูกต้องมากน้อยแค่ไหน
ผู้บริหารทั้งเครือ ปตท.น่าจะเป็นมืออาชีพที่ออกมาจัดการเรื่องนี้มากกว่า ดีกว่าปล่อยให้เป็นหน้าที่ใครหน้าที่มันอย่างที่เห็นๆ แต่หากยัง "ใส่เกียร์ว่าง" แบบไม่ใช่ธุระอย่างนี้ คงไม่น่าแปลกใจ หากเรื่องนี้ จะทำให้กลุ่มปตท.ตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์ของสังคม

ทั้งที่ ที่ผ่านมา ในพื้นที่ระยอง ปตท.ได้ทำกิจกรรมช่วยชาวบ้านในพื้นที่ตามโครงการ "ซีเอสอาร์" คาดว่าน่าจะใช้เม็ดเงินตรงนี้หลักพันล้านบาท แต่ดูเหมือนสิ่งที่ใส่ลงไป จะไม่ได้ใจจากชาวบ้านและกระแสสังคม เมื่อมีเหตุการณ์ที่ ปตท.และบริษัทลูกๆ เกิดข้อผิดพลาดขึ้นมา แทนที่จะได้รับความ "เห็นใจ" แต่อาจได้แรงกระหน่ำซ้ำเติมแทน

เวลานี้ มูลค่าของความเสียหายหลายๆ ด้านที่จะตามมา นอกจาก ปตท.จะต้องแสดงความรับผิดชอบแบบไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ แล้ว ก็ยังเสี่ยงจะกลายเป็นประเด็น "วิกฤติศรัทธา" ต่อ ปตท.


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,อะไหล่ victorinox,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,servival Kit

Tags : วิกฤติ ปตท. แก้ปัญหาคราบน้ำมัน

view