หมอวรงค์” ยื่นหนังสือ ป.ป.ช.สอบทุจริตโครงการจำนำข้าว
จาก โพสต์ทูเดย์
“หมอ วรงค์” ยื่น ป.ป.ช.สอบทุจริตโครงการจำนำข้าว เอื้อประโยชน์บริษัทใกล้ชิดรัฐบาล พร้อมเรียกร้องรัฐบาลเปิดสัญญาซื้อขายกับต่างประเทศ เผยพรุ่งนี้เตรียมยื่น ปปง.สอบเส้นทางการเมือง หวั่นพัวพันขบวนการฟอกเงิน ด้าน “องอาจ” เอาด้วยยื่น ป.ป.ช.สอบโกงกองทุนหมู่บ้าน SML ระบุมีหลักฐานเครือข่ายรัฐบาล-เสื้อแดงเอี่ยว
ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ วันนี้ (3 ธ.ค.) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อขอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาตรวจสอบการทุจริตในโครงการกองทุนหมู่บ้าน หรือ SML โดยนายองอาจกล่าวว่า ตนพบหลักฐานว่ามีการทุจริตงบประมาณในโครงการ 3-5 แสนบาทต่อโครงการ โดยมีบุคคลใกล้ชิดรัฐบาลและแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงมีส่วนเกี่ยวข้องและมีการ ทุจริตกันเป็นขบวนการ และยอมรับว่าในเอกสารคำร้องมีการพาดพิงถึงบุคคลในรัฐบาลและส.ส. จึงมายื่นเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.เร่งพิจารณาเรื่องนี้เป็นกรณีพิเศษเนื่องจากยังมีการดำเนินโครงการ อยู่ในปัจจุบัน
ขณะที่ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนได้ยื่นขอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ตรวจสอบและชี้มูลความผิดในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ที่พบว่ามีการทุจริต และเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทที่ใกล้ชิดกับรัฐบาล รวมถึงการที่รัฐบาลอ้างว่ามีการค้าขายแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี ให้กับ 3 ประเทศ คือ จีน อินโดนีเชีย และโกติวัวร์ แต่ในทางปฏิบัติพบว่าเป็นการขายผ่านตัวแทนของ บริษัท สยามอินดิก้า จำกัด เพื่อหลีกเลี่ยงการประมูลและพบพฤติกรรมการทุจริต โดยมีผู้เกี่ยวข้องคือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายบุญทรง เตริญาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เจ้าหน้าที่รัฐและผู้เกี่ยวข้อง พร้อมแนบเอกสารเพิ่มเติมจำนวน 8 รายการ อาทิ ภาพถ่ายแคชเชียร์เช็คของธนาคารกสิกรไทย,, ภาพถ่ายหนังสือมอบอำนาจของบริษัท สยามอินดิก้า จำกัด เส้นทางการโอนเงิน และภาพถ่ายบัญชีของกรมการค้าต่างประเทศ ซึ่งมั่นใจว่าเอกสารที่นำมายื่นในวันนี้มีความสมบูรณ์และครบถ้วนมากที่สุด
พร้อมเตรียมขอเข้าชี้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมต่อเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ก่อนจะมีการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ในวันพรุ่งนี้ (4 ธ.ค.) และเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยหลักฐาน MOU หรือสัญญาซื้อขายกับต่างประเทศ และหลักฐานการทำ LC อย่างไรก็ตาม ในวันพรุ่งนี้ตนก็จะเดินทางไปยื่นหนังสือในประเด็นเดียวกันต่อสำนักงานคณะ กรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)เนื่องจากพบว่ามีเส้นทางการเงินสายใหม่ที่เกี่ยวข้องกับกรมการค้าต่าง ประเทศและอาจพัวพันกับขบวนการฟอกเงิน
“ป.ป.ช.”ชักช้าไม่ได้ชี้ถูก-ผิดรับจำนำข้าว
จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
โดย นกหวีด
ข่าวปนคน คนปนข่าว
ชัก ไม่เข้าทีแล้ว สำหรับการขายข้าวในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลเพื่อส่งออกไปต่างประเทศ ของกรมการค้าต่างประเทศกับบริษัท GSSG Import-Export Corporation ที่เป็นบริษัทเอกชนของจีน นับวันจะยิ่งมีข้อสงสัยเคลือบแคลงมากขึ้นเรื่อยๆ
ล่าสุดเมื่อ30 พ.ย.ที่ผ่านมามีการออกมาเปิดเผยเองของนาย ก่วน มู่ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ที่เดินทางไปยังที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ นำคณะโรงเรียนการเมืองของประ เทศจีน ไปแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกับนักการเมืองไทย หลังจากนั้นมีข่าวว่าวันดังกล่าว รอง ผอ.การเมืองของจีน ก็ไปบรรยายเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของประเทศจีนในทางเศรษฐกิจและการเมืองที่พรรค ประชาธิปัตย์
โอกาสเดียวกันนี้ ก่วน มู่ ก็ตอบคำถามสื่อมวลชนถึงเรื่องที่หลายคนอยากรู้กรณีข้อมูลที่ว่าบริษัทของจีน คือ GSSG Import-Export Corporationได้ซื้อข้าวในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล 5 ล้านตัน
คำให้สัมภาษณ์ที่สื่อมวลชนนำเสนอมีความน่าสนใจอย่างมาก และน่าจะเป็นเรื่องที่ทำให้เห็นภาพอะไรได้หลายอย่างว่าที่ บุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ รวมถึงคนในรัฐบาลพูดเรื่องการซื้อขายข้าวไทยกับต่างประเทศนั้น มันมีอะไรน่าติดตามค้นหาไม่น้อย ว่าข้อตกลงการซื้อขายเป็นอย่างไร
เพราะตามข่าว นายก่วน มู่ ให้สัมภาษณ์ถึงการขายซื้อขายข้าวระหว่างไทยกับจีนว่า เป็นประเพณีที่เกิดขึ้นมาหลายสิบปีแล้ว เพราะไทยผลิตข้าวมากที่สุด ขายข้าวได้เป็นอันดับหนึ่งของโลกตลอดมา จึงมีการหารือกันขอให้จีนซื้อข้าวเพิ่มเพื่อช่วยเหลือชาวนาไทย
“ตามประเพณีที่ปฏิบัติมา จีนก็เห็นว่าควรที่จะสนับสนุน จึงลงนามในหลักการระหว่างรัฐบาลเป็นในระดับหลักการเท่านั้น แต่ถ้าจะซื้อขายจริงๆ จะมอบหมายให้บริษัทไปหารือกับประเทศไทยโดยตรง ทราบว่ามีการเซ็นสัญญากับบริษัทแล้วประมาณหลายแสนตัน แต่ไม่เคยมีสัญญาซื้อขาย 5 ล้านตัน ตามที่รัฐบาลไทยกล่าวอ้าง”
พอสื่อถามว่าบริษัทที่จีนมอบหมาย ให้ซื้อข้าวกับไทยคือ บริษัท จีเอสเอสจี ใช่หรือไม่ ทูตจีนกล่าวเลี่ยงว่า ไม่ได้มีบริษัทเดียว แต่มีหลายบริษัท ประมาณ 4-5 บริษัท ซึ่งสัญญาซื้อขายก็ยังไม่ได้ยุติทั้งหมด ต้องตกลงกันต่อไป
"การซื้อข้าวจากไทยเป็นประเพณีที่ทุกปีต้องซื้อ ส่วนการเปิดแอลซี รัฐบาลจะไม่ทราบ เพราะเป็นเรื่องของบริษัทเนื่องจากการดำเนินการของบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจจะ ทำเอง รัฐบาลมีบทบาทเพียงแค่ชี้นำให้มีการซื้อขายเท่านั้น จากนั้นบริษัทจะไปตกลงกันเองกับประเทศไทย
ระบบที่ทำอยู่ตอนนี้ไม่ใช่ว่ารัฐบาลจีนเป็นผู้ซื้อ แต่มีบทบาทชักนำให้รัฐวิสาหกิจหรือภาคเอกชนเข้ามาซื้อเท่านั้น หลังจากนั้นก็ไม่เกี่ยวกับรัฐบาลแล้ว รวมถึงเรื่องการตกลงราคาก็เป็นเรื่องที่สองฝ่ายคุยกัน"
เมื่อพิจารณาจากคำพูดของก่วน มู่ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ก็จะเห็นได้ชัดว่า ทางจีนย้ำว่ารัฐบาลจีนไม่ได้เป็นผู้ซื้อ เพียงแต่ชี้ชวนหรือชักนำให้บริษัทของจีนมาซื้อ ซึ่งที่ผ่านมาคนในรัฐบาลพยายามจะบอกว่าเป็นการขายให้กับรัฐบาลในลักษณะจีทู จี หรือรัฐต่อรัฐ ก่อนที่ต่อมาตัวบุญทรง จะไปแก้ตัวในสภาฯวันเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจหลังการอภิปรายของนพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก ว่า การซื้อขายกรมการค้าต่างประเทศจะเป็นเจ้าภาพหลักในการไปเจรจากับต่างประเทศ ให้มาซื้อข้าวไทย ซึ่งหากจะเป็นบริษัทเอกชนของต่างประเทศ ก็จะให้สถานฑูตของประเทศนั้นๆ รับรองสถานะให้ หลังถูกฝ่ายค้านนำชื่อบริษัทของจีนดังกล่าวรวมถึงกระบวนการซื้อขายมาเปิด เผยกลางสภาฯ
เท่า กับว่าทางจีนก็ออกมาบอกว่า การขายข้าวดังกล่าวจริงๆ แล้วไม่ใช่แบบจีทูจี อย่างที่รัฐบาลพูดยกเมฆมาตลอด แถมคำให้สัมภาษณ์ของนายก่วน มู่ ก็ยิ่งทำให้สงสัยรัฐบาลมากขึ้นที่พยายามอ้างตัวเลขการส่งออกข้าวนั้น ความจริงแล้วตัวเลขอาจไม่ถึงตามที่รัฐบาลคุยโว
เพราะตัวนายก่วน มู่ ก็บอกเองว่าสัญญาที่คุยกัน การซื้อขายยังไม่ได้ข้อยุติเพราะต้องไปตกลงกันต่อไป ตีความได้ว่าอาจจะซื้อไม่ซื้อก็ได้ แต่รัฐบาลนำตัวเลขมาอ้างแล้วว่าขายข้าวไปต่างประเทศได้แล้ว
ดูไปแล้ว ยิ่งรัฐบาลดิ้นแก้ตัว หาช่องทางฟอกตัวเองสารพัดวิธี ก็ยิ่งทำให้มีแต่คนพบข้อสงสัยมากขึ้นเท่านั้น
เพราะนับแต่ฝ่ายค้านออกมาเปิดเผยข้อมูลเงื่อนงำการซื้อขายข้าวดัง กล่าวของกรมการค้าต่างประเทศกับ GSSG Import-Export Corporation ก็ปรากฏว่ายิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติและบุญทรง เตริยาภิรมย์ จนถึงป่านนี้ก็ยังแจงข้อกล่าวหาไม่ขึ้น โดยเฉพาะคำอภิปรายของนพ.วรงค์ ที่แฉเงื่อนงำความผิดปกติในการซื้อขายข้าวดังกล่าว
จนทำให้คนทั้งประเทศรู้จักชื่อของ เสี่ยเปี๋ยงหรือ อภิชาติ จันทร์สกุลพร อดีตเจ้าของบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง-นิมล รักดีหรือ เสี่ยโจ -สมคิด เรือนสุภา และ รัฐนิธ โสจิระกุล หรือ ปาล์ม ผู้ช่วยส.ส.นางรพีพรรณ พงษ์เรืองรอง ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคเพื่อไทย เมียนายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง
เมื่อผู้คนเริ่มสงสัยกระบวนการซื้อขายข้าวในโครงการรับจำนำข้าวมาก ขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะรัฐบาลทำหูทวนลม ถือว่าตัวเองมีเสียงข้างมากในสภาฯคอยคุ้มกันจะเดินหน้าทำโครงการต่อไปโดยไม่ ฟังเสียงท้วงติงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
มีทางเดียว คือก็ต้องฝากความหวังไว้กับหน่วยตรวจสอบอย่างคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)จะต้องเร่งตรวจสอบเรื่องนี้ต่อไปตามสำนวนคำร้อง ถอดถอนยิ่งลักษณ์ ที่ฝ่ายค้านยื่นเรื่องไปก่อนหน้านี้ รวมถึงที่นพ.วรงค์บอกว่าจะไปยื่นเรื่องเพิ่มเติมกับป.ป.ช. ในสัปดาห์นี้
ควรที่ป.ป.ช.จะต้องเร่งสอบสวนเรื่องนี้เป็นกรณีพิเศษ ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการปกติจนเป็นคดีคั่งค้างนับร้อยคดีอย่างที่ เป็นอยู่เวลานี้ เพราะใครก็เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วน หลายฝ่ายบอกว่าหากยังไม่ทบทวนยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวจะทำให้ประเทศเสียหาย หลายแสนล้านบาท
ป.ป.ช. ก็ต้องคิดเองได้ว่าจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกัน ความเสียหายดังกล่าวหรือไม่ หรือจะปล่อยให้หายนะเกิดขึ้นโดยทำงานกันแบบขั้นตอนปกติ แล้วอ้างว่าต้องทำให้เป็นเหมือนทุกคดีก่อนหน้านี้
เพราะในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในมาตรา 272 ก็บัญญัติไว้ว่า เมื่อป.ป.ช.ได้รับเรื่องการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งการเมืองจากประธานวุฒิสภา แล้วก็ให้ป.ป.ช.ไต่สวนให้แล้วเสร็จโดยเร็วและยังบัญญัติด้วยว่า เมื่อไต่สวนเสร็จแล้ว ให้ป.ป.ช.ทำรายงานเสนอต่อวุฒิสภา
ขณะเดียวกันมาตรา 272 ก็บัญญัติว่า ในกรณีที่ป.ป.ช.เห็นว่าข้อกล่าวหาตามคำร้องขอข้อใดเป็นเรื่องสำคัญ จะแยกทำรายงานเฉพาะข้อนั้นส่งไปให้ประธานวุฒิสภาเพื่อให้พิจารณาไปก่อนก็ได้
จึง เป็นหน้าที่ป.ป.ช.อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนี้แล้วป.ป.ช.ต้องเร่งติดเครื่องพิจารณาเรื่องที่เห็นว่าจำเป็นเร่งด่วน อย่างเรื่องเงื่อนงำโครงการซื้อขายข้าวในโครงการรับจำนำข้าวให้ผลออกมาเป็น ที่ประจักษ์ชัดโดยเร็ว
ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต