จากประชาชาติธุรกิจ
โดย พัฒนพันธุ์ วงษ์พันธุ์
เดี๋ยวนี้คนไทยเป็นหนี้กันง่ายเหลือเกิน เพราะมีช่องทางเอื้ออำนวยให้เป็นหนี้มากมาย ทั้งหนี้ในระบบและนอกระบบ
น่า ยินดีอย่างยิ่งที่หน่วยงานหลักด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศชัก เป็นห่วงว่าคนไทยกำลังเป็นหนี้เป็นสินมากเกินไปหรือเปล่า โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ไม่ถึงเดือนละ 1 หมื่นบาท
หน่วยงานแรกที่ออกมาส่งสัญญาณดังกล่าวคือ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์
อีก หน่วยงานหนึ่งที่ตามมาติด ๆ คือแบงก์ชาติ หรือธนาคารแห่งประเทศไทย ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นกระทั่งว่าแบงก์ชาติต้องขอหารือกับผู้บริหารธนาคาร พาณิชย์ต่าง ๆ ขอให้เพลา ๆ มือการส่งเสริมการขายลงสักหน่อยเรื่องนี้มีที่มา สืบเนื่องจากแบงก์ชาติตรวจสอบพบว่า นับแต่ต้นปีจนถึงสิ้นไตรมาสที่ 3 สินเชื่อเพื่อการบริโภค (บรรดาเงินด่วน หรือบัตรเงินสดทั้งหลาย) เติบโตจากต้นปีถึง 23.67% และมียอดค้างชำระยังใช้หนี้ไม่หมดสูงถึง 643,889 ล้านบาท
เทียบ กับปีก่อนๆ ที่ว่าร้อนแรงแล้วยังมีอัตราการเติบโต 15-20% เท่านั้นที่สินเชื่อเพื่อการบริโภคโตพรวด ๆ เป็นประวัติการณ์ เช่นนี้ นอกจากเป็นสินเชื่อที่ไม่ต้องมีหลักทรัพย์มาค้ำประกัน มองกันว่าเป็นผลจากที่ผ่านมาบรรดาแบงก์และน็อนแบงก์แข่งขันกันดุเดือดเหลือ เกิน มีการออกแคมเปญโฆษณาเร่งเร้าถี่ยิบ
ขณะ ที่เครดิตบูโร หน่วยงานผู้มีหน้าที่รวบรวมรายละเอียดการก่อหนี้ของประชาชน เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ยืนยันในสิ่งที่แบงก์ชาติวิตกกังวล นั่นคือหนี้ภาคครัวเรือนมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และหากปล่อยให้สถานการณ์ดำเนินต่อไปแบบนี้ก็อาจเป็นปัญหาลุกลาม ประมาณว่ากู้หนี้นอกระบบมาชำระหนี้ในระบบกลายเป็นดินพอกหางหมูไปเรื่อย ๆ จริงอยู่ แม้ว่าการเรียกประชุมผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ของแบงก์ชาติครั้งนี้จะเป็น เพียงแค่การ "ป้องปราม" และไม่ครอบคลุมถึง "น็อนแบงก์" ในลักษณะของการขอความร่วมมือ โดยให้แต่ละแบงก์กลับไปใช้ดุลพินิจตามความเหมาะสม ไม่ไปออกแคมเปญโฆษณา โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิตมากเกินไป ซึ่งคงมีผลในทางปฏิบัติอยู่พอสมควร
แต่ กับเงินกู้นอกระบบคงเป็นอีกเรื่อง เพราะเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดเรียกว่าท้าทายกฎหมายกันอย่างเปิดเผย มีป้ายโฆษณาเงินด่วนติดให้เห็นทุกเสาไฟฟ้าพอมีข่าวลูกหนี้ถูกทำร้ายปางตาย จากแก๊งทวงหนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจถึงได้เอาจริงกันที จากนั้นก็เงียบกันไป เป็นวัฏจักรหมุนเวียนอยู่แบบนี้ ซึ่งถ้าจะไล่ปราบปรามกันจริง ๆ หลักฐานก็เห็นอยู่ทนโท่ แต่น่าแปลกใจที่ไม่เห็นมาตรการใด ๆ ที่ต่อเนื่อง เป็นรูปธรรม ทั้งที่เงินกู้นอกระบบโหดร้ายกว่าเงินกู้ในระบบมากมาย ถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัว
ขณะ เดียวกันเรากลับได้เห็นโครงการแนว "ประชานิยม" ทั้งบ้านและรถยนต์คันแรก ฯลฯ ซึ่งมีทั้งผลดีและผลเสีย กระตุ้นให้คน "เป็นหนี้" โดยที่ตัวเองไม่มีความพร้อมเพียงพอ
ด้าน หนึ่งเราเห็นความพยายามของรัฐ ขับเคลื่อนนโยบายสร้างงานต่าง ๆ ออกมากมาย หาวิธีการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้น แต่กับการแก้ปัญหาหนี้สินทั้งในและนอกระบบ เรายังไม่เคยได้ยินคำว่า "บูรณาการ" เกิดขึ้น
รัฐบาลมีเพียงแค่การพักหนี้ การปลอดหนี้
การ แก้ปัญหาด้วยแนวทางดังกล่าว นอกจากจะไม่สร้างวินัยให้คนในชาติ มีมากใช้มาก มีน้อยใช้น้อย ยังก่อให้เกิดความคิดที่ว่าการ "สร้างหนี้" เป็นเรื่องปกติธรรมดา ใคร ๆ ก็มีหนี้กันได้
ถ้าเป็นถึงขนาดนี้ ไม่ช้าก็เร็ว มีหวังได้พบกับหายนะแน่นอน
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต