จากประชาชาติธุรกิจ
คอลัมน์ เรื่องราวกับความคิด
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ htpp//:viratts.wordpress.com
ผม มีข้อเสนออย่างตั้งใจในฐานะผู้จุดกระแสเกษตรกรรม และ AEC มากว่า 2 ปี ว่าแนวโน้มสำคัญ-ฟาร์มขนาดใหญ่กำลังเกิดขึ้นและขยายตัว จะมีบทบาททางเศรษฐกิจในภูมิภาค
มากขึ้น โดยนักธุรกิจไทยเป็นผู้เล่นสำคัญ
ผมเคยนำเสนอแนวคิดอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ตั้งแต่กลางปี 2553 ด้วยการจับปรากฏการณ์ของกลุ่มธุรกิจรายใหญ่
เริ่มต้นจาก กลุ่มไทยเจริญ หรือทีซีซี ในความพยายามรุกคืบสู่ธุรกิจเกษตร
ด้วย การลงสู่ระบบการบริหารเกษตรกรรมรายใหญ่ ซึ่งเรียกว่า Plantation (อ้างจากบทความเรื่อง เกษตรกรใหญ่ มติชนสุดสัปดาห์ กรกฎาคม 2553 หรือจากหนังสือ ยุทธศาสตร์เอาตัวรอดของกูรูธุรกิจ สำนักพิมพ์มติชนปี 2554)
ขณะเดียวกัน เสนอความเคลื่อนไหวของผู้นำธุรกิจเกษตรอันโดดเด่นอย่าง
ซี พี ว่า ได้ซุ่มดำเนินธุรกิจการเกษตร ที่เรียกว่า "กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร" โดยริเริ่มโครงการข้าวครบวงจรตั้งแต่ปี 2537 (จากเรื่องธนินท์กับเจริญ มติชนสุดสัปดาห์ สิงหาคม 2553)
ความเคลื่อนไหวทั้งสองรายใหญ่
ครึกโครมประหนึ่งเป็นภาพที่โผล่พ้นน้ำ
แต่ขณะเดียวกัน เสนอความเคลื่อนไหวเงียบ ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้านด้วย
เครือ ข่ายธุรกิจทีซีซีโดยกลุ่มพรรณธิอร ขยายธุรกิจสู่กัมพูชามาตั้งแต่ปี 2549 โครงการอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มครบวงจร ในพื้นที่ประมาณ 150,000 ไร่ ในเกาะกง ขณะเดียวกัน กลุ่มธุรกิจน้ำตาลรายใหญ่อื่น ๆ มุ่งสู่ธุรกิจขั้นต้น-การปลูกอ้อยด้วยการลงทุนในประเทศกัมพูชาเช่นเดียวกัน
กลุ่ม น้ำตาลมิตรผล เริ่มต้นธุรกิจในประเทศลาว (ตั้งแต่ปี 2548) ตามแผนการปลูกอ้อยประมาณ 1 แสนไร่ และตั้งโรงงานผลิตน้ำตาลมากถึงล้านตัน/ปีในแขวง
สะหวันนะเขต
ขณะที่กลุ่มเคเอสแอลเปิดโรงงานผลิตน้ำตาล ถือได้ว่าเป็นโรงงานน้ำตาลแห่งแรกของประเทศกัมพูชา
(ต้น ปี 2553) ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการในโครงการเพาะปลูกอ้อยและก่อสร้างโรงงานน้ำตาล ที่จังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา เนื้อที่รวมกันมากกว่า 1 แสนไร่
ในประเทศลาวมีความเคลื่อนไหว
จากธุรกิจไทยอย่างคึกคักเช่นกัน กลุ่ม
พร รณธิอรใช้พื้นที่ประมาณ 15,000 ไร่ ในโครงการครบวงจรจากการปลูกกาแฟในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1.300 เมตร บริเวณที่ราบสูงในแขวงจำปาสัก
บริษัทสยามน้ำมันละหุ่ง ส่งเสริมการ
ปลูก และรับซื้อเมล็ดละหุ่งในแขวงเวียงจันทน์และไซยะบุรี กลุ่มแอ๊ดวานซ์ อะโกร เจ้าของผลิตภัณฑ์กระดาษดั๊บเบิ้ล เอ ส่งเสริมและรับซื้อไม้ยูคาลิปตัสในแขวงสะหวันนะเขต คำม่วน และเวียงจันทน์ บริษัทไทยฮั้วยางพารา ผู้นำธุรกิจยางพาราร่วมทุนกับฝ่ายลาวนำกล้ายางไปทดลองปลูกและ
ส่งเสริมเกษตรกรในแขวงสะหวันนะเขต และบริษัทเจียเม้ง ธุรกิจค้าข้าวเก่าแก่ของไทย เข้าไปทดลองปลูกข้าวทั้งพันธุ์
พื้นเมือง และพันธ์ใหม่ ๆ ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์
หากรวมการลงทุนของ ปตท.ในอินโดนีเซีย ในโครงการปลูกปาล์มน้ำมันมากกว่า 2 แสนไร่มาตั้งแต่ปี 2550 เข้าไปด้วย ภาพดูตื่นเต้นขึ้นอีก
ภาพ เหล่านั้นมีความเชื่อมโยงกับการหลอมรวมระบบเศรษฐกิจภูมิภาค (Asean economic community-AEC 2016) โดยตรง และมีความเคลื่อนไหวกระชับพื้นที่มากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ต่อเนื่อง
ที่ไม่ใช่เกาะ ไปทั้งฝั่งตะวันออก-พม่า และฝั่งตะวันตก-เวียดนาม และยังผนวกดินแดนบางส่วนของจีนแผ่นดินใหญ่ตอนใต้ไว้ด้วย
ความ เคลื่อนไหวอันคึกคักของธุรกิจไทย สะท้อนความเปลี่ยนแปลงฐานะของเกษตรกรรมไปจากเดิมอย่างมาก ธุรกิจไทยถือว่ามีประสบการณ์ทั้งโดยตรงและเชื่อมโยงกับเกษตรกรรม ถือว่าเป็นจุดแข็งที่สุดในภูมิภาคก็ว่าได้ ย่อมมองเห็นโอกาส
เกษตรกรรม เป็นฐานของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง จากอุตสาหกรรมอาหาร พลังงาน สู่ยารักษาโรค เป็นวงจรกว้างและต่อเนื่องมากขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรกรรมสูงขึ้น การค้นคว้าว่าด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology) มีมากขึ้น ธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพเติบโตขึ้นในระดับโลก
ปัญหาจากสภาพอากาศ เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เกษตรกรรมมีความไม่แน่นอนมากขึ้น แรงบีบคั้นและแรงบันดาลใจให้มีการค้นคว้าวิจัยอีกด้านหนึ่งอย่างเข้มข้น
มากขึ้น นั่นคือความพยายามบริหารจัดการเกษตรกรรมให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากขึ้น อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
การเกษตรเติบโต ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเกษตรกรรมแปลงใหญ่ก็พัฒนาขึ้นมาก
เมื่อเป็นเช่นนี้โอกาสของเกษตรกรรม
รายย่อย ซึ่งถือเป็นผู้ประกอบการพื้นฐานของสังคมไทยย่อมมีปัญหาความสามารถในการปรับตัวหรือพัฒนาตนเองก้าว
เข้าสู่ยุคใหม่
แต่อย่างไรก็ตาม เกษตรกรรมแบบแปลงใหญ่ (mega farm) ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบในประเทศไทย
เกษตรกรรายย่อย ไม่สามารถเผชิญและรับความเสี่ยงจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงมากขึ้นจากเดิม
เกษตรกรรายย่อยไม่มีความสามารถ แสวงหาเงินทุนและเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาจัดการกับเกษตรกรรมแปลงเล็กเพื่อ
การค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความเปลี่ยนแปลงข้างต้นเป็นกระแสหลัก ดูเหมือนจะหลีกเลี่ยงยาก ผมเคยเสนอภาพทำนองนี้มาแล้ว
"ความ จริงแล้วโครงสร้างการเกษตรพื้นฐานของไทยเปลี่ยนไปจากเดิมมากแล้ว เกษตรกรรายย่อยค่อย ๆ เปลี่ยนตัวเองเป็นลูกจ้างในภาคเกษตร ขณะที่พวกเขาจำนวนมากไม่มีที่ทำกินหรือมีบ้างก็ให้เช่าในราคาถูก กับ "ผู้รับเหมา" รายค่อนข้างใหญ่ ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจในท้องถิ่น ดำเนินการบริหารแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ ในพื้นที่แปลงค่อนข้างใหญ่ ด้วยระบบว่าจ้าง รวมทั้งสินเชื่อนอกระบบจากพ่อค้าสินค้าที่เกี่ยวข้อง" (อ้างแล้วจากบทความเรื่อง เกษตรกรใหญ่ มติชนสุดสัปดาห์ กรกฎาคม 2553)
อย่าง ไรก็ตาม ผมยังเชื่อว่าเกษตรกรรมกระแสรองที่มุ่งสู่มูลค่าเพิ่มอย่างเฉพาะเจาะจง ยังคงดำรงอยู่ และอ้างอิงกับเกษตรกรรมแบบ Mega Farm ต่อไปได้
ขณะ เดียวกัน เนื่องจากที่ดินแปลงใหญ่ในประเทศขนาดนับหมื่นไร่ขึ้นไปมีน้อย เนื่องจากมีเจ้าของกระจัดกระจายจำนวนมาก อีกทั้งนักลงทุนรายใหญ่มีความกังวลใจการกว้านซื้อพื้นที่แปลงใหญ่ จากระบบกรรมสิทธิ์ที่ดินของสังคมไทยจากรากเหง้าสังคมศักดินา
เกษตรกรรม แปลงใหญ่ของไทยส่วนใหญ่จึงเป็นเพียงระดับพันไร่ ถือเป็นเรื่องท้าทายของเกษตรกรรายใหญ่ในการจัดการและพัฒนา ซึ่งเชื่อว่าพื้นที่เกษตรกรรมในประเทศคงมีบทบาทเป็นส่วนสำคัญของการวิจัยและ พัฒนาของธุรกิจเกษตรของไทย เพื่อการต่อยอดเกษตรกรรมในพื้นที่แปลงใหญ่นอกประเทศต่อไป
ความ เคลื่อนไหวอันครึกโครมระดับภูมิภาคที่เริ่มต้นจากกัมพูชาและลาว มาจากแรงขับดันในประเทศเป็นสำคัญ จึงดำเนินต่อไป ความพยายามแสวงหาพื้นที่แปลงใหญ่นอกประเทศมีมาก ในปัจจุบันที่ดินแปลงใหญ่ภูมิภาคระดับหมื่นไร่ขึ้นไปในประเทศเพื่อนบ้านก็ เหลือน้อยลงเช่นกัน
เป็นเรื่องไม่น่าเชื่อนักว่า ซีพีเดินแผนค่อนข้างอนุรักษนิยม ทั้งที่เริ่มต้นธุรกิจพืชครบวงจรตั้งแต่ปี 2537 แม้ปัจจุบันดูเหมือนเชื่อมั่นในแนวทาง Mega Farm มากขึ้น
"ในปี 2551-2553 บริษัทขยายธุรกิจปาล์มน้ำมัน โดยเริ่มโครงการที่นครศรีธรรมราช 2,200 ไร่ ชุมพร 600 ไร่ และกำแพงเพชร 122 ไร่ โดยแต่ละจุดจะเป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีเป้าหมายจุดละ 10,000 ไร่ รวมพื้นที่โครงการในระยะแรก 60,000 ไร่ และเตรียมกำหนดพื้นที่เป้าหมายเพื่อตั้งโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มในพื้นที่ดัง กล่าว" (ข้อมูลจากกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร (http://www.cpcrop.com) สู่การขยายตัวในประเทศเพื่อนบ้านก็มีเพียง "เราได้เข้าไปดำเนินการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดในประเทศใกล้เคียง ได้แก่ เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา ส่งเสริมให้เขาผลิตข้าวโพดแล้วเรารับซื้อผลผลิตกลับมาอีกที"
อย่างไรก็ตาม ไม่ควรประเมินซีพีต่ำเกินไป
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต