จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
เริ่มต้นสถานที่แรกของทริปนี้ที่ “วัดมหาพฤฒาราม” วัด แห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของคลองผดุงกรุงเกษม แต่เดิมชาวบ้านเรียกว่าวัดตะเคียน เพราะมีต้นตะเคียนขึ้นอยู่หนาแน่นรอบบริเวณวัด เมื่อครั้งที่รัชกาลที่ 4 ยังผนวชเป็นพระภิกษุวชิรญาณภิกขุ พระองค์ได้เสด็จมาพระราชทานผ้าป่าที่วัดนี้ ในคราวนั้น พระอธิการแก้วซึ่งเป็นเจ้าอาวาสได้ทูลถวายพยากรณ์ว่า “จะได้เป็นเจ้าชีวิตเร็วๆ นี้” พระองค์จึงมีรับสั่งว่า “ถ้าได้ครองแผ่นดินจริงจะมาสร้างวัดให้อยู่ใหม่” ดังนั้น หลังจากที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดขึ้นใหม่ รวมถึงโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานสมณศักดิ์พระอธิการแก้วเป็นพระมหาพฤฒาจารย์ ส่วนวัดนั้นก็ได้พระราชทานนามว่า “วัดมหาพฤฒาราม” ซึ่งหมายถึง อารามอันเป็นที่อยู่ของพระผู้เฒ่าผู้ยิ่งใหญ่ และทรงสถาปนาให้เป็นพระอารามหลวง |
||||
วัดมหาพฤฒารามยังมีวิหารพระพุทธไสยาส หรือพระนอนขนาดใหญ่องค์หนึ่งของกรุงเทพฯ มีความยาว 19.25 เมตร เป็นพระพุทธรูปลงรักปิดทอง มีมาตั้งแต่ครั้งสร้างวัดแต่เดิม ต่อมารัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นดังที่เห็นในปัจจุบัน |
||||
ชมสิ่งต่างๆ ในวัดไปแล้ว เราออกเดินเท้าต่อไปยัง “วัดอุภัยราชบำรุง” หรือวัดญวนตลาดน้อย ริม ถนนเจริญกรุง วัดแห่งนี้เป็นวัดฝ่ายอนัมนิกาย มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยในสมัยรัชกาลที่ 1 องเชียงสือและพวกพ้องซึ่งเป็นชาวญวนได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งถิ่นฐานบริเวณย่านนี้ ชาวญวนจึงได้สร้างวัดตามศรัทธาของตนขึ้นสองวัด คือวัดคั้นเยิงตื่อ (วัดญวนตลาดน้อย) และวัดกว๋างเพื๊อกตื่อ (วัดญวนบางโพ) ในสมัยนั้นยังไม่มีวัดจีนในบางกอก ชาวจีนที่นับถือพุทธลัทธิมหายานจึงอาศัยทำบุญที่วัดแห่งนี้ด้วย |
||||
|
||||
ยังมีสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งของวัด นั่นก็คือต้นพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งอยู่บริเวณด้านหน้าวัด ต้นโพธิ์ต้นนี้รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานหน่อพระศรีมหาโพธิ์ที่ทรงเพาะขึ้นจากเมล็ดพันธุ์ต้นพระศรีมหา โพธิ์ที่ได้มาจากรัฐบาลอินเดียให้แก่วัด และได้ทรงเสด็จมาทรงพระสุหร่ายประพรมต้นพระศรีมหาโพธิ์ด้วยพระองค์เองอีก ด้วย และต้นโพธิ์ต้นนี้มีอายุเก่าแก่ถึง 136 ปีแล้ว |
||||
|
||||
|
||||
|
||||
ทีนี้มาดูความสวยงามของอาคารกันบ้าง ตัวอาคารเป็นตึก 3 ชั้น สถาปัตยกรรมแบบโบซาร์ส (Beaux Arts) กับ Neo-Classic ออกแบบโดยนายอันนิบาลเล ริก็อตติ และนายมาริโอ ตามานโญ สถาปนิกชาวอิตาลี ผู้เป็นนายช่างออกแบบรับราชการอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย และยังเป็นสถาปนิกชุดเดียวกับที่ออกแบบพระที่นั่งอนันตสมาคมอีกด้วย ตัวอาคารตกแต่งด้วยองค์ประกอบคลาสสิคจากยุคต่างๆ ผสมผสานกัน อาทิ ลาดบัว หัวเสา ปูนปั้น อีกทั้งทำเลที่ตั้งของอาคารยังเป็นรูปถุงเงิน ทางเข้าแคบแต่ปลายบาน ให้เงินเข้าง่ายแต่ออกยาก ตามหลักฮวงจุ้ยอีกด้วย |
||||
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการปฏิสังขรณ์วัด พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า วัดนี้เป็นวัดที่วังหน้าได้สร้างถวายแต่พระราชบิดา จึงโปรดเกล้าให้ปรับปรุงยกฐานพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถขึ้น และทำเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง และต่อมาในรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระราชทานนามให้พระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระพุทธมหาชนก” จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของวัดที่ไม่ควรพลาดชมก็คือภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างวังหน้า ชุดเดียวกับที่วาดภาพในพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ ซึ่งประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งแน่นอนว่ามีความงดงามเป็นอย่างยิ่ง โดยด้านหลังพระประธานวาดเป็นรูปเวชยันต์มหาปราสาทของพระอินทร์และวิมานเทวดา ฝั่งตรงข้ามพระประธานเป็นภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ ผนังด้านข้างตอนบนเป็นภาพเทพชุมนุม ส่วนด้านล่างเป็นภาพทศชาติชาดก และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งเส้นทางเดินเที่ยวชมวัดและชมเมืองที่น่าสนใจ หากวันหยุดเสาร์อาทิตย์ใครมีเวลาก็ขอชวนมาเดินเล่นชมเมืองกรุงกันให้สนุก |
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต