จากสำนักข่าวอิสรา
ถ้านึกถึงการไปเที่ยวบนดอยอินทนนท์ เราก็จะนึกถึงการไปสัมผัสบรรยากาศที่หนาวเย็นบนยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย
โดย...ทวีชัย ธวัชปกรณ์
ถ้านึกถึงการไปเที่ยวบนดอยอินทนนท์ เราก็จะนึกถึงการไปสัมผัสบรรยากาศที่หนาวเย็นบนยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศ ไทย ทะเลหมอกยามเช้า สักการะพระธาตุนภเมทนีดล พระธาตุนภพลภูมิสิริ และการเที่ยวชมความงามของไม้ดอกนานาพันธุ์ในโครงการหลวงดอยอินทนนท์
วันนี้จะพาไปเที่ยวที่ที่แปลกออกไปนิดหน่อย คือการไปเยี่ยมชมงานวิจัยประมงบนที่สูง ด้วยการดึงศักยภาพของข้อจำกัดของสภาพน้ำบนดอยสูงที่มีอุณหภูมิเย็นจัดตลอดปี และน้ำจากลำธารที่ไหลมาจากน้ำตกสิริภูมิ ทางกรมประมงจึงริเริ่มโครงการงานวิจัยประมงบนที่สูง
โดยการหาสายพันธุ์สัตว์น้ำจากต่างประเทศที่มีถิ่นอาศัยและระบบนิเวศใกล้ เคียงกับสภาพพื้นที่บนดอย อีกทั้งยังได้รับความนิยมสูง ได้แก่ ปลาเรนโบว์เทราต์ จากอเมริกาเหนือ กุ้งก้ามแดงจากออสเตรเลีย และปลาสเตอร์เจียนไซบีเรียที่นิยมนำไข่ปลามารับประทาน ที่เรารู้จักกันในชื่อ “ไข่ปลาคาเวียร์” (เป็นภาษาอิตาเลียน เนื่องจากอิตาลีเป็นประเทศแรกที่ถนอมไข่ปลาสเตอร์เจียนเพื่อเก็บได้นาน)
โดยสายพันธุ์ที่ประสบความสำเร็จทั้งในรูปแบบการเพาะเลี้ยงและการให้ผล ผลิตอย่างเป็นรูปธรรมภายในงานวิจัยประมงบนที่สูง ได้แก่ ปลาเรนโบว์เทราต์และกุ้งก้ามแดง ที่ได้มีการนำออกจำหน่ายทั้งภายในโครงการหลวงดอยอินทนนท์ และกระจายส่งไปยังร้านค้าทั่วประเทศตามคำสั่งซื้อ โดยสามารถลดการนำเข้าปลาเรนโบว์เทราต์ได้ปีละกว่า 20 ตัน
ส่วนในปลาสเตอร์เจียนยังต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง เนื่องจากปลาจะให้ไข่เมื่ออายุ 7 ปีขึ้นไป จึงเป็นโครงการที่ใช้เวลาค่อนข้างจะยาว ต่างจากปลาเรนโบว์เทราต์ที่ใช้เวลาการเลี้ยงเพียง 7-8 เดือน ก็สามารถนำออกจำหน่ายได้ ส่วนกุ้งก้ามแดงก็ใช้เวลาเริ่มจากเลี้ยงจนจับออกจำหน่ายไม่นานนัก ทำให้มีการส่งเสริมให้ชาวเขาเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในนาข้าว รวมถึงการเลี้ยงปลาเรนโบว์เทราต์ในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ดอยคำตามแนวพระ ราชดำริ ภายในงานวิจัยบนที่สูงยังมีโครงการที่จะทำศูนย์แปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ได้จากที่นี่ ทั้งการชำแหละ และแปรรูป เพื่อผลิตอาหารให้ได้มาตรฐานตามหลักสากล โดยมีสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เข้ามาช่วยในการออกแบบและวางระบบการทำงาน
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต