จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
โดย : ปิ่น บุตรี | ||||
ป่าแม้คุณค่ากระไรปานนั้น แต่น่าแปลกที่ทุกวันนี้ยังคงมีมนุษย์กลุ่มหนึ่งยังคงทำร้ายทำลายป่าอยู่ร่ำไป... 1... “ป่าแม่วงก์” แม้จะไม่ใช่ป่ามรดกโลก แต่จัดเป็นป่าผืนใหญ่ที่มีความสำคัญและมีความอุดมสมบูรณ์มากแห่งหนึ่งของ เมืองไทย มีอาณาเขตติดต่อกับป่ามรดกโลกอย่างป่าห้วยขาแข้ง เชื่อมต่อเป็นหนึ่งเดียวกับผืนป่าตะวันตกที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้นๆของ เอเชีย |
||||
ป่าแม่วงก์ในเขตกำแพงเพชร มียอดเขา“โมโกจู” กับ “ช่องเย็น” เป็นสถานที่ท่องเที่ยวไฮไลท์ ส่วน ในฝั่งนครสวรรค์มี “แก่งลานนกยูง” กับ “ลำห้วยแม่เรวา” ที่อยู่ในความดูแลของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ มว. 4(แม่เรวา) หรือ หน่วยแม่เรวา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวชูโรง |
||||
ตอนนั้นเมื่อหลายปีมาแล้ว ผมได้ไปร่วมบุกเบิกกิจกรรมท่องเที่ยวผจญภัยเชิงนิเวศที่นี่กับกิจกรรม “ล่องแก่งลำน้ำแม่เรวา” ซึ่งทางอุทยานฯแม่วงก์ ได้จับมือกับททท.และฟูจิทัวร์จัดส่งเสริมกิจกรรมดังกล่าวขึ้น |
||||
หลังจากนั้นผมก็ว่างเว้นจากการล่องแก่งที่นี่ไปหลายปี แต่ได้ข่าวว่ากิจกรรมเขาไปได้สวยสามารถคว้า“รางวัลกินรี” ที่เป็นรางวัลสำคัญของวงการท่องเที่ยวบ้านเรามาครองได้อีกด้วย |
||||
อีกหนึ่งกิจกรรมที่ผมได้ทำให้ผืนป่าแห่งนี้แล้วติดใจก็คือการขี่ จักรยานเที่ยวชมทิวทัศน์(ที่ทำการอุทยานฯมีจักรยานให้เช่าจำนวนหนึ่ง) เพราะที่นี่มีความร่มรื่น อากาศดี ทิวทัศน์สวยงาม และมีรถยนต์วิ่งน้อย แถมมีเนินให้วัดใจกันบ้างเพราะเป็นกระศัย อีกทั้งยังสามารถขี่เข้าไปเที่ยวในหมู่บ้านสัมผัสกับวิถีของชาวบ้านแถบนี้ ได้ไม่ไกล หลายๆคนเมื่อขี่เข้าไปในหมู่บ้านแล้วก็มักจะไม่พลาดการแวะไปสักการะ (เศียร)“หลวงพ่อองค์บาก” ที่ตั้งอยู่ในวัดใหม่แม่เรวา หลวงพ่อองค์บากเดิมเป็นเศียรพระที่ใช้เข้าฉากภาพยนตร์เรื่ององค์บาก ต่อมาได้มีผู้นำมาถวายวัดใหม่แม่เรวา หลังจากนั้นได้มีมาขอพรกราบไหว้ เพราะมีเสียงเล่าลือว่าท่านศักดิ์สิทธิ์ จนปัจจุบันหลวงพ่อองค์บากได้กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ชุมชนแม่เรวาไปแล้ว |
||||
ส่วนใครที่เลือกมาพักค้างที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นพักในอุทยานฯหรือพักในที่พักใกล้ๆกับอุทยานฯ ในช่วงเช้า(โดยเฉพาะช่วงหน้าหนาว) ไม่ควรพลาดการขึ้นไปชมพระอาทิตย์ขึ้น ที่ “มออีหืด” ที่เป็นจุดชมวิวหลักของผืนป่าฝั่งหน่วยฯแม่เรวา ที่สามารถมองลงไปเห็นพระอาทิตย์ขึ้นพ้นจากเหลี่ยมเขา เห็นหมู่บ้าน และสายน้ำแม่วงก์ ซึ่งวันไหนอากาศเป็นใจจะมีทะเลหมอกอันสวยงามลอยปกคลุม สร้างมิติมุมมองให้น่าสนใจยิ่งขึ้นไปอีก มออีหืดแม้จะมีระยะทางแยกจากถนนไปแค่ประมาณ 1 กิโลเมตรเศษๆ แต่ว่ามีทางขึ้นที่สูงชัน ทำให้การเดินขึ้นสู่มอแห่งนี้หืดจับสมชื่อมออีหืด ใครที่ไม่อยากตื่นเช้าก็สามารถขึ้นไปชมวิวมออีหืดในช่วงเวลาอื่นได้ |
||||
ปัจจุบันป่าแม่วงก์เป็นหนึ่งในผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์มากของ เมืองไทย ที่นี่ในวันหยุดเป็นดังแหล่งพักผ่อนฟอกปอดของคนเมือง คนต่างถิ่น และคนในพื้นที่ นับเป็นประโยชน์ของป่าไม้ในแง่สันทนาการ(ที่ทางอุทยานฯจัดสรรพื้นที่บางส่วน ไว้เพื่อการท่องเที่ยวเรียนรู้) สำหรับดัชนีชี้วัดสำคัญถึงความอุดมสมบูรณ์อย่างของป่าแม่วงก์คือเรื่อง “เสือโคร่ง” ซึ่งจากการสำรวจของ WWF ที่จับมือกับอุทยานฯแม่วงก์ อุทยานฯคลองลาน ทำโครงการสำรวจและฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งอย่างจริงจัง พบว่าในช่วงหลังมานี้ ประชากรเสือโคร่งในผืนป่าแม่วงก์มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งจากร่องรอย รอยตีน ภาพถ่ายที่บันทึกด้วยกล้องอินฟาเรด เป็นต้น |
||||
เดิมป่าบริเวณนี้ถือเป็นหนึ่งในแหล่งหากิน แหล่งอาศัยที่สำคัญของนกยูงป่าในบ้านเรา ดังจะเห็นได้จากชื่อ “แก่งลานนกยูง” ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวหลักของที่นี่ |
||||
แต่เนื่องจากในยุคก่อนที่ป่าแม่วงก์จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ป่าแห่งนี้ถูกบุกรุก มีทั้งคนมาฆ่านกยูงและทำลายแหล่งอาหาร นกยูงที่นี่จึงค่อยๆหดหายไป จากนั้นเมื่อประมาณ 3-4 ปีที่แล้วได้มีโครงการปล่อยสัตว์ป่าคืนธรรมชาติ ที่หน่วยแม่เรวาได้มีการปล่อยนกยูง(ป่า)ที่ถูกคนนำไปเลี้ยงไว้กลับคืนสู่ป่า ทำให้นกยูงปล่อยไปรวมฝูงกับนกยูงป่าและได้กลับมาหากินที่บริเวณแก่งลานนกยูง และหน่วยแม่เรวาอีกครั้ง |
||||
“ตัวผู้จะอยู่รวมฝูงกันไม่ได้ เพราะมันจะตีกันแย่งตัวเมีย” พี่ประจักษ์บอก ทุกๆวัน ช่วงเช้าประมาณ 6-7 โมงเช้า และช่วงเย็นประมาณ 5 โมงเย็น นกยูงทั้ง 2 ฝูงจะออกมาหากินในพื้นที่ใครพื้นที่มัน นกยูงฝูงหนึ่งจะบินมาหากินแถวที่ทำการอุทยานฯ บริเวณหน้าศาลเจ้าแม่เรวา |
||||
และด้วยความที่มีนกยูงป่า(+นกยูงปล่อย)รวมฝูงกันออกมาเป็นประจำแบบ ค่อนข้างตรงต่อเวลา(ถ้าไม่มีใครไปรบกวนมัน) ทำให้ทางอุทยานฯแม่วงก์ หน่วยฯแม่เรวาได้จัดกิจกรรมท่องเที่ยว(ซุ่ม)เฝ้าชมนกยูงหากิน ในยามเช้า-เย็นขึ้น อย่างไรก็ดีแม้นกยูงที่นี่จะคุ้นชินกับคน แต่การซุ่มเฝ้าดูต้องปฏิบัติตามกฎที่อุทยานฯกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ห้ามส่งเสียงดัง ห้ามเข้าใกล้เกินพื้นที่ที่กำหนด(ต้องอยู่ห่างกว่า 10 เมตรขึ้นไป) การสวมใส่เสื้อผ้าควรกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ไม่ควรสวมใส่สีฉูดฉาด ไม่ควรฉีดน้ำหอม และควรปิดมือถือในระหว่างเฝ้าซุ่มชม |
||||
พวกมันเมื่อก้มหน้าคุ้ยเขี่ยจิกอาหารหากินไปได้สักพัก จู่ๆเจ้านกยูงตัวผู้ก็ค่อยๆสยายขน ลำแพน โชว์สีสันอันสวยงามของขนหาง แต่เจ้านกยูงตัวผู้ตัวนี้ดูเหมือนมันจะรำแพนเก้ออยู่ตั้งเป็นนานสองนาน เพราะดูเหมือนสาวๆตัวเมียจะเมิน ก้มหน้าหากินแบบไม่สน สุดท้ายเจ้าตัวผู้จึงยอมแพ้ก้มหน้าคุ้ยเขี่ยหากินบ้าง ก่อนที่เมื่อถึงเวลาอันควรมันจึงพาลูกฝูง เดินข้ามถนนแล้วบินขึ้นไปโชว์ตัว เกาะบนหลังคาศูนย์บริการฯ จากนั้นจึงค่อยๆทยอยบินขึ้นต้นยางใหญ่เพื่อหลับนอน นกยูงบินจากไปแล้วแต่คนดูนกยูงยังคงปลื้มกันอยู่ เพราะลำพังแค่เพียงได้เห็นนกยูงป่าออกมาเดินจิกหาอาหารกินในระยะใกล้ไม่กี่ เมตรแค่นี้ก็นับว่าเป็นบุญตาแล้ว แต่ในเย็นวันนั้น พวกเรายังโชคดีมากที่ได้เห็นเจ้านกยูงตัวรำแพนโชว์ความงามอยู่ตั้งนาน นี่ไม่เรียกว่าโชคดีแล้วจะเรียกว่ากระไร... นอกจากผมจะโชคดีแล้ว นี่ยังนับเป็นข่าวดีของผืนป่าแม่วงก์ แต่ทว่า...ข่าวร้ายก็คือ ในอนาคตอีกไม่นาน(ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง) พื้นที่แห่งนี้จะถูกสร้างเขื่อน!!! |
||||
“ป่าคือมณี มีค่าอนันต์” ป่าแม้คุณค่ากระไรปานนั้น แต่น่าแปลกที่ป่าแม่วงก์หนึ่งในผืนป่าสำคัญของเมืองไทยกำลังจะถูกทำลาย ถ้าโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์เป็นจริง สำหรับนักการเมืองสเปโตหลายๆคนในบ้านเรา ป่าหาได้คือมณี มีค่าอนันต์ไม่ หากแต่กับพวกเขาแล้ว “ป่าคือมันนี่(Money) มีค่าอนันต์”!?! |
||||
*********************************************************** หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ มว.4 (แม่เรวา) ตั้งอยู่ใน อ.แม่วงก์ จ.นครสวรรค์ ห่างจากตัวเมืองนครสวรรค์ประมาณ 80 กม. การเดินทาง จากนครสวรรค์ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านตัวเมืองไปประมาณ 20 กม. จะเจอทางแยกหนองเบน เลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้น 1072 ผ่าน อ.ลาดยาว พอถึงสี่แยกเขาชนกันให้ตรงไปจนสุดเส้นทางสู่ที่ทำการหน่วย สำหรับผู้ที่มาเที่ยวที่หน่วยแม่เรวา สามารถพักค้างแบบบ้านพัก หรือเลือกนอนเต็นท์ของอุทยานฯได้ หรือจะเลือกพักค้างที่รีสอร์ท โฮมสเตย์ใกล้อุทยานฯก็มีให้เลือกกันหลายแห่ง ทั้งนี้ผู้สนใจสอบถามข้อมูลการเดิน ทางท่องเที่ยวเพิ่มเติมได้ที่หน่วยแม่เรวา โทร. 0-5571-9014 และสามารถสอบถามแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับหน่วยแม่เรวา ใน จ.นครสวรรค์และอุทัยธานีได้ที่ โทร. 0 5651 4651-2 |
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต