จากประชาชาติธุรกิจ
พลังงาน ทางเลือกเป็นพลังงานที่มาจากทรัพยากรที่มีอยู่ในธรรมชาติ ที่ไม่ได้เป็นเชื้อเพลิงจากฟอสซิล หรือน้ำมันที่เราคุ้นเคย ล่าสุดบัฟเฟตต์ก็เพิ่งขยายการลงทุนในพลังงานทางเลือก กระแสพลังงานสีเขียว โลกร้อน รวมถึงการสนับสนุนพลังงานทางเลือกของภาครัฐในไทยจากแผนพัฒนากำลังการผลิต ไฟฟ้าของประเทศไทย จึงมีบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เข้ามาทำธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้มากขึ้น และกระแสการลงทุนในพลังงานทางเลือกจึงมีการพูดถึงมากขึ้นตามลำดับ
โลก ในปัจจุบันมีแนวโน้มต้องพึ่งพาพลังงานทางเลือกมากกว่าในอดีต เนื่องจากแนวโน้มเชื้อเพลิงฟอสซิลจะหายากขึ้นเรื่อย ๆ และมีต้นทุนสูงขึ้นเพราะการขุดเจาะน้ำมันต้องสำรวจในพื้นที่ที่ห่างไกลขึ้น ในทะเลน้ำลึก สวนทางกับเทคโนโลยีที่นำมาใช้ผลิตพลังงานทางเลือกที่มีแนวโน้มลดต่ำลงเรื่อย ๆ
พลังงานทางเลือกในอดีตส่วนมากจะมาจากเชื้อเพลิงจากชีวมวล ซึ่งจะนำมาใช้ให้ความร้อน เช่น พลังงานจากไม้หรือฟืน และอีกส่วนหนึ่งมาจากพลังน้ำเป็นหลัก ซึ่งอันที่จริงเป็นเชื้อเพลิงที่มนุษย์ใช้ก่อนหน้าที่จะมีเชื้อเพลิงฟอสซิ ลด้วยซ้ำ แต่ก็มีขีดจำกัดในทรัพยากรธรรมชาติของพลังงานกลุ่มนี้ มายุคหลัง ๆ พลังงานทางเลือกประเภทใหม่ ๆ
ก็เกิดขึ้น เช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์ พลังงานจากลม หรือเชื้อเพลิงที่เป็นชีวภาพ (มาจากผลผลิตทางการเกษตร) แม้ว่าจะยังเป็นสัดส่วนที่ยังเล็กอยู่ แต่การเติบโตเร็วมาก เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านทรัพยากรที่น้อยกว่า คือโลกเรามีแดด มีลมเหลือเฟือ
พลังงาน จากลม ดูเหมือนจะเป็นพลังงานทางเลือกแรก ๆ ที่นำมาใช้อย่างแพร่หลายใน Utility Scale คือนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างจริงจัง โดยพลังงานประเภทนี้เริ่มต้นจากเจ้าตำรับอย่างประเทศเดนมาร์ก (ซึ่งปัจจุบันเดนมาร์กใช้พลังงานลมเป็นอัตราส่วนที่สูงที่สุดในโลกประเทศ หนึ่ง ซึ่งรัฐบาลเดนมาร์กมีเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 50% ของกำลังไฟฟ้าที่ต้องการ) และค่อย ๆ ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ประเทศเอเชีย
โดย มีอินเดียเป็นประเทศแรก ๆ ที่นำมาใช้อย่างจริงจัง เนื่องจากความที่มีแนวรับลมที่มีศักยภาพสูง และหลังจากนั้นพลังงานลมก็ถูกถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ประเทศที่เป็นโรงงานของโลก คือประเทศจีน ซึ่งประเทศจีนมีพื้นที่ที่มีพลังงานลมที่มีศักยภาพไม่แพ้ใคร เมื่อรัฐสนับสนุนแล้วจึงทำให้การเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ในประเทศจีนเป็นไป อย่างก้าวกระโดด ใช้เวลาเพียง 10 ปีก็เติบโตจนกระทั่งมีกำลังการผลิตเป็นอันดับหนึ่งของโลก
อย่างไรก็ ดี ปัญหาของพลังงานประเภทนี้ คือ ที่ที่ศักยภาพลมสูงมักจะไม่ใช่แหล่งที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม จึงต้องมีระบบสายส่งพลังงานจากต้นทางสู่เมืองใหญ่ ซึ่งมีต้นทุนที่สูงมาก
สำหรับ ประเทศไทย อุตสาหกรรมพลังงานทางเลือกมักอยู่ปลายน้ำ คือเราไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยี แต่นำเทคโนโลยีมาผลิตไฟฟ้า เช่น การพัฒนาพลังงานลมหรือวินด์ฟาร์ม แม้จะมีมาอย่างต่อเนื่อง แต่ศักยภาพลมในประเทศไทยค่อนข้างจำกัดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เพราะมีความเร็วลมต่ำ รวมถึงข้อจำกัดในการหาที่ดินในการพัฒนา เพราะแหล่งที่มีทรัพยากรลมดีมักอยู่ในเขตที่เป็นเขตอนุรักษ์ ทำให้พลังงานลมในประเทศไทยยังเติบโตไปอย่างช้า ๆ
พลังงานเชื้อเพลิง จากชีวมวล ก็ถูกพัฒนาอย่างจริงจังในประเทศไทยช่วงที่ผ่านมา นำโดยเอทานอลที่ใช้ผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์ แต่เนื่องจากราคาวัตถุดิบที่ค่อนข้างผันผวนตามราคาสินค้าเกษตร กำไรจากบริษัทที่ผลิตเชื้อเพลิงประเภทนี้จึงคาดการณ์ค่อนข้างลำบาก
พลังงาน ที่เป็นพระเอกที่สุดในปัจจุบันคงไม่พ้นโซลาร์ฟาร์ม หรือพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี PV คือเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นกระแสไฟฟ้า เนื่องจากเป็นพลังงานที่สะอาดอย่างแท้จริง คือไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง กลิ่น แต่พลังงานแสงอาทิตย์ก็มีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าเชื้อเพลิงทุกประเภท จึงเป็นพลังงานที่รัฐต้องสนับสนุน มิเช่นนั้นต้นทุนการผลิตจะไม่คุ้มค่ากับราคาขายไฟ ส่วนต่างที่รัฐชดเชยหรือแอดเดอร์จึงถูกกำหนดขึ้นเป็นอัตราที่สูงและแพงกว่า เชื้อเพลิงประเภทอื่นมาก เพื่อจูงใจให้มีการลงทุนและเป็นโชคดีของบริษัทที่มีใบอนุญาต เนื่องจากราคาแผง PV ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว ต้นทุนที่เคยสูงจึงกลับลดลงมากโดยที่ยังสามารถมีแอดเดอร์
สูงเหมือนเดิม บริษัทที่มีใบอนุญาตจึงสามารถทำกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ
ใน ฐานะนักลงทุน การลงทุนในพลังงานทางเลือกที่เป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำก็เป็นสิ่งที่ยังรอวัน พิสูจน์ตัวเอง เนื่องจากการเติบโตยังคงต้องพึ่งการสนับสนุนจากภาครัฐอยู่ และเทคโนโลยีก็ยังไม่อิ่มตัว สามารถพัฒนาต่อไปได้อีก ดังนั้น ข้อเสียคือการเติบโตในอนาคตที่ค่อนข้างจะมองยาก
แต่สำหรับข้อดี บริษัทเหล่านี้มีรายได้ค่อนข้างสม่ำเสมอ แน่นอน จึงเป็นหุ้นปันผลคุณภาพดี ถ้าคุณซื้อในราคาไม่แพงเกินไป จุดสำคัญคือเราต้องประเมินมูลค่าบริษัทให้ได้ และเข้าใจอุตสาหกรรมให้ถ่องแท้ มิฉะนั้นพลังงานทางเลือกอาจจะเป็นแค่กระแสที่ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด สำหรับเราครับ
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต