สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ เปิดระบบซื้อขายใบอนุญาตปี 57

จากประชาชาติธุรกิจ

ถึงแม้เรื่องคาร์บอนเครดิตจะถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่บ้างว่าเป็นเครื่องมือ ในการช่วยรักษาโลกได้จริงหรือ เพราะในขณะที่กลุ่มประเทศหนึ่งตื่นตัวลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG : Green House Gases) เพื่อจะได้นำปริมาณ GHG ที่ลดได้ไปขายเป็นคาร์บอนเครดิต แต่กลุ่มประเทศอื่นที่ไม่สามารถลดการปล่อย GHG กลับมุ่งไปที่การซื้อคาร์บอนเครดิต และเมินเฉยต่อแนวทางลดการปล่อย GHG จึงอาจมองได้ว่าคาร์บอนเครดิตเป็นเพียงเครื่องมือทางการค้าระหว่างกันเท่า นั้น

แต่หากมองอีกด้าน การพัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิตจะเป็นแนวทางที่ช่วยให้ประเทศลดการปล่อย GHG ได้ เช่นเดียวกับในประเทศไทยที่มีพูดถึงเรื่องนี้มาได้ระยะหนึ่ง และมีความพยายามของผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งต้องการกระโดดสู่ตลาดคาร์บอน เครดิต เพื่อสร้างมูลค่าจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งล่าสุดองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.ได้มีนโยบายจัดตั้งตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจขึ้น เพื่อให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการลด GHG ของประเทศ


"สุมน สุเมธเชิงปรัชญา" นักวิชาการอาวุโส องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. กล่าวว่า ไทยมีโครงการลดก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐานต่างประเทศ (VER : Verified Emission Reductions) อยู่แล้ว โดยในเดือนตุลาคม 2556 นี้จะมีโครงการลดก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐานประเทศไทย (T-VER : Thai Voluntary Emission Reductions) เพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตภายในประเทศ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นภาครัฐและเอกชนที่ทำซีเอสอาร์ และอีกกลไกคือระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม (Thailand V-EST : Thailand Voluntary Emission trading Scheme) ที่จะดำเนินการในเดือน ต.ค. 2557

"การทำให้ตลาด Thailand V-EST และคาร์บอนเครดิตที่ซื้อขายได้รับความน่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับและสามารถนำไปขายได้ จะต้องมีระบบการตรวจวัด รายงาน และทวนสอบ (MRV System : Measurement, Reporting and Verification System) ที่น่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับในระดับสากล ดังนั้น อบก.จึงจัด "โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัคร ใจของประเทศไทยโดยใช้กลไกตลาด" เพื่อพัฒนา MRV System ของตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจให้มีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีให้เป็นที่ปรึกษา โครงการ"

ทั้งนี้ ได้คัดเลือกโรงงานอุตสาหกรรมที่สนใจเป็นโรงงานนำร่อง 7 แห่ง ได้แก่ บริษัท ไทยเดลมาร์ จำกัด, บริษัท ฮิตาชิ อินดัสเตรียล เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ฮีโน่มอเตอร์ส แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท เดลต้า อิเลคโทรนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน), บริษัท ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาด จำกัด และบริษัท ระยองโอเลฟินส์ จำกัด

"โครงการ นี้เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับประเทศไทยที่ต้องมีเป้าหมายลด GHG หลังปี 2563 นอกจากนี้ ปัจจุบันราคาคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศตกต่ำอย่างมาก เพราะสหภาพยุโรปที่เป็นผู้ซื้อใหญ่ไม่รับซื้อคาร์บอนเครดิตที่เกิดจากประเทศ กำลังพัฒนาที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM : Clean Development Mechanism) ทันก่อนปีนี้ อีกทั้งไม่รับซื้อคาร์บอนเครดิตที่เกิดจากการลดก๊าซบางประเภท อย่างไฮโดร

ฟลูออโรคาร์ บอน (HFCs) ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ประเทศจีนและอินเดียที่เป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ของตลาด ทำให้เขาเทขายคาร์บอนเครดิตออกมา ส่งผลให้ซัพพลายสูงกว่าดีมานด์ประมาณ 2 พันล้านตัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องหาทางออกให้กับผู้ประกอบการ CDM ในประเทศว่าจะทำอย่างไรให้สามารถขายคาร์บอนเครดิตได้ท่ามกลางสภาวะตลาดอย่าง นี้"

"สุมน" อธิบายถึงผลประโยชน์ที่ได้รับจากการอบรมว่า โครงการดังกล่าวยังก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกับประเทศ เพราะจะลดการใช้ไฟฟ้า ลดการเกิดมลพิษ ซึ่งเขามองว่ายังมีมาตรการอื่นที่สามารถลดการปล่อย GHG ได้ อย่างการส่งเสริมระบบขนส่งมวลชนเพื่อให้คนไม่ใช้รถ รวมถึง อบก.กำลังร่วมกับกรมสรรพากรผลักดันเรื่องการยกเว้นภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ ที่ได้จากการขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นหนึ่งที่ทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีกระบวนการที่ลดการปล่อย GHG ลงด้วย


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะ

Tags : ตลาดคาร์บอน ภาคสมัครใจ เปิดระบบ ซื้อขายใบอนุญาต ปี 57

view