จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com) | ||||
ทำให้เวียงสาได้รับฉายาว่าประตูสู่น่าน ดังมีคำขวัญประจำอำเภอว่า “ประตูสู่น่าน ตำนานชนตองเหลือง เมืองเจ็ดสายน้ำ งามล้ำวัดบุญยืน เริงรื่นแข่งเรือออกพรรษา บูชาพระธาตุจอมแจ้ง” คำขวัญนี้แต่งโดยคุณครู“สุรนันท์ ลิ้มมณี” แห่งโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์น่าน ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศประกวดคำขวัญอำเภอเวียงสาในปี 2548 |
||||
ย้อนอดีตเมื่อ 4 ปีก่อน... ผมไปแอ่วเวียงสาประตูสู่น่านเป็นครั้งแรก แล้วประทับใจในความเรียบง่ายแต่แฝงเสน่ห์ของอำเภอเล็กๆแห่งนี้ ที่ถือว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การขี่จักรยานเที่ยวแบบเรื่อยๆ ชิลล์ๆ ปั่นชมบ้านชมเมือง ชมวิถีชีวิต ทั้งในเวียง ท้องทุ่ง สวน และบรรยากาศริมน้ำ สำหรับใครที่หลงใหลในจักรยานเมื่อมาที่นี่ไม่ควรพลาด “เฮือนรถถีบ” ของ “ลุงสุพจน์ เต็งไตรรัตน์” ที่ตั้งอยู่ภายในปั๊มกลางเวียง |
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
นี่ถือเป็นลักษณะเฉพาะตัวของกรมศิลป์ที่เวลาบูรณะอะไรมักมีปัญหากับชุมชนท้องถิ่นอยู่บ่อยครั้ง |
||||
เรื่องโปรโมทการท่องเที่ยวที่เป็นที่สุดในโลก หนึ่งเดียวในโลก บ้านเราถนัดนัก สำหรับที่ วัดบุญยืน อ.เวียงสาก็มีประเพณีทางจังหวัดและททท. เคยชูว่ามีหนึ่งเดียวในโลก ก่อนจะลดสเกลลงมาเป็นหนึ่งเดียวในเมืองไทย คือ “ประเพณีใส่บาตรเทียน” ที่มีกำหนดจัดขึ้นในวันแรม 2 ค่ำ เดือน 8 (หรือเดือน 10 เหนือ) หรือที่คิดง่ายๆว่าหลังวันเข้าพรรษา 1 วัน ประเพณีนี้จะมีหนึ่งเดียวในโลกตามคำโฆษณาประชาสัมพันธ์หรือเปล่าผม ไม่อาจทราบได้ แต่ที่ทราบคือ ประเพณีใส่บาตรเทียนเป็นหนึ่งในประเพณีน่าสนใจของช่วงเทศกาลเข้าพรรษาที่โดด เด่นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว |
||||
ประเพณีใส่บาตรเทียนหรือตักบาตรเทียน(แล้วแต่จะเรียก ปีที่แล้วใช้ชื่อตักบาตรเทียนมาปีนี้ใช้ชื่อใส่บาตรเทียน เล่นเอาผมงง!!!เหมือนกัน) ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเริ่มขึ้นในราวปี พ.ศ. 2344 หลังเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 55 ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สร้าง“วัดบุญยืน”ได้ 1 ปี (วัดบุญยืนสร้างเมื่อ พ.ศ. 2343) |
||||
สำหรับกิจกรรมในประเพณีใส่บาตรเทียน(ปีนี้ตรงกับวันที่ 24 ก.ค. 56)แบ่งเป็น 2 ช่วง ภาคเช้า เริ่มประมาณ 09.00 น. พระภิกษุสามเณรในอำเภอเวียงสา และคณะศรัทธาสาธุชน จะเตรียมเทียน ดอกไม้ น้ำส้มป่อยหรือน้ำอบน้ำหอม และเตรียมสำรับกับข้าวใส่ปิ่นโตไปด้วย เพื่อเตรียมถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสามเณรที่มาร่วมพิธี |
||||
|
||||
มูลค่า-คุณค่า มาวันนี้แม้โลกจะเปลี่ยนไป วัดต่างๆหันมาใช้ไฟฟ้ากันนานแล้ว แต่บ้านเราตามท้องถิ่นต่างๆก็ยังอนุรักษ์ประเพณีแห่เทียนในช่วงเข้าพรรษาไว้ เช่นเดียวกับที่เวียงสาก็ยังคงอนุรักษ์ประเพณีนี้ไว้ |
||||
แต่มันก็มีอีกด้านหนึ่งที่ผมอดเป็นห่วงไม่ได้(และขอพูดซ้ำเหมือนปี ที่แล้ว) นั่นก็คือ ภาครัฐต้องไม่เข้าไปปรุงแต่ง สร้างภาพ โหมโปรโมท มุ่งแปลงประเพณีใส่บาตรเทียนให้เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวอย่างเกินงาม หากแต่ควรมุ่งเน้นไปที่การอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม และความศรัทธาที่ชาวชุมชนทำเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ปล่อยให้ประเพณีดำเนินไปตามวิถีแห่งศรัทธาของชาวบ้าน |
||||
นั่นถึงแม้ว่าเราจะได้สิ่งที่เป็นมูลค่าคือจำนวนนักท่อง เที่ยว เม็ดเงิน รายได้ มาเป็นจำนวนมาก แต่มันเทียบไม่ได้กับคุณค่าและสิ่งดีๆงามๆอันเป็นเอกลักษณ์ที่ต้องสูญเสียไป *********************************************************** งานใส่บาตรเทียน วัดบุญยืน ต.กลางเวียง อ.เวียงสา ปีนี้ จัดขึ้นในวันพุธที่ 24 กรกฎาคม 2556 ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ททท.สำนักงานแพร่(รับผิดชอบพื้นที่ แพร่ น่าน อุตรดิตถ์) โทร. 0-5452-1127 ส่วนเฮือนรถถีบ เปิดทุกวันเวลา 14.00-16.30 น. วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เปิด เวลา 9.00-11.00 น. และ 14.00-16.30 น. |
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต