จาก โพสต์ทูเดย์
ยัง คงเป็นปัญหาที่คิดอย่างไรก็คิด ไม่ตก กับการป้องกันไม่ให้มีการนำข้าวสารมา “เวียนเทียน” เข้าโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาลซ้ำซาก
โดย...จตุพล สันตะกิจ
ยังคงเป็นปัญหาที่คิดอย่างไรก็คิดไม่ตก กับการป้องกันไม่ให้มีการนำข้าวสารมา “เวียนเทียน” เข้าโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาลซ้ำซาก
เพราะ ตั้งแต่เริ่มโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2554/2555 จนถึงโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/2556 กระทรวงพาณิชย์คิดค้นวิธีปิดช่องโหว่ แต่จนแล้วจนรอดก็มีข้าวสารออกมาเวียนเทียนเข้าโครงการจนได้ ทั้งข้าวเก่าค้างโรงสี ข้าวสารที่โรงสีหาซื้อได้ในต้นทุนต่ำและส่งมอบเข้าโครงการแทนข้าวเปลือกที่ เพิ่งรับจำนำมา และข้าวสารต่างด้าว
กรณีคลิปที่ “หมอวรงค์” นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม สส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ โชว์คลิปรถสิบล้อขนข้าวสารจากโกดังกลางไปส่งให้โรงสีแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ซึ่งเป็นโรงสีที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว และรับจำนำข้าวเปลือกจากเกษตรกรเข้าโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลเป็นจำนวน หลายพันตัน
แต่แทนที่โรงสีแห่งนั้นจะนำข้าวเปลือกที่รับจำนำมาส่งมอบเข้าโกดังกลางของรัฐบาล
โรงสีที่ว่านี้นำ “ข้าวเปลือก” ที่รับจำนำมาเข้าสู่กระบวนการทำเป็น “ข้าวนึ่ง” เพื่อส่งออกหรือส่งมอบให้ลูกค้าต่างประเทศ ซึ่งข้าวนึ่งที่ว่านี้เป็นผลิตภัณฑ์ข้าวประเภทหนึ่งของไทย ที่ต้องบอกว่าเป็นที่ต้องการของตลาดและขายได้ที่ราคาเกิน 600 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือ 1.8 หมื่นบาทต่อตันทีเดียว
เมื่อ โรงสีนำข้าวเปลือกไปทำเป็นข้าวนึ่งแล้ว ก็ต้องหาข้าวสารไปส่งโกดังรัฐบาลตามสูตรและอัตราส่งมอบข้าวสารที่กำหนด โดยกระทรวงพาณิชย์ เช่น หากโรงสีรับจำนำข้าวเปลือกเจ้า 1 ตัน จะต้องส่งมอบข้าวสารหรือเรียกว่า “ต้นข้าว” เข้าโกดังกลาง 460 กิโลกรัม ข้าวท่อน 70 กิโลกรัม และข้าวปลายข้าวเอวันเลิศ 130 กิโลกรัม เป็นต้น
ขณะที่กระบวนการสีแปรสภาพข้าวโรงสีจะได้รับค่าจ้าง 500 บาทต่อตันข้าวเปลือก
ทีนี้เมื่อโรงสีนำข้าวเปลือกไปทำเป็น “ข้าวนึ่ง” หรือบางกรณีนำข้าวในโครงการรับจำนำมาสีแปรและขายไปในท้องตลาด ก็จำเป็นต้องหาข้าวสารมาส่งมอบเข้าโกดังกลาง ส่วนจะหาข้าวสารจากที่ไหนก็จะมีกระบวนการ “นายหน้า” นำข้าวสารจากโครงการรับจำนำของรัฐบาลมาเร่ขายให้โรงสี
เหมือน กรณีบริษัท GSSG IMP AND EXP.CORP ซึ่งบริษัทรัฐวิสาหกิจจีนที่เป็นคู่สัญญาซื้อขายข้าวกับรัฐบาลไทย มอบอำนาจให้บุคคลที่มีความเกี่ยวพันกับบริษัท สยามอินดิก้า “ขาใหญ่” ที่ผูกขาดซื้อข้าวสารจากสต๊อกรัฐบาลเมื่อปี 2547 กว่า 2 ล้านตัน เป็นผู้ขนข้าวจากโกดังกลางและเวียนเทียนเข้าโรงสีแห่งนั้น
“ปี นี้เราจะพบว่าข้าวสารที่เราส่งออกไปแล้ว 5-6 ล้านตัน เป็นข้าวนึ่ง 2 ล้านตัน ซึ่งแม้ว่าจะเป็นปริมาณน้อยกว่าก่อนมีโครงการรับจำนำที่ไทยส่งออก 4 ล้านตัน แต่ถือว่ามากเมื่อเทียบกับปริมาณส่งออกข้าวในปีนี้” สมพร อิศวิลานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านข้าว สถาบันคลังสมองของชาติ เปิดเผยข้อมูล
แรงจูงใจที่ทำให้โรงสีกล้าเสี่ยงซื้อ “ข้าวเก่า” มาเวียนเข้าโครงการรับจำนำมีอย่างน้อย 2 เหตุผล คือ 1.ต้นทุนข้าวสารที่โรงสีซื้อจากนายหน้าที่ราคา 14-15 บาทต่อกิโลกรัม กับข้าวเปลือกที่นำไปเข้าสู่กระบวนการข้าวนึ่งหรือขายในตลาดปกติ ทำให้โรงสียังพอมีกำไรอยู่บ้าง
2.นายหน้าที่นำข้าวมาเร่ขายโรงสีต่างก็รู้ดีว่าเป็นใคร เส้นหนาขนาดไหน เมื่อซื้อข้าวแล้วย่อมได้สิทธิในการคุ้มครองโดยปริยาย
นอกจากนี้ ยังมีกรณีกระทรวงพาณิชย์ “ผ่อนปรน” ให้ โรงสี ที่เข้าโครงการรับจำนำ นำข้าวสารที่สีแปรแล้วแต่ไม่ส่งข้าวเข้าโกดังกลางได้ เพราะโกดังกลางล้นจนไม่มีที่เก็บไปขาย และนำข้าวเปลือกที่รับจำนำเข้ามาใหม่มาสีแปรสภาพเป็นข้าวสารหมุนเวียนแทน ข้าวสารที่ขายออกไป
โดย ขั้นตอนนี้จะมีการตกลงราคาซื้อขายกันระหว่างเจ้าหน้าที่กระทรวง พาณิชย์และโรงสีนั้น ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าราคาเป็นเท่าใด และจะมีเงินส่วนหนึ่งเข้าบัญชีขายข้าวของกรมการค้าต่างประเทศ
“ตอน นี้โรงสีที่รับจำนำข้าวเปลือกมาเต็มโรงสี และสีข้าวส่งโกดังกลาง แต่โกดังกลางเต็ม กระทรวงพาณิชย์จะตกลงกับโรงสีให้นำข้าวที่สีแปรสภาพแล้วไปขายในตลาด ซึ่งที่ทราบมาก็จะเป็นโรงสีแถวภาคใต้ ส่วนราคาข้าวที่ตกลงซื้อขายกันไม่รู้ว่าเป็นเท่าไหร่ แต่แน่นอนว่าต้องเป็นราคาที่โรงสีได้กำไร” แหล่งข่าววงการค้าข้าวเปิดเผยวิธีการ
กระบวน การเวียนเทียนข้าวระดับบน หรือการนำข้าวสารในโกดังกลางมาแอบขายและเวียนเทียนเข้าโครงการรับจำนำ ยังไม่มีแค่ข้าวที่ขายแบบจีทูจีเท่านั้น แต่ยังมี “แก๊งโรงสีไทย” อีกสายหนึ่ง ที่ใกล้ชิดสนิทสนมกับนักการเมืองหญิงที่คนเรียกกันว่า “เจ๊ ด.” สามารถต่อสายขอนำข้าวจากโกดังกลางไปเร่ขายได้
โรงสีที่ว่านี้มีอย่างน้อย 3 แห่ง คือ โรงสี ช. จ.ลพบุรี โรงสี ส. จ.กำแพงเพชร และโรงสี จ. จ.นครราชสีมา
“ตัว ชี้วัดที่ชี้ให้เห็นได้ดีว่ามีการเวียนเทียนข้าวเก่าเข้าโกดังกลาง คือ ปลายข้าวที่มีราคาเพิ่มขึ้นเป็น 15-16 บาทต่อกิโลกรัม จากที่ก่อนมีโครงการรับจำนำข้าว ปลายข้าวอยู่ที่ 11-12 บาทต่อกิโลกรัม เพราะพ่อค้าแย่งซื้อปลายข้าวส่งมอบให้รัฐบาลพร้อมกับต้นข้าว (ข้าวสาร) ที่ซื้อมาในราคาต่ำ” แหล่งข่าววงการโรงสีข้าวเปิดเผย
ไม่เพียงเท่านั้น มีกระบวนการเวียนเทียนข้าวเปลือกระดับล่าง หรือวิสาหกิจระดับชาวนา
อธิบาย ให้เข้าใจง่ายๆ คือ ปกติโครงการรับจำนำข้าวเปลือกกำหนดให้ชาวนานำข้าวเปลือกเข้าโครงการไม่เกิน 2 รอบต่อรายต่อฤดูกาลผลิต ในขณะที่ชาวนาโดยเฉพาะชาวนาภาคกลางทำนาปีละ 3 รอบ
แต่ ชาวนาบางรายจะแจ้งขึ้นทะเบียนพื้นที่ปลูกข้าวเกินความเป็นจริง บางครั้งก็นำพื้นที่ปลูกพืชอย่างอื่นหรือพื้นที่ปลูกบ้านที่อยู่อาศัยมารวม ด้วย
แน่ นอนว่าต้องมีเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรไปตรวจสอบ แต่พื้นที่ปลูกข้าวที่มีจำนวนมากและคนไม่พอ การตรวจสอบจึงทำได้ไม่ทั่วถึง และออกใบรับรองให้เกษตรกร
จากนั้นชาวนาในพื้นที่แถบเดียวกัน ซึ่งส่วนมากจะปลูกข้าวและเก็บเกี่ยวข้าวไม่พร้อมกันอยู่แล้ว จะมีการขอยืม “โควตาข้าว” ที่ระบุไว้ในใบรับรองของแต่ ละฝ่าย และนำข้าวเปลือกที่ปลูกได้ทั้งสามรอบเข้าโครงการรับจำนำได้ทุกเมล็ด แต่ต้องตกลงกันให้ชัดเจนว่าใครขอยืมโควตาข้าวใครไปเป็นจำนวนเท่าไหร่
แต่กรณีนี้พบว่า มีการจับกุมและดำเนินคดีกับชาวนาที่ใช้วิธีการแลก “โควตาข้าว”
เช่นเดียวกันมีโรงสีบางแห่งที่นอกจากจะรับจ้างสีข้าวจากรัฐบาลในโครงการรับจำนำแล้ว ยังทำตัวเป็น “โบรกเกอร์” ขอยืมชื่อชาวนาและใบรับรองเกษตรกรมา “สับหลีก” และ “ยักย้าย” เพื่อให้ข้าวเปลือกที่ชาวนาปลูกได้ทั้งสามรอบเข้าโครงการรับจำนำได้ทั้งหมด และหากยังมีโควตาข้าวเหลืออยู่ก็จะนำข้าวสารจากประเทศเพื่อนบ้านมาสวมสิทธิ
ทว่ากรณีนี้ไม่มีใครตามจับกุมได้
ปรากฏการณ์ เหล่านี้เป็นกระบวนการเวียนเทียนข้าวที่ทำให้วันนี้ข้าวที่ รัฐบาลรับจำนำในโครงการยังวนเวียนอยู่ในประเทศและล้นโกดังจนกระทั่งไม่มีที่ เก็บ ข้าวเก่าก็เต็มโกดัง ส่วนข้าวใหม่ก็ทยอยเข้าโครงการต่อเนื่อง และนี่ก็เป็นสาเหตุที่ว่าในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาราคาข้าวในประเทศมีแต่ตกต่ำลง
“หลัง จากที่ผมให้ข่าวว่า โรงสีส่งข้าวสารเข้าโกดังกลางไม่ได้ เพราะไม่มีโกดังเก็บข้าว นี่ก็ผ่านมา 1-2 อาทิตย์แล้ว แต่สถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น เราส่งข้าวเข้าโกดังกลางเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีข้าวเปลือกที่โรงสีรับจำนำมายังกองค้างอยู่ที่โรงสีจำนวนมาก” มานัส กิจประเสริฐ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าว
ขณะเดียวกันการนำข้าวเก่าเวียนเทียนเข้าโกดังกลางซ้ำซากแล้วนำข้าวใหม่ไปขาย ทำให้ข้าวในโกดังรัฐบาลไม่เป็นที่ต้องการ เพราะ “ข้าวเน่า” สร้างชื่อเสียฉาวโฉ่ให้ข้าวไทยทั้งระบบ
เพราะ วันวานประเทศโกตดิวัวร์ที่รัฐบาลไทยขายข้าวแบบจีทูจี ออกมาโวยวายว่าข้าวสารที่รัฐบาลไทยส่งไปขายนั้นมีคุณภาพไม่ตรงตามสเปก เคราะห์กรรมจึงตกอยู่ที่เซอร์เวเยอร์ที่รับรองคุณภาพข้าวล็อตนั้น และทำให้วันนี้เหล่าเซอร์เวเยอร์ “หน้าใหม่” ที่รับสัมปทานผูกขาดตรวจสอบข้าวโกดังรัฐบาลเริ่มแหยง ไม่กล้ารับรองคุณภาพข้าวทีเดียว
นั่น เท่ากับซ้ำเติมให้ข้าวที่อยู่ในโกดังรัฐบาลที่เดิมขายไม่ออกอยู่แล้ว เพราะราคาสูงกว่าชาวบ้านกลับขายไม่ออกยากยิ่งขึ้น เพราะไม่มีประเทศไหนมั่นใจคุณภาพข้าวไทยแล้ว
ไม่ เพียงเท่านั้น ปรากฏการณ์ที่สอดรับกับการเวียนเทียนข้าวและไม่มีการส่งออกข้าวนอกประเทศก็ คือ การเพิ่มเป้าหมายรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาลครั้งแล้วครั้งเล่า โดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2555 ที่เริ่มแรกเป้ารับจำนำอยู่ที่ 11.11 ล้านตัน ต่อมาคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเพิ่มปริมาณเป็น 13.31 ล้านตัน
ต่อมามีการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่ บุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ เป็นประธาน ได้อนุมัติเพิ่มปริมาณรับจำนำข้าวเป็น 16.6 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นอีก 3.29 ล้านตัน ท้ายที่สุด ครม.สั่งให้ไปเคลียร์ตัวเลขใหม่ เพราะเห็นว่ามีปริมาณข้าวสูงผิดปกติ ทำให้ปริมาณข้าวในโครงการสรุปตัวเลขสุดท้ายที่ประมาณ 14 ล้านตันเท่านั้น
หาก ครม.ไม่เอะใจงานนี้มีข้าวงอก หรือ “ข้าวผี” โผล่ออกมาหารายได้จากรัฐไม่ต่ำกว่า 2 ล้านตัน
โดย เฉพาะโครงการรับจำนำข้าวเปลือกฤดูกาลใหม่ จำเป็นที่ต้องจับตามองอย่างยิ่งว่าจะมีข้าวผีโผล่มาหรือไม่ เพราะอย่าลืมว่าปีนี้การทำนาภาคอีสานและเหนือได้ผลน้อยเพราะภัยแล้ง ขณะที่พื้นที่ทำนาในเขตชลประทานในภาคกลางต้องมีการปันส่วนน้ำ และจึงให้ชาวนาลดการปลูกข้าวไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน
ก็ ไม่รู้ว่าปริมาณรับจำนำข้าวที่รัฐบาลตั้งเป้าว่าจะรับจำนำไม่เกิน 26 ล้านตัน เป็นข้าวเปลือกนาปี 15 ล้านตัน ข้าวเปลือกนาปรัง 11 ล้านตัน จะมีข้าวงอกบนกระดาษหรือไม่
เพราะนั่นเท่ากับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เปิดทางให้เอาเงินภาษีประชาชนไปซื้อ “ข้าวลม” หรือข้าวต่างด้าวที่ลักลอบนำเข้าจากเพื่อนบ้านไปเก็บไว้ในสต๊อกข้าวรัฐบาล
งานนี้คงเปรมปรีดิ์กันทั้งแก๊ง
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต