สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ตัดตอน จำนำข้าว สาวไม่ถึงนักการเมือง

จาก โพสต์ทูเดย์

ตัดตอน'จำนำข้าว'สาสวไม่ถึงนักการเมือง

ทำ ท่าจะเป็นหนังเรื่องยาวเสียแล้ว สำหรับการซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี โดยเฉพาะ “เคส” การขายข้าวจีทูจีระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน

โดย...จตุพล สันตะกิจ

ทำ ท่าจะเป็นหนังเรื่องยาวเสียแล้ว สำหรับการซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี โดยเฉพาะ “เคส” การขายข้าวจีทูจีระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน

ย้อน หลังไป 5 เดือนที่แล้ว หรือประมาณเดือน มิ.ย.-ก.ค. วงการพ่อค้าข้าวลือกันหนาหูว่า รัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์เรียกบริษัทเอกชนและพ่อค้าข้าวที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ ชิดกับคนในรัฐบาล มาเจรจาตกลงซื้อขายข้าวในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาลแบบ “ลับๆ” และไม่เปิดเผยราคาซื้อขายเป็นการทั่วไป

และ รับรู้กันในวงการว่าพ่อค้าข้าว คือ บริษัท ส. และนำข้าวที่หาซื้อได้ในราคาถูกๆ จากรัฐบาลไปเร่ขายให้โรงสี “ฟัน” ส่วนต่างกันจากราคาตลาดขณะนั้น 4-5 บาทต่อกิโลกรัม

ข้าว ที่บริษัท ส. นำไปเร่ขายโรงสีต่างๆ ทั้ง “ทางตรง” หรือเร่ขายผ่าน “นายหน้า” นั้น โรงสีที่ซื้อข้าวไปส่วนใหญ่จะนำไปเวียนเทียนส่งมอบเข้าโครงการรับจำนำข้าว ซ้ำ และนำข้าวเปลือกที่รับจำนำมาใหม่สีขายเอง ซึ่งมีกำไรพอหอมปากหอมคอ

บุญ ทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ และทีมจัดการที่อยู่ “เบื้องหลัง” ตอบโต้กระแสข่าวนี้ทันที รมว.พาณิชย์ ยืนยันว่า กระทรวงพาณิชย์ไม่เคยมีการขายข้าวแบบลับๆ และเผยว่ากระทรวงพาณิชย์ได้ลงนามเอ็มโอยูซื้อขายข้าวแบบจีทูจีกับหลายประเทศ เช่น จีน อินโดนีเซีย บังกลาเทศ และโกตดิวัวร์

“กระทรวง พาณิชย์ไม่เคยมีการแอบขายข้าวสารในโกดังของรัฐ มีเพียงการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐหรือจีทูจีเท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมาได้ตกลงขายข้าวให้อินโดนีเซีย 1 ล้านตัน ขายข้าวให้จีน 3-4 ล้านตัน และขายข้าวให้โกตดิวัวร์กับบังกลาเทศรวม 5 แสนตัน ส่วนรายละเอียดจำไม่ได้ แต่จะให้กรมการค้าต่างประเทศแถลง” บุญทรง ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2555

พร้อม กันนั้น กรมการค้าต่างประเทศเปิดเกม “แก้เกี้ยว” ปัดข้อหารัฐบาลแอบขายข้าวลับๆ โดยเปิดประมูลขายข้าวในสต๊อก 7.75 แสนตัน “คู่ขนาน” ไปกับการประโคมข่าวขายข้าวจีทูจี

แต่ ไม่วายที่บุญทรงถูกตั้งคำถามจากหลายฝ่ายว่า “เอ็มโอยู” กับหลายประเทศว่าเป็นเพียงสัญญา “จะซื้อจะขาย” ข้าวระหว่างรัฐบาลเท่านั้นหรือไม่ หรือเป็นการเซ็นสัญญาซื้อขายและมีการส่งมอบข้าวไปต่างประเทศจริง

ประจวบ กับการที่กระทรวงพาณิชย์เสนอโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/2556 จำนวน 26 ล้านตัน ต้องใช้เงินหมุนเวียน 4.05 แสนล้านบาท ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติวันที่ 18 ก.ย. 2555 แต่ถูก “ท้วงติง” จากหลายหน่วยงานว่า ต้องการเห็นแผนการระบายข้าว

ส่ง ผลให้บุญทรงต้องกำแผนระบายข้าว 8.38 ล้านตัน กลับมา ครม.อีกครั้งในวันที่ 2 ต.ค. 2555 ในมือกำแผนพร้อมยืนยันเงินที่จะได้รับจากการขายข้าว 2.6 แสนล้านบาท ในสิ้นปี 2556 แม้ว่าเอกสารด่วนที่สุดที่ พณ 0414/3260 ที่ได้เสนอ ครม.หน้าที่ 2 มีการรายงานว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ทำสัญญาขายข้าว 8.38 ล้านตันแล้ว

โดย เขียนไว้ในเอกสารที่ขนาดความยาว “8 บรรทัด” และไม่มี “เอกสารสัญญาซื้อขายข้าว” มาแสดงให้ ครม.เห็นแต่อย่างใด ขณะที่ ครม.ได้อนุมัติให้โครงการรับจำนำข้าวรอบใหม่ผ่านฉลุย

อย่าง ไรก็ตาม ข้อความในเอกสารฉบับดังกล่าวมีการระบุว่า กระทรวงพาณิชย์ทำสัญญาซื้อขายข้าว 6 สัญญากับ 4 ประเทศ คือ จีน อินโดนีเซีย โกตดิวัวร์ และบังกลาเทศ เป็นจำนวน 7.32 ล้านตัน

ทว่า ข้อกังขาเกี่ยวกับแผนระบายข้าวยังไม่หมดไป เพราะตัวเลขส่งออกข้าวของกรมศุลกากรระบุว่า “ไม่มีการส่งออกข้าวแบบจีทูจี” มีการเรียกร้องให้กระทรวงพาณิชย์โชว์สัญญาซื้อขายข้าว บุญทรงบอกปัดว่าสัญญาดังกล่าวไม่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณชนได้ เพราะผู้ซื้อไม่ต้องการให้เปิดเผย เนื่องจากเป็นเรื่องอ่อนไหวของประเทศผู้ซื้อ

ขณะ ที่กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายในได้จัดทำสมุดปกเขียว “รู้ลึก รู้จริง จำนำข้าว” แจกจ่ายเป็นการทั่วไป สมุดปกเขียวเล่มนี้มีแจกแจงแผนระบายข้าว โดยเฉพาะการขายข้าวแบบจีทูจีที่ระบุว่า ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ย. 2555 กระทรวงพาณิชย์ได้ขายข้าว 1.46 ล้านตัน จาก 7.32 ล้านตัน ส่วนที่เหลือจะทยอยส่งมอบถึงเดือน ธ.ค. 2556

แต่ แล้วในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล บุญทรงต้องเจอไม้เด็ดของ “หมอวรงค์” นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม สส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ที่โชว์เอกสารการเงินและตัวละครที่ “ชี้” ให้เห็นว่า การระบายข้าวแบบจีทูจี 1.46 ล้านตัน โดยเฉพาะกับการขายข้าวจีทูจีให้รัฐบาลจีนผ่านบริษัทตัวแทน เป็น “จีทูจีเก๊”

ไล่ เรียงตั้งแต่บริษัทจีนที่เป็นคู่สัญญาซื้อขายข้าวกับกรมการค้าต่าง ประเทศ ซึ่งก็คือ “บริษัท GSSG IMP AND EXP. CORP” ตั้งอยู่ที่นครกว่างโจว ประเทศจีน มีความเกี่ยวโยงกับ “บริษัท สยามอินดิก้า” ซึ่ง “เสี่ยเปี๋ยง” อภิชาติ จันทร์สกุลพร แห่งเพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง มอบอำนาจให้หมาย “คิด” สมคิด เอื้อนสุภา ไปจดทะเบียนตั้งบริษัทปี 2547

มี การเชื่อมโยงตัวละครและเอกสารทางการเงินเชื่อม “ปาล์ม” รัฐนิธ โสจิรกุล และ “โจ” นิมล รักดี ที่เป็นผู้มีอำนาจและรับมอบอำนาจลงนามบริษัทจีน GSSG

และ ยังเชื่อมโยงไปถึง “เรืองวัน” หรือ เรืองวัน เลิศศลารักษ์ กรรมการ บริษัท สยามอินดิก้า และ “คิด สมคิด” เครือข่ายของบริษัท สยามอินดิก้า ผ่านบัญชีธนาคารกสิกรไทย เลขที่ 001-0-03796-9 และสมคิดที่เป็นผู้นำแคชเชียร์เช็คไปชำระค่าข้าวให้กรมการค้าต่างประเทศ เลขที่ 385009504-5

ขณะ เดียวกันมีการตรวจสอบพบว่า บริษัท สยามอินดิก้า เป็นผู้เบิกข้าวจากองค์การคลังสินค้า (อคส.) ในนามบริษัท GSSG โดยเฉพาะเอกสารเบิกข้าว อคส. เลขที่ 62018 ลงวันที่ 30 พ.ค. 2555 ที่มีการเบิกข้าวสารหอมมะลิ 3,483 ตัน มีชื่อ “ปาล์ม รัฐนิธ” และ “คิด สมคิด” ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท GSSG เป็นผู้เบิกข้าวจาก อคส.

ทำ ให้ทีมงานของบุญทรงเขียนสคริปต์ใหม่ให้บุญทรงอ่านในการชี้แจงการ อภิปรายไม่ไว้วางใจวันที่ 26 พ.ย. 2555 ว่า หลักการขายข้าวแบบจีทูจีนั้น ต้องตรวจสอบบริษัทหรือหน่วยงานที่จะมาทำสัญญาซื้อขาย โดยคู่สัญญาต้องได้รับการรับรองจากรัฐบาลประเทศนั้นๆ เมื่อมีการรับมอบข้าวและชำระเงินแล้ว ถือว่าสิ้นสุดหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์

เท่า กับว่า บุญทรง “ไม่รู้ไม่เห็น” เกี่ยวกับกระบวนการขายข้าวจีทูจี เพราะเรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของข้าราชการกรมการค้าต่างประเทศ ที่ต้องไปตรวจสอบบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจที่เป็นคู่สัญญาซื้อข้าวจากรัฐบาลไทย

“กรณีการ ขายข้าวจีทูจีให้บริษัทจีนที่เป็นข่าวนั้น ก็ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบในทุกกระบวนการ” บุญทรง ชี้แจงในการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติของสมาชิกวุฒิสภาวันที่ 28 พ.ย. 2555

การชี้แจงเช่นนั้น ฟังแล้วดูเหมือนเคราะห์กรรมการระบายข้าวจีทูจีจะไปตกอยู่กับ “ข้าราชการประจำ”

ล่าสุดมีการตรวจสอบและขุดคุ้ยบริษัท GSSG ว่า เป็นตัวแทนของรัฐบาลจีนในการซื้อขายข้าวจีทูจีหรือไม่

“ก่วน มู่” เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ไม่ยืนยันและไม่ปฏิเสธว่า บริษัท GSSG ซึ่งทำธุรกิจการขายอุปกรณ์กีฬามากกว่าซื้อขายข้าว เป็นบริษัทที่รัฐบาลจีนหรือรัฐบาลระดับมณฑลของจีนรับรอง เพียงแต่ระบุว่า “ไม่ได้มีบริษัทเดียว แต่มีอีกประมาณ 4-5 บริษัท ซึ่งสัญญาซื้อขายก็ยังไม่ได้ยุติทั้งหมด ต้องตกลงกันต่อไป”

แต่ ประเด็นที่น่าสนใจ คือ “ก่วนมู่” ยืนยันหนักแน่นว่า การซื้อขายข้าวจีทูจีไทย-จีน เป็น “ประเพณี” ที่เกิดขึ้นมาหลาย 10 ปีแล้ว ซึ่งตามประเพณีที่ปฏิบัติและระบบที่ทำอยู่นี้ ไม่ใช่รัฐบาลจีนเป็นผู้ซื้อ แต่มีบทบาทชักนำให้รัฐวิสาหกิจหรือภาคเอกชนเข้ามาซื้อ

สิ่ง ที่รัฐบาลจีนกังวลใจก็คือ การดึงเอาจีนเข้าไปเกี่ยวพันในเกมการเมือง และเกรงจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทำให้สงวนท่าทีในการที่จะตอบคำถามอะไรก็ตาม ที่จะมีผลต่อเนื่องหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

ขณะ นี้ยังไม่มีอะไรยืนยันได้ดีว่า การอุปโลกน์สัญญาซื้อขายข้าวให้จีน 3-4 ล้านตัน เมื่อวันที่ 25 ก.ค. ของบุญทรง เป็น “ของปลอม” และก็ไม่มีอะไรยืนยันว่านี่คือ “ของจริง”

แต่ ที่สำคัญการซื้อขายข้าวแบบจีทูจีระหว่างไทยและจีน ที่ รมว.พาณิชย์ ระบุกลับไม่มีการเปิด L/C (Letter Of Credit) ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติกรณีมีการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ และไม่มีหลักฐานแสดงการส่งออก หรือ B/L (Bill of Lading) ขณะที่ B/L เป็นใบที่ยืนยันการส่งมอบสินค้าให้บริษัทเรือที่ทำการส่งออก จำนวนสินค้า ประเทศผู้ส่งออก และท่าเรือปลายทาง

“ที่ บอกว่ามีขายข้าวจีทูจีให้รัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจจีน คือ บริษัท GSSG IMP.& EXP. CORP ผมไม่เห็นว่าเป็นการซื้อขายข้าวแบบจีทูจี เพราะ 1.ไม่มีการเปิด L/C และ 2.ไม่มีข้าวสารส่งออกไปต่างประเทศจริง ซึ่งกรณีนี้ผมเชื่อว่าเป็นการยืมชื่อรัฐวิสาหกิจจีนมาใช้ แลกกับให้ผลตอบแทนอื่น” นิพนธ์ วงษ์ตระหง่าน นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวไทย ระบุ

นิพนธ์ ชี้ว่า การยืมชื่อบริษัทมาซื้อขายข้าวในกรณีต่างๆ ไม่ใช่ไม่เคยมี แม้แต่ในไทยก็เคยมียืมชื่อ “บริษัทค้าวัสดุก่อสร้าง” มาซื้อข้าวสารในโกดังรัฐบาล 1 ล้านตัน ในสมัยรัฐมนตรี “พรทิวา”

ขณะ ที่อดีตข้าราชการระดับสูงกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า การขายข้าวจีทูจีมีหลายรูปแบบ มีทั้งแบบซื้อด้วยเงิน ซื้อแบบแลกเปลี่ยนสินค้ากัน เช่น แลกข้าวกับเครื่องบิน แล้วแต่เงื่อนไขที่กรมการค้าต่างประเทศตกลงกันประเทศนั้นๆ เช่น การขายข้าวให้เกาหลีเหนือและรัสเซีย ที่อนุญาตให้ผ่อนชำระค่าข้าวได้ 3-5 ปี

“การ ซื้อขายข้าวจีทูจีบางกรณีไม่มีการเปิด L/C เพราะไม่ได้จ่ายเงินเป็นค่าข้าว แต่จ่ายเป็นสินค้า และมีเงื่อนไขว่าต้องซื้อจากรัฐบาล สำหรับไทยคือต้องซื้อจากกรมการค้าต่างประเทศเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่แล้วการซื้อขายข้าวจีทูจีจะเปิด L/C และมีใบขนสินค้าไปแสดงต่อศุลกากรเพื่อนำข้าวออกนอกประเทศ” อดีตข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ บอก

อดีต ข้าราชการรายนี้ตั้งคำถามว่า กรณีกรม‌การค้าต่างประเทศยินยอมขายข้าวให้บริษัท GSSG ‌ต้องมีใบขนสินค้าเพื่อนำข้าวลงเรือส่งออกมาแสดง ‌หากไม่มีการชี้แจงที่ชัดเจน เมื่อส่งเรื่องไปยังคณะ‌กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและ‌ประพฤติมิ ชอบในวงราชการ (ป.ป.ป.) คนที่จะต้อง‌รับผิดชอบ ไม่ใช่นักการเมือง แต่เป็นข้าราชการ‌ประจำที่จะต้องถูกสอบวินัยว่า อนุญาตขายข้าวกับ‌บริษัทดังกล่าวได้อย่างไร

เมื่อ ร้อยเรียงเรื่องราวจากต้นจนปลายงานนี้ ตอก‌ย้ำว่าข้าราชการประจำของกรมการค้าต่างประเทศ‌จะอยู่ในข่ายที่ต้องรับ เคราะห์และถูกตัดตอน ก่อน‌การระบายข้าวในโครงการรับจำนำข้าวจะสาวไปไม่‌ถึงตัวนักการเมือง

และ ตัวละครเอกในเรื่องนี้ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็น ‌“ยรรยง พวงราช” อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ และ ‌“มนัส สร้อยพลอย” อดีตอธิบดีกรมการค้าต่าง‌ประเทศ ซึ่งทั้งสองคนเกษียณอายุราชการไปแล้ว‌เมื่อวันที่ 30 ก.ย.ที่ผ่านมา

แต่ ใช่ว่าข้าราชการที่เชี่ยวชาญด้านการเมือง‌อย่าง “ยรรยง-มนัส” จะยอมเป็นสมันน้อย เพราะ‌หากจนแต้มเมื่อไหร่ ทั้ง “ยรรยง-มนัส” อาจทิ้งระเบิด‌ตูมใหญ่ใส่ทั้งพรรคประชาธิปัตย์และพรรคร่วมเมื่อ‌ครั้งเป็น รัฐบาลในคราวที่มีการเรียกบริษัทเอกชน‌เฉพาะรายมาซื้อขายข้าวแบบลับๆ และทั้งรัฐบาล‌เพื่อไทยที่มีกลเกมขายข้าวในโกดังรัฐที่ซับซ้อน

หมาก เกมนี้จะเล่นงานกัน “ตายไปข้างหนึ่ง” หรือ‌ออกมาในรูปประนีประนอมแบบนักการเมืองเขาทำ‌กัน คนเสียภาษีอย่างเราๆ ต้องจับตาต่อไปว่าศึกนี้‌เป็น “มวยล้มต้มคนดูหรือไม่”


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : ตัดตอน จำนำข้าว สาวไม่ถึง นักการเมือง

view