จาก โพสต์ทูเดย์
โดย...ทีมข่าวการเมือง
เป็นที่ทราบโดยทั่วกันแล้ว รัฐบาลประกาศลดราคาจำนำข้าวจากตันละ 1.5 หมื่นบาทเหลือ 1.2 หมื่นบาท เพราะไม่อาจแบกรับภาระขาดทุนที่ไต่ระดับถึงแสนล้านบาท แม้คนในรัฐบาลพยายามสรรหาถ้อยคำกลบคำว่า "ขาดทุน" ไม่ว่าจะอ้าง เป็นการขาดทุนกำไรบ้าง หรือรัฐแค่สูญเสียงบส่วนหนึ่งแต่ชาวนาได้รับประโยชน์ทั่วประเทศบ้าง
อย่างไรก็ตาม ถ้าพลิกดูเอกสารของคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.) นำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)จะพบความจริงหลายประการ ซึ่งตรงข้ามคำแถลงอันสวยหรูจากฝ่ายการเมือง
ไม่ว่าจะเป็นการรายงานให้เห็นถึงความคลาดเคลื่อนตัวเลขการขาดทุนมาจาก อะไรกันแน่ ไม่ว่าจะเป็นการยอมรับนโยบายรับจำนำข้าวตันละ 1.5 หมื่นบาทไม่อาจไปต่อได้อีกแล้ว หรือ การฉายภาพผลกระทบจากการตัดสินใจลดราคาลงมาเหลือ ตันละ 1.2 หมื่นบาทต่อตัน หรือแม้กระทั่งการวางกรอบเพดานการขาดทุนจากนี้ไปต้องไม่เกิน 7 หมื่นล้านบาทต่อปีหาใช่ไม่เกิน 1 แสนล้านบาทตามที่บุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ได้ออกมาแถลงแต่อย่างใด
***************
ต่อไปนี้คือ รายงานผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ครั้งที่ 4 / 2556 อันเป็นเอกสารหน่วยงานรัฐที่เสนอรัฐบาล จึงไม่จำเป็นต้องอ้าง ฝ่ายค้าน หรือ คนโน้นคนนี้ สร้างเรื่องเสริมแต่ง บิดเบือนโจมตีแต่อย่างใด
“ทุกอย่าง ฟ้องอยู่ในตัวของมันเอง”
***************
พบพิรุธ อคส. อตก. สอบข้าวหาย
เอกสาร กขช.รายงานไว้ดังนี้
1.การปิดบัญชีโครงการรับจำนำ
1.1 เห็นชอบวิธีการคำนวณและผลการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 และโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 ตามเอกสารปิดบัญชีโครงการรับจำนำทั้งสองโครงการของคณะอนุกรรมการปิดบัญชี โครงการรับจำนำข้าวเปลือกตามนโยบายของรัฐบาล ณ วันที่ 31 ม.ค.2556 โดยมีข้อสังเกต คือ
1) การคำนวณสต็อกข้าวคงเหลือ จะใช้ราคาต้นทุนหรือราคาตามประกาศกรมการค้าภายใน (ซึ่งคือราคาตลาด) หรือ ราคาจำหน่าย ขึ้นอยู่กับราคาใดจะต่ำที่สุด 2 ) รายได้จากการจำหน่ายข้าวสารของทั้งสองโครงการ มีปริมาณข้าวที่เป็นข้าวบริจาคและข้าวสารจำหน่ายราคาถูกตามนโยบายลดค่าครอง ชีพของประชาชน รวมปริมาณ 608,672 ตัน มูลค่าที่อนุมัติจำหน่ายจำนวน 4,426.97 ล้านบาท มูลค่าตามต้นทุน จำนวน 15,531.109 ล้านบาท แตกต่างกันจำนวน 11,104.139 ล้านบาท จึงไม่ควรนำมาพิจารณาเป็นภาระของโครงการ เนื่องจากเป็นนโยบายรัฐบาล จึงควรที่รัฐจะต้องชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาจำหน่ายกับราคาต้นทุนให้แก่ โครงการรับจำนำ
1.2 สำหรับการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/ 56 ที่ประชุมเห็นว่าข้อมูลยังมีความคลาดเคลื่อน และยังมีความเห็นแตกต่างกัน โดย อคส.และอตก. ได้มีหนังสือลงวันที่ 14 มิ.ย. 56 แจ้งปริมาณข้าวคงเหลือของทั้ง 3 โครงการ แก่คณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ อีกครั้งหนึ่งแต่คณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ มีความเห็นไม่รับข้อมูลดังกล่าว เนื่องจากมีการปรับแก้ไขข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญของทั้งสองโครงการ กขช.จึงมีมติให้แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อมูลปริมาณข้าวคง เหลือของทั้ง อคส. และอ.ต.ก. ณ วันที่ 31 พ.ค.56 โดยมีรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ( พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง) เป็นประธาน และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้แทนของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ ร่วมเป็นคณะทำงาน และผู้แทนกรมการค้าภายใน เป็นคณะทำงานและเลขานุการ
1.3 เห็นชอบให้แยกรายงานการปิดบัญชีโครงการรับจำนำออกเป็น 2 ชุด โดยรายงานที่เสนอ กขช. เป็นการปิดบัญชีโครงการรับจำนำตั้งแต่ ปี 54/55 เป็นต้นไป ตามคำสั่งคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติที่ 9/2556 เรื่อง แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกตามนโยบายรัฐบาล ลงวันที่ 26 ก.พ.55 สำหรับโครงการอื่นให้รายงานคณะรัฐมนตรีตามคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 672 / 2553 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำผลิตผลการเกษตรตามนโยบายรัฐ บบาล ลงวันที่ 11 มิ.ย. 53
1.4 เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตามประเมินผลโครงการในทุกมิติ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ทางตรงที่เกษตรกรได้รับ และผลทางอ้อมคือระบบเศรษฐกิจรวมถึงความคุ้มค่าของโครงการ โดยมีรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ) เป็นประธาน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านกฎหมาย ด้านบัญชี ด้านสังคม ผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องข้าว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นอนุกรรมการ โดยมีผู้แทนกรมการค้าภายใน เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
เบื้องหลังลดราคาสะเทือนทั้งระบบ
2. แนวทางการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปี 2555/2556 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ดำเนินการในปริมาณ 22.0 ล้านตัน วงเงิน 345,000 ล้านบาท ขณะนี้มีผลการรับจำนำ ณ วันที่ 15 มิ.ย. 2556 รวม 18.836 ล้านตัน (ครั้งที่ 1 จำนวน 14.383 ล้านตัน ครั้งที่ 2 จำนวน 4.453 ล้านตัน ) โดยที่ประชุมมีความเห็นว่าควรจะต้องมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ระยะเวลาโครงการสิ้นสุดวันที่ 15 กันยายน 2556 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จึงได้เสนอแนวทางการดำเนินการในระหว่างฤดูกาลนี้ ดังนี้
2.1 การปรับลดราคารับจำนำ ข้าวเปลือก 5 % ลดลงเหลือตันละ 12,000 บาท
2.2 จำกัดวงเงินรับจำนำ ไม่เกิน 500,000 บาท/ ครัวเรือน
ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีความกังวลว่าการปรับ เปลี่ยนกลางคันอาจเกิดความสับสนวุ่นวาย จะเกิดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างคนที่จำนำข้าวเปลือกแล้วและคนที่ยังไม่นำ ข่าวเปลือกมาจำนำ สำหรับประเด็นการลดราคาอาจมีผลกระทบต่อราคาตลาดในประเทศและราคาส่งออกรวม ทั้งส่วนที่ได้ระบายไปแล้วและอยู่ระหว่างการส่งมอบ ผู้ซื้ออาจขอเจตรจาปรับราคาลงอีกได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จึงมอบหมายให้หน่วยปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ธ.ก.ส. อคส. และ อ.ต.ก. ไปดำเนินการกำกับดูแลให้การดำเนินการรับจำนำอยู่ในกรอบและวงเงินที่คณะ รัฐมนตรีมีมติอนุมัติไว้โดยเคร่งครัด
จำนำพ่นพิษขาดทุนเกินเป้าหมาย!!
3. แนวทางการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/ 57 ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่า สมควรปรับปรุงโครงการรับจำนำในปี 2556/57 ให้สอดคล้องกับนโยบายด้านการคลังของรัฐบาล ที่กระทรวงการคลังมีแผนที่จะจัดทำงบประมาณสมดุลในปี 2560 เนื่องจากการ ดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปี 2554/ 55 และนาปรัง ปี 2555 มีผลขาดทุนมากกว่าเป้าหมายที่คาดไว้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆที่กดดันราคาข้าวไม่ให้ปรับตัวสูงขึ้นตามที่คาด การณ์ไว้ เช่น ปริมาณผลผลิตข้าวโลกที่เพิ่มขึ้น การแข็งค่าของเงินบาทและการทุ่มตลาดข้าวของอินเดียและเวียดนาม แต่อย่างไรก็ตามการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกที่ผ่านมา สามารถทำให้เกษตรกรได้รับผลประโยชน์เพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่า 338,562 ล้านบาท
3.1 ด้านราคารับจำนำ ซึ่งมีแนวทางการปรับลดราคารับจำนำคือ 1). ใช้ราคาต้นทุนการผลิต บวก กำไรที่เกษตรกรควรจะได้รับ ประมาณ 25%เช่นเดียวกับสินค้าเกษตรอื่นๆ ที่รัฐบาลจะดำเนินการแทรกแซงตลาด
2) ใช้ราคารรับจำนำเดิมปรับลดลง 15-20 %
3) ใช้ราคานำตลาด 10 %
ซึ่งจะทำให้ราคารับจำนำข่วเปลือกเจ้านาปี 5% มีราคาประมาณตันละ 12,000-13,000 บาท
3.2 ด้านปริมาณรับจำนำ การกำหนดปริมาณรับจำนำทั้งโครงการไว้เช่นเดียวกับโครงการรับจำนำมันสำปะหลัง เช่น กำหนดปริมาณรับจำนำทั้งโครงการปี 2556/ 57 (ทั้งนาปี บวก นาปรัง ) ไม่เกิน 17 ล้านตันข้าวเปลือก จำกัดปริมาณรับจำนำของเกษตรกรไม่เกินครัวเรือนละ 25 ตัน เป็นต้น
3.3 ด้านวงเงินที่รับจำนำของเกษตรกรแต่ละราย โดยจำกัดวงเงินรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกร ไม่เกิน 300,000- 500,000 บาท/ครัวเรือน
3.4 ด้านระยะเวลารับจำนำ โดยกำหนดระยะเวลาการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2556 -2557 และข้าวเปลือกนาปรัง ระหว่างเดือนมี.ค –ก.ค.57
ห้ามขาดทุนเกิน 7 หมื่นล้าน
ทั้งนี้ มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ รวบรวมข้อมูลและศึกษาทางเลือกข้างต้นพร้อมทั้งการกำหนดเงื่อนไขประกอบ เพื่อจำกัดวงเงิน ภาระค่าใช้จ่าย และผลขาดทุนที่เกิดขึ้นไม่ให้เกินวงเงินปีละประมาณ 70,000 ล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องกับแนว่ทางการจัดทำงบประมาณสมดุลของประเทศตามข้อเสนอ ของกระทรวงการคลัง
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต