จาก เดลินิวส์ออนไลน์
เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ยารักษาโรคและที่อยู่อาศัยคือปัจจัยสี่จำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์ โดยที่มาของปัจจัยสี่เหล่านี้คือ ดิน น้ำ อากาศ อุณหภูมิ เป็นธรรมชาติพื้นฐานและมีพืชรวมทั้งจุลินทรีย์เป็นผู้ทำหน้าที่เปรเปลี่ยน ทรัพยากรธรรมาชาติข้างต้นให้เกิดปัจจัยสี่แล้วถูกนำไปใช้ประโยชน์เป็นห่วง โซ่ต่อๆกัน
สิ่งที่ท้าทายสำหรับปัจัยสี่ของมวลมนุษย์ปัจจุบันและอนาคตได้แก่
- อัตราประชาการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
-ทรัพยาการดินน้ำเพื่อการเพาะปลูกที่มีจำกัดลง
-สภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง
-ต้นทุนที่สูงขึ้น
- ความมั่นคงทางอาหาร
-การแข่งขันระหว่างพืชอาหารและพืชพลังงาน
ประชากรโลกในวันที่ 26 มกราคม 2556 ที่เขียนบทความนี้ 7,095 ล้านคน อัตราการเกิด 240,000 คน/วัน ดังนั้นไม่อยากคิดเลยว่าประชากรจำนวนมหาศาลเหล่านี้จะอยู่กันอย่างไรในอนาคต โดยเฉพาะในประเทศที่อัตราประชาการหนาแน่นทั้งหลาย นอกจากความต้องการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการผลิตปัจจัยสี่แล้ว ประชากรเหล่านี้ยังต้องการพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัย ต้องการพื้นที่เพื่อสร้างสาธารณูปโภค การคมนาคม การสันทนาการและอื่นๆอีกมากมายไม่จบสิ้น
ประเด็นก็คือทรัพยากรเหล่านี้มีอยู่จำกัดไม่สามารถสร้างให้เพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นด้วยจำนวนทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดและถูกใช้ไปเพื่อที่ อยู่อาศัยและอุตสาหกรรมอื่นๆมากขึ้นจนทำให้พื้นที่การผลิตปัจจัยสี่ลดลงเป็น ลำดับนั้น ทางออกก็คือการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตต่อพื้นที่ให้สูงขึ้นโดยเฉพาะใน เชิงคุณภาพเป็นสำคัญ
สำหรับประเทศไทยพืชที่ใช้น้ำมากที่สุดคือข้าว ข้าวนาดำและนาหว่าน 1 ไร่/1 ฤดูต้องใช้น้ำประมาณ 1000 คิวบิกเมตร(กรมชลประทาน) ดังนั้นพื้นที่นาทั้งประเทศประมาณ 60 ล้านไร่ต้องใช้น้ำถึง 60,000 ล้านคิวบิกเมตร/ฤดู นาชลประทาน 1ไร่ผลผลิตเฉลี่ย 80 ถังหรือ 800 กก.ข้าวเปลือก ดังนั้นข้าวสาร 1กก.ใช้น้ำเพาะปลูกประมาณ 20 คิวหรือ 20000 ลิตร (อัตราข้าวเปลือก 100 ถังสีเป็นข้าวขาวได้ประมาณ 60 ถัง )
สถิติขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติปี 2538 ประมาณการว่าพื้นที่ขาดแคลนน้ำเพาะปลูกจะมีเพียง 8% แต่ในปี 2593 คาดว่าพื้นที่เพาะปลูกที่ขาดแคลนน้ำจะมีถึง 42%
ปัญหาสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงในเขตุศูนย์สูตรหรือเขตุร้อนทำให้ไม่ สามารถคำนึงแต่เฉพาะการขาดแคลนน้ำเท่านั้นแต่ต้องคำนึงถึงเรื่องน้ำมากเกิน หรือน้ำท่วมด้วย ดังนั้นการจัดการน้ำที่เกี่ยวกับพืชจะมีประเด็นหลัก 3 เรื่อง
1 จัดการเพื่อให้พืชได้รับน้ำที่พอเหมาะตามช่วงการวงจรของพืชและชนิดพืช
2 จัดการการระบายน้ำ
3 การจัดการคุณภาพน้ำ
-การจัดการให้พืชได้รับน้ำที่พอเหมาะหรือการให้น้ำ โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ต้องพิจารณาก็คือวิธีการให้น้ำ ความต้องการน้ำของพืชแต่ละช่วงวงจร คุณสมบัติกายภาพของดิน สภาพภูมิอากาศ ขณะเดียวกันจากสภาพข้อจำกันในพื้นที่ ความอุดมสมบูรณ์ดินที่ลดลง ต้นทุนในทุกๆประเภทที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นการผลิตพืชต้องให้ได้ทั้งปริมาณที่เหมาะสมและคุณภาพที่ดีที่สุด
มันสำปะหลังได้ นน.หัวมัน/ไร่สูง % แป้งที่สูง
ผักใบอายุสั้น ต้องการน้ำเพียงพอตลอดอายุ
เมลอนผักผลที่มีราคาแพง คุณค่าอยู่ที่ความหวานและกลิ่นหอมของเนื้อผล การจัดการน้ำและธาตุอาหารคือหัวใจในการผลิต
ผลไม้มีคุณภาพ สีรสชาติที่ดี ต้นสมบูรณ์ไม่มีปัญหาโรครากเน่าโคนเน่า โดยผลไม้เหล่านี้จะต้องเลือกทำเลปลูก การเตรียมพื้นที่ การจัดการดิน ธาตุอาหารพืชแต่ละช่วงของรอบปี การจัดการน้ำที่ลงตัวในช่วงใกล้เก็บเกี่ยวและเก็บเกี่ยว
-การออกแบบระบบน้ำ การเลือกระบบให้น้ำที่เหมาะสมกับพืช กับสภาพพื้นที่ กับผู้ใช้งาน ยังมีประเด็นที่จะต้องให้ทำความเข้าใจและถ่ายทอดให้ผู้จัดการระบบน้ำเข้าใจ ต่อไปก็คือการจัดการน้ำ โดยมีประเด็นเรื่องของ ความสัมพันธ์ ดิน น้ำ พืช รวมทั้งภูมิอากาศเหนือระดับดินที่ปลูกพืชด้วย
-ปกติคำแนะนำในการให้น้ำแก่พืชจะแนะนำให้ระดับน้ำในดินมีค่าที่เรียกว่า Field Capacity ซึ่งมีทั้งการคำนวณโดยใช้ค่าการระเหยน้ำจากถาดระเหยและค่าสัมประสิทธิ์การ คายน้ำของพืชอ้างอิง อีกวิธีที่ชัดเจนขึ้นคือการวัดค่าความต่างศักดิ์ระหว่างน้ำในดินกับอากาศโดย ใช้เครืองมือคือเทนซิโอมิเตอร์ ซึ่งจะมีวิทยาการบรรยายในช่วงต่อๆไป
-ประเด็นที่ควรทำความเข้าใจมากขึ้นคือเรื่องของสรีรวิทยาของพืชที่มีความ สำคัญมากในปัจจุบันและอนาคตเนื่องจากการที่จะต้องแข่งขันกับเรื่องต้นทุนการ ผลิต การแข่งขันกับสินค้าจากบางประเทศที่ต้นทุนต่ำกว่า ความต้องการสินค้าที่มีคุณภาพสูงของโรงงานแปรูปหรือผู้บริโภค การต้องการอาหารที่ปลอดภัยจากเชื้อโรคและสารเคมี การให้น้ำพืชจึงไม่สามารถใช้เกณฑ์ของการรักษาน้ำในดินให้อยู่ในระดับที่พืช นำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเท่านั้น โดยเฉพาะในฤดูแล้งในอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำทำให้ปากใบพืชปิดแคบลงเพื่อ ลดการคายน้ำให้มากที่สุด การให้น้ำมากจึงไม่มีประโยชน์ดังที่คิดตามที่เคยเรียนรู้กันมา การเพิ่มความชื้นในอากาศโดยระบบพ่นฝอยหรือฝนเทียมจะช่วยให้พืชยังคงเปิดปาก ใบและคายน้ำต่อไปทำให้กระบวนการดูดน้ำของรากและการสังเคราะห์แสงดำเนินต่อไป ได้ (สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์ )
การจัดการระบายน้ำ เป็นอีกประเด็นท่ำคัญที่ต้องทำความเข้าใจ ทั้งนี้สภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงทำให้ปริมาณฝนตกไม่เป็นไปตามปกติ ตกมากในระยะเวลาสั้นๆทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างไม่คาดฝันได้ไม่ว่าจะเป็นที่ บริเวณใดโดยเฉพาะที่ลุ่มหรือที่ลาดเชิงเขาเนื่องจากน้ำระบายไม่ทัน โดยเฉพาะในแปลงปลูกพืชที่เป็นพืชไร่ในพื้นที่ขาดใหญ่หรือแปลงย่อยๆที่รวมกัน เป็นแปลงใหญ่ การเกิดน้ำขังเพียงบางจุดจะทำให้รากพืชบริเวณนั้นขาดอากาศทำให้การเจริญเติบ โตหยุดชะงักทันที สวนทุเรียนปัจจุบันชาวสวนจึงต้องปลูกแบบยกโคกสูงๆแทนการปลูกแบบยกร่องอย่าง เดียวอย่างสมัยก่อน สวนส้มอย่างน้อยก็ต้องยกร่องลูกฟูก ไร่สับปะรดต้องทำคอนทัวร์ให้มีการระบายน้ำที่ดีตลอดแปลงปลูก แปลงมะละกอต้องยกร่องให้สูงเนื่องจากมะละกออ่อนไหวต่อรากขังน้ำและน้ำที่พอ ดีทำให้คุณภาพมะละกอรสชาดอร่อยเข้มข้นและสีเข้มกว่า
คุณภาพน้ำ น้ำเพื่อการเพาะปลูกในบ้านเราส่วนใหญ่จะเป็นน้ำผิวดินหรือน้ำฝนเป็นส่วน ใหญ่ โดยการสูบไปใช้โดยตรงหรือการเก็บกักไว้ในบ่อเก็บน้ำ มีจำนวนหนึ่งที่ใช้น้ำบาดาล ในส่วนของคุณภาพน้ำที่จะต้องคำนึงก็คือเรื่องของค่า pH หรือค่ากรดด่าง ค่าความเค็มหรือ EC โดยเฉพาะเกลือโซเดี่ยมในบางพื้นที่อาจจะมีปัญหาโดยเฉพาะในเขตุภาคตะวันออก เฉียงเหนือ กำแพงแสนบางจุด รวมทั้งจังหวัดริมทะเล การแก้ไขทำได้ยากและต้นทุนสูงมากซึ่งอาจใช้เกลือจืดหรือยิบซั่มจะช่วยได้ กรณีน้ำบาดาลหรือน้ำในพื้นที่ที่มีหินปูนมากทำให้น้ำ pH สูงหรือเป็นด่างก็ทำให้พืชไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควรนอกจากการเลือกพืชบาง ชนิดที่ทนด่างได้ดีเช่นน้อยหน่า มะม่วง นอกจากดินด่างแล้วดินบางแห่งจะมีหินปูนอยู่มากเช่นแนวลพบุรี สระบุรี เพชรบูรณ์ ทำให้เหมาะในการปลูกพืชไร่หรือไม้ผลบางชนิดเท่านั้เครื่องมือสมาร์ทฟาร์มเท คโนโลยี่ ขอกล่าวไว้เล็กน้อยเกี่ยวกับเรื่องการใช้เครืองมือช่วยในการจัดการการผลิต พืชเพื่อเข้าสู่ “ Precision Farming Technology” ซึ่งเป็นนโยบายของทุกประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะญี่ปุ่น อมเริกาที่บุกเบิกเรื่องนี้มายาวนาน นั่นคือการใช้เครืองมือ Field Server ที่มีเซ็นเซอร์ร่วมกับ Mobile Application เพื่อบริการข้อมูลสภาพภูมิอากาศ ทั้งฝน ลม ความชื้นสัมพัทธ์ แสงแดด การวัด N ,K ,Na ในดิน การบริการข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการพืชสำคัญๆเพื่อให้ระบบการผลิตของประเทศ ไม่ใช้เพียงความรู้สึกจากความชำนาญหรือประสบการณ์แบบดั้งเดิมอย่างเดียวแต่ ต้องเป็นการบริการข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่ใครก็ใช้ได้และใช้เป็น อย่างกรณีญี่ปุ่นส่งนักศึกษาปริญญาเอกมาทำ Post Doct. เกี่ยวกับไม้ผลเมืองร้อนจนได้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับพืชเมืองร้อนของเราซึ่ง เขาจะแปลงข้อมูลเหล่านี้ไปเป็นลักษณะของ Package ไปทำที่พม่าหรือลาวหรือการปลูกในโรงเรือนเมืองหนาวอย่างญี่ปุ่นเองก็ได้ ข้อมูลเหล่านี้เมื่อตกผลึกจนนิ่งแล้วอาจจะมีบริการในลักษณะ Ontology บริการอยู่บน Cloud Computer ที่สามารถเข้าดูได้ในลักษณะของ Service knowledge Platform ซึ่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดงานเกี่ยวกับ Service Innovation ขึ้นในเดือนกันยายนปลายปี 2556 นี้ ในหัวข้อจะมีเรื่องของการเกษตรอยู่ด้วย โดยเจ้าภาพคือ Nectec ภายใต้สวทช.กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯร่วมกับกระทรวงเกษตรฯกระทรวง ICT เป็นต้น
ดังนั้นเรื่องของ น้ำ การให้น้ำ เป็นพื้นฐานที่ยังต้องเกี่ยวข้องกับ พืช ดิน ภูมิอากาศ การจัดการคือคนและวัฒธรรมของสังคมนั้นๆว่าจะพัฒนายอมรับเรื่องเหล่านี้กัน อย่างไร
เปรมปรี ณ สงขลา
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในการฝึกอบรวม “การออกแบบระบบให้น้ำพืชแบบมืออาชีพ” โดยภาควิชาเกษตรกลวิทาน คณะเกษตร มก.บางเขน และสถาบันวิชาการเคหการเกษตร เดือนมีนาคม-เมษายน 2556
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต