ผู้นำหญิงไม่ช่วยลด'คอร์รัปชั่น' แค่กล้าเสี่ยงน้อยกว่า-กลัวถูกจับได้
จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
เอ เจนซี - แม้มีคนจำนวนมากเชื่อว่า ผู้หญิงเป็นเพศที่มีความยุติธรรมกว่าผู้ชาย อีกทั้งมีผลวิจัยไม่ใช่น้อยซึ่งบ่งชี้ว่า การที่สตรีขึ้นครองอำนาจอาจช่วยลดทอนปัญหาคอร์รัปชั่นได้ แต่งานศึกษาหลายชิ้นตั้งข้อสังเกตว่า ความเชื่อมโยงระหว่างเพศภาวะกับการทุจริตนั้นซับซ้อนกว่าที่คาดคิดกัน เพราะจริงๆ แล้วหญิงก็ไม่ได้โลภน้อยกว่าชาย เพียงแต่กล้าเสี่ยงน้อยกว่าเพราะกลัวถูกจับได้ โดยเฉพาะสำหรับระบบการเมืองแบบเปิดในปัจจุบันที่จะต้องมีความโปร่งใสกันมาก ขึ้น
เมลันนี เวอร์เวียร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯผู้รับผิดชอบเรื่องปัญหาสตรีทั่วโลก กล่าวฟันธงว่า การมีผู้หญิงในแวดวงการเมืองมากขึ้น ไม่ได้หมายความว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะเปลี่ยนแปลงไป ในเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น
กระนั้น ก็มีหลักฐานหลายๆ อย่าง ซึ่งดูเหมือนสนับสนุนทัศนะมุมมองที่ว่า การมีผู้หญิงในหน่วยงานสาธารณะมากขึ้น ช่วยปรับปรุงยกระดับคุณภาพของรัฐบาลและปัญหาคอร์รัปชั่นก็เบาบางลง
ตัวอย่างเช่นที่กรุงลิมา ประเทศเปรู ผลศึกษาของซาบรินา คาริม นักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยเอมอรี สหรัฐฯ พบว่า ความคิดเห็นของสังคมที่ว่าการติดสินบนเป็นปัญหาใหญ่ในหมู่ตำรวจจราจร ได้ลดลงมาจาก 14 ปีที่แล้ว ภายหลังทางการส่งตำรวจจราจรหญิง 2,500 คนทำหน้าที่บนท้องถนน
ผลสำรวจอีกชิ้นระบุว่า ประชาชน 86% รับรองผลงานของจราจรหญิง ขณะที่ในมุมมองของตำรวจหญิงเองนั้น 95% คิดว่าการมีตำรวจหญิงช่วยลดการทุจริต และ 67% เชื่อว่าผู้หญิงโกงกินน้อยกว่าผู้ชาย
ที่อินเดีย นับจากปี 1993 มีการกันที่นั่ง 30% ในสภาหมู่บ้านไว้ให้ผู้หญิง ซึ่งรายงานพัฒนาการทั่วโลกของเวิลด์แบงก์ประจำปีนี้ยกย่องว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้มีการจัดหาน้ำสะอาด ระบบสุขาภิบาล โรงเรียน ฯลฯ เข้าสู่หมู่บ้านต่างๆ เพิ่มขึ้น และการทุจริตลดลง โดยเฉพาะในหมู่บ้านที่มีผู้หญิงเป็นผู้ใหญ่บ้าน
นักวิจัยยังพบว่า เมื่อผู้ชายผูกขาดอำนาจ มีแนวโน้มมากขึ้นที่จะมีการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เช่น การก่อสร้างถนน ซึ่งมีการทุจริตแพร่หลายกว่าการสร้างโรงเรียนหรือคลินิก
มาห์นาซ อัฟกามิ อดีตรัฐมนตรีกิจการสตรีอิหร่านในช่วงปี 1975-1978 และปัจจุบันเป็นประธานวีเมนส์ เลิร์นนิ่ง พาร์ตเนอร์ชิป ศูนย์ฝึกอบรมและให้การสนับสนุนผู้หญิงในมลรัฐแมริแลนด์, สหรัฐฯ เชื่อว่า การเปิดโอกาสให้ผู้หญิงมีสิทธิ์มีเสียงมากขึ้นนั้นส่งผลอย่างมากต่อการยก ระดับคุณภาพของรัฐบาล
ทั้งหมดนี้ตอกย้ำผลศึกษาของธนาคารโลกในปี 1999 ที่พบว่า การมีผู้หญิงในหน่วยงานสาธารณะเหนือระดับ 10.9% ขึ้นไปนั้น ทุก 1% ที่สูงขึ้นจะส่งผลให้คอร์รัปชั่นลดลง 10%
ศรี มุลยานี อินทราวตี ขุนคลังหญิงคนแรกของอินโดนีเซียที่ขึ้นชื่อว่า เป็นนักปฏิรูปที่แข็งแกร่ง เห็นด้วยว่า การมีผู้หญิงในหน่วยงานสาธารณะในระดับรากหญ้าอาจส่งผลอย่างมากต่อวิธีการจัด สรรทรัพยากร เนื่องจากผู้หญิงคำนึงถึงสวัสดิการของเด็กและการมีอาหารเพียงพอสำหรับครอบ ครัว ขณะที่ผู้ชายใส่ใจต่อความต้องการของส่วนรวมน้อยกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
อย่างไรก็ตาม สำหรับระดับประเทศนั้น อินทราวตีและผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ กล่าวว่า การมีผู้หญิงในวงจรอำนาจมากขึ้น ไม่ได้ส่งผลใดๆ อย่างชัดเจน และเป็นการง่ายเกินไปที่จะสรุปว่า ผู้หญิงทำให้ภาพลักษณ์รัฐบาลระดับชาติสะอาดหมดจด
จากข้อมูลของสหภาพรัฐสภาระหว่างประเทศ (อินเตอร์-พาร์เลียเมนทารี ยูเนียน) ปัจจุบันมีผู้หญิงดำรงตำแหน่งในรัฐสภาระดับประเทศสูงสุดถึง 20.2% คิดเป็นกว่าสองเท่าตัวของปี 1987 กระนั้น ปัญหาคอร์รัปชั่นก็ไม่ได้ลดลงน้อยมากมายอะไร
ผลสำรวจใน 140 ประเทศที่จัดทำโดยแกลลัปและเผยแพร่ออกมาในเดือนพฤษภาคมพบว่า ผู้ใหญ่ 2 ใน 3 ทั่วโลกเชื่อว่า การคอร์รัปชั่นแพร่หลายในวงการธุรกิจและในประเทศของตน เช่นเดียวกัน ดัชนีชี้วัดธรรมาภิบาลของธนาคารโลกแสดงให้เห็นว่า ประเทศที่มีพัฒนาการในการแก้ปัญหาการทุจริตนั้นมีจำนวนพอๆ กับประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นชุกชุมขึ้น
เฮเลน คลาร์ก ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์มา 9 ปี และเป็นผู้หญิงคนแรกที่รับผิดชอบโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UN Development Program) ขานรับว่า ไม่มีข้อพิสูจน์ว่า ผู้หญิงคอร์รัปชั่นน้อยกว่าผู้ชาย แต่ความซื่อสัตย์และแนวทางในสังคมน่าจะมีบทบาทมากกว่าโอกาสและปัจจัยเรื่อง เพศภาวะ
รายงานฉบับใหม่ที่มีชื่อว่า “Fairer Sex or Purity Myth?” (สตรีคือเพศที่ให้ความเป็นธรรมมากขึ้นหรือเป็นเพียงมายาของความบริสุทธิ ผุดผ่อง) โดยคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยไรซ์ และมหาวิทยาลัยเอมอรี สนับสนุนแนวคิดที่ว่า โครงสร้างสถาบันเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ขณะที่การที่ผู้หญิงขึ้นมามีอำนาจทางการเมืองเป็นผลพวงตามมา
รายงานฉบับนี้พบว่า ในระบอบเผด็จการที่ครอบงำโดยผู้ชาย การมีผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นส่งผลที่สามารถวัดค่าได้ในเรื่อง คอร์รัปชั่นน้อยมาก แต่ในระบบการเมืองแบบเปิดที่เป็นประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงจะเห็นได้ชัดเจนกว่า
นักวิจัยคาดว่า ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากผู้หญิงกล้าเสี่ยงน้อยกว่า โดยอิงกับผลศึกษาพฤติกรรมสองฉบับระหว่างปี 2003-2008 ที่ชี้ว่า ผู้หญิงพร้อมรับสินบนเท่าผู้ชาย แต่ระแวดระวังมากกว่าว่าอาจถูกจับได้
ในระบอบเผด็จการนั้น ผู้หญิงมีแนวโน้มขึ้นสู่อำนาจจากการอุปถัมภ์ของผู้ชาย และถ้าคอร์รัปชั่นเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ มีแนวโน้มน้อยที่ผู้หญิงจะกล้าเปิดโปงเนื่องจากพวกเธอกลัวสูญเสียตำแหน่ง
ตรงกันข้ามกับในระบบประชาธิปไตยที่เปิดกว้าง ความเสี่ยงในการถูกจับได้มีมากขึ้น มิหนำซ้ำระบบกฎหมายยังทำงานได้ดีกว่า และประชาชนมีแนวโน้มใช้การเลือกตั้งลงโทษนักการเมืองโกงชาติ ด้วยเหตุนี้เอง เนื่องจากพวกเธอมีความโน้มเอียงในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ผู้หญิงจึงจะระมัดระวังมากกว่า
ผลศึกษาชี้ผู้นำหญิงไม่ช่วยลดคอร์รัปชัน
จาก โพสต์ทูเดย์
รอยเตอร์สเผยผลศึกษาระบุมีผู้หญิงเป็นผู้นำ อาจไม่ช่วยลดคอร์รัปชัน แต่สะท้อนสังคมมีประชาธิปไตยมากขึ้น
รอย เตอร์ส เปิดเผยผลการศึกษาล่าสุด อ้างผู้เชี่ยวชาญด้านบทบาทสตรีในปัจจุบัน ได้ข้อสรุปว่า ความเชื่อที่ว่าการมีผู้นำหญิง จะช่วยลดปัญหาคอร์รัปชันในสังคมได้อาจไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป แต่ทว่าอาจสะท้อนให้เห็นว่า สังคมมีประชาธิปไตยมากขึ้น ซึ่งหมายถึงปัญหาคอร์รัปชันที่มีแนวโน้มลดลงในสังคม
อย่าง ไรก็ตาม ผลการศึกษาระบุอย่างชัดเจนว่า สาเหตุที่ส่งผลให้ปัญหาคอร์รัปชันในสังคมมีแนวโน้มลดลง เมื่อผู้หญิงขึ้นเป็นผู้นำ ไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่ผู้หญิงมีคุณธรรมหรือมีแนวคิดคดโกงน้อยกว่าผู้ชาย
แต่ ผลการศึกษาพบว่า สังคมที่ให้การยอมรับผู้หญิงให้ดำรงตำแหน่งระดับสูง สามารถสะท้อนให้เห็นถึง รูปแบบของสังคมที่มีความเปิดกว้างและมีระบบการเมืองที่มีความเป็น ประชาธิปไตยมากกว่า และสังคมเช่นนี้โดยทั่วไปแล้ว มักจะไม่นิ่งเฉยต่อการกระทำผิดศีลธรรม ซึ่งหมายรวมถึงการใช้อำนาจในทางที่ผิดและการโกงเงินภาษีประชาชน
ผู้ เขียนได้ยกตัวอย่างความเป็นไปได้ของปัญหาคอร์รัปชันที่ลดลง หากผู้หญิงมีบทบาทมากขึ้น จากผลการศึกษาการลงพื้นที่ของซาบรินา คาริม นักศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยอีมอรี ซึ่งทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงลิมาของประเทศเปรู พบว่า ประชาชนต่างวิตกกังวลต่อปัญหาการติดสินบนเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรในสังคม ซึ่งมีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2555 มากที่สุด
อย่าง ไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวลดลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อมีการจ้างงานตำรวจจราจรหญิงทั้งหมด 2,500 คนเข้ามาปฏิบัติหน้าที่แทน โดยกว่า 95% ของผู้ตอบสำรวจมองว่า การเข้ามามีบทบาทที่มากขึ้นของผู้หญิง สามารถช่วยลดปัญหาการติดสินบนเจ้าหน้าที่ได้ โดยที่ 67% เชื่อว่าผู้หญิงมีพฤติกรรมเข้าข่ายทุจริตคอรัปชันน้อยกว่าอีกด้วย
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต