จากประชาชาติธุรกิจ
แม้ ว่าจะเข้าช่วงโค้งสุดท้ายของโครงการรับจำนำสินค้าเกษตรปีการผลิต 2555/2556 แล้ว แต่ยังมีกระแสการร้องเรียนถึงความล่าช้าในการ "เปิดคลังกลาง" เพื่อจัดเก็บสินค้าเกษตรที่ได้จากโครงการรับจำนำทั้งข้าวและมันสำปะหลังอยู่ เป็นระยะ ๆ
เริ่มตั้งแต่กลุ่มสมาคมโรงสีที่ออกมาเปิดศึกวิวาทะกัน เองในการประชุมสามัญใหญ่ เพราะมีโรงสีในพื้นที่หลายจังหวัดทางภาคกลางที่รับจำนำข้าวและสีแปรสภาพแล้ว แต่ส่งมอบไม่ได้ ต้องขนส่งข้าวไปรอคิวที่หน้าคลังกลาง
จนต้องออกมา แฉพฤติกรรมของกลุ่มที่หาผลประโยชน์จากคลังกลาง โดยการเรียก "ค่าหัวคิว" จากโรงสีที่ "จำใจ" ต้องจ่าย เพราะหากไม่จ่ายข้าวจะเข้าคลังกลางได้ล่าช้า ไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา
ล่าสุด "กลุ่มลานมัน" ได้ออกมาร้องเรียนผ่าน 4 สมาคมมันสำปะหลัง เพื่อขอให้ช่วยเคลียร์ปัญหาการเปิดคลังกลางล่าช้า ทำให้ลานมันที่รับจำนำมันสำปะหลังจากเกษตรกรไม่สามารถส่งมอบมันเส้นที่ แปรสภาพแล้ว เข้าไปเก็บในคลังกลางได้กว่า 1,000,000 ตัน จากที่โครงการเริ่มรับจำนำมาตั้งแต่ปลายปี 2555
แม้ว่ามีการร้อง เรียนถึงปัญหาดังกล่าวไปยังกระทรวงพาณิชย์ แต่ไม่ได้รับความสนใจอย่างจริงจัง หรือไม่ให้ความสำคัญ โดยมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นการขัดแย้งผลประโยชน์กันเอง เป็นเหตุให้ "เจ้าของคลัง" ที่เสียประโยชน์ต้องออกโรงจัดม็อบโรงสี-ลานมันมากดดัน เพื่อให้รัฐบาลปล่อยให้คลังของตนได้เป็นผู้รับจำนำต่อไป
ผลประโยชน์คลังกลางมหาศาล
แหล่ง ข่าวจากวงการคลังสินค้า กล่าวว่า ในช่วงที่โครงการรับจำนำเฟื่องฟูถึงขีดสุด ทำให้มูลค่าธุรกิจคลังสินค้าให้เช่าเพิ่มขึ้นมาก จากก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการคลังสินค้าทางภาคกลาง เช่น กรุงเทพฯได้ปรับลดพื้นที่คลังสินค้าลง 20% หลังจากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม คลังที่อยู่โซนริมแม่น้ำหันไปทำเป็นธุรกิจอื่น ส่งผลให้ผู้ประกอบการคลังขนาดใหญ่ลดลง
ขณะที่ปริมาณสินค้าเกษตรมีการ รับจำนำเพิ่มขึ้น เช่น ปี 2554/2555 มีข้าวเข้าโครงการรับจำนำในส่วนของนาปีราว 6-7 ล้านตันข้าวเปลือก และนาปรังอีก 14 ล้านตันข้าวเปลือก และในการรับจำนำข้าวปี 2555/2556 ขณะนี้มีข้าวเปลือกเข้าโครงการแล้วกว่า 9 ล้านตัน รวมเฉพาะ 3 รอบมีข้าวเปลือกเกือบ 30 ล้านตัน หรือข้าวสารเหลืออยู่ราว 12-13 ล้านตัน คิดเป็นปริมาณข้าว 120 ล้านกระสอบ มูลค่าธุรกิจ 240 ล้านบาทต่อเดือน หากเก็บไว้ 1 ปีจะเสียค่าใช้จ่าย 2,880 ล้านบาทต่อปี
"การลงทุนสร้าง คลังถึงจะเป็นการลงทุนสูงในช่วงแรก เป็นธุรกิจแบบเสือนอนกิน สามารถทำกำไรได้อีกนาน หากรัฐบาลยังใช้โครงการรับจำนำสินค้าเกษตร ยกตัวอย่าง ค่าเช่าคลังกลางเก็บข้าว 5 ล้านกระสอบ เฉลี่ยจะอยู่ที่กระสอบ (100 กก.) ละ 2 บาทต่อเดือน คิดเป็นรายได้ 10 ล้านบาทต่อเดือน ทำให้ทั้งกลุ่มโรงสี
ผู้ส่งออก และพ่อค้าข้าวที่มีพื้นที่เปล่าเริ่มลงทุนปรับปรุงพื้นที่ว่างเหล่านั้นให้เป็นคลังเช่าของรัฐบาล"
กระบวนการหากินกับคลังกลาง
เม็ด เงินที่หมุนเวียนมหาศาลกลายเป็นแรงจูงใจให้เกิดกระบวนการฉวยโอกาสหาประโยชน์ จากธุรกิจคลังกลาง ไม่ใช่รายได้จากค่าเช่าคลังเท่านั้น แต่มีการหาประโยชน์จากค่าเปิดคลัง ซึ่งอัตราตามความจุ และค่าผ่านเข้าคลัง (ค่าเหยียบแผ่นดิน) คิดอัตรากระสอบละ 100 บาท หรือซ้ำร้ายยังมี "ค่าลัดคิว" ซึ่งดำเนินการกันอย่างเป็นระบบ จนกลายเป็น "ประเพณี" ควบคู่กับการรับจำนำมาช้านาน
แม้ปีนี้กรมการค้าภายใน ในฐานะฝ่ายเลขาฯ คณะอนุกรรมการกำกับการรับ
จำนำฯ ได้ปรับหน้าที่มาเป็นผู้ดูแลรับสมัคร กำกับการจัดโซนนิ่งคลังกลางขององค์การคลังสินค้า (อคส.) อีกชั้นหนึ่ง จากเดิมที่ อคส.และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) เป็นผู้ดำเนินการโดยตรง พร้อมขู่ขึ้นแบล็กลิสต์คลังเจ้าปัญหา
ในมุม มองของผู้ประกอบการคลังกลางมองว่า การปรับเปลี่ยนบทบาทการดูแล เป็นเพียงการเปลี่ยนมือผู้รับผลประโยชน์เท่านั้น แต่ปัญหาการเปิดคลังกลางยังล่าช้าเหมือนเดิม และเงื่อนไขการรับสมัครเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่เหมือนสมัยของ อคส. หรือ อ.ต.ก. ที่จะเปิดรับครั้งเดียว และยังมีการจัดระบบโซนนิ่ง แบ่งสรรการจัดเก็บ โดยอ้างเหตุผลว่าเป็นความเหมาะสมในเรื่องโลจิสติกส์ แต่สำหรับผู้ประกอบคลังไม่เดือดร้อน เพราะจะเปิดช้าหรือเร็ว สุดแล้วแต่กรมการค้าภายใน
ขณะที่ผู้ประกอบการโรงสีกล่าวว่า ขณะนี้มีโรงสีหลายพื้นที่เริ่มได้รับผลกระทบจากระบบนี้ เพราะจากเดิมโรงสีใน จ.ปทุมธานี สามารถสีแปรและส่งไปเก็บที่คลังใน จ.พระนครศรีอยุธยา หรือสระบุรี ระยะทางห่างกัน 40-50 กม.ได้ แต่โครงการปีนี้กำหนดให้โรงสีในพื้นที่ปทุมธานีส่งมอบข้าวไปที่ อ.แปดริ้ว จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งระยะการขนส่งทางบกไกลกว่า 100 กม. แต่ทาง
เจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นขนส่งตามกระแสน้ำ แต่แปลกตรงที่โรงสีข้าวจากแปดริ้วกลับขอมาส่งที่คลังกลางใน จ.สระบุรี สวนทางกัน
"เมื่อ ไปถึงคลังแปดริ้ว ทางเจ้าของคลังไม่ยอมให้เข้า เพราะจะเก็บพื้นที่ไว้ให้ข้าวของโรงสีตนเองก่อน และยังมีโรงสีทั้งจากกรุงเทพฯ นครปฐม และอีกหลายจังหวัดที่จะต้องส่งมาคลังนี้ จึงต้องรออยู่หลายคืนกว่าจะได้ส่งมอบ ซึ่งเป็นต้นทุนของโรงสีอีก ทางโรงสีจึงทำเรื่องร้องเรียนไปทางผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัด แต่ไม่สามารถแก้ไขได้ เพราะขึ้นอยู่กับกรมการค้าภายใน จึงเหลือข้าวที่รอส่งมอบอีกหลายหมื่นตัน ซึ่งจะต้องถูกปรับหากสีแปรและส่งมอบไม่เป็นไปตามกำหนด"
เช่นเดียวกับ กรณีของมันสำปะหลังที่เกิดปัญหาลักษณะคล้ายกัน คือ ลานมันที่รับจำนำมันสำปะหลังจากเกษตรกรต้องปรับปรุงเป็นมันเส้น ส่งมอบทุก 15 วัน แต่ไม่สามารถส่งมอบได้ โดยเฉพาะรอบล่าสุดกลางเดือนกุมภาพันธ์ จะต้องส่งในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ทางเจ้าของลานมันเกรงว่าจะถูกเรียกเก็บค่าปรับราว 0.2% ต่อวัน ตามมูลค่ามันเส้นที่ค้างส่ง จึงได้ร้องเรียนไปที่สมาคม เพราะส่งมอบไม่ได้ คลังกลางมันสำปะหลังมีจำนวนน้อย และมีการตัดลดสิ่งเจือปนและความชื้นแบบเข้มงวด โดยคลังกลางและเซอร์เวย์อ้างว่า กรมการค้าภายในให้รับผิดชอบ และเข้มงวดคุณภาพตลอดระยะเวลาจัดเก็บ ซึ่งทางคลังไม่รู้ว่าจะเก็บไว้ยาวนานเพียงใดจึงต้องเพิ่มความเข้มงวด ทำให้มันเส้นค้างอยู่กับลานมัน 1 ล้านตัน
สุดท้ายที่ผ่านมามักจะเห็น ว่าไม่ว่ากระบวนการแก้ไขปัญหาจะรัดกุมเพียงใด แต่มักจะมีกระบวนการแฝงหาผลประโยชน์จากโครงการรับจำนำ โดยการพลิกแพลงใช้วิธีการต่าง ๆ ยิ่งการรับจำนำมีมากเท่าไร กระบวนการเหล่านี้เติบโตมากขึ้นเท่านั้น และข้อเสียอีกประการหนึ่ง คือ ผลจากความล่าช้า อาจกระทบต่อคุณภาพสินค้าที่รัฐบาลรับจำนำมาหรือไม่ เพราะต้องไปฝากค้างไว้กับลานมัน หรือโรงสี
ในที่สุดแล้วอาจจะเกิดปัญหาสินค้าหาย หรือเสื่อมสภาพอย่างที่เคยเกิดขึ้นกับหอมแดง ลำไย ที่เป็นบทเรียนไปก่อนหน้านี้
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต