จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ป.ป.ท.เดินหน้าลุยปราบข้าราชการเอิ่ยวบุกรุกพื้นที่ป่าในจ.เชียงราย พบดอยป่าซาง-พระธาตุดอยแง่มถูกบุกรุกนับ1,000ไร่
พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.) มีคำสั่งให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีมีราษฏรตำบลดอยลาน อำเภอเมืองเชียงรายและราษฏร ตำบลแม่อ้อ อำเภอพาน จ.เชียงรายมีหนังสือร้องเรียนถึงป.ป.ท. ว่านายทุนได้นำรถแม็คโฮ เข้าตัดต้นไม้และเตรียมปลูกยางพารา ในที่ดินดังกล่าวซึ่งในอดีตมีสภาพเป็นป่าและเป็นพื้นที่เขา ซึ่งชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันโดยหาของป่า และ เห็ด ในที่ดินดังกล่าว โดยเลขาธิการป.ป.ท. มีคำสั่งให้ตรวจสอบว่า ที่ดินดังกล่าวมีการออกเอกสิทธิ์ที่ดินชอบด้วยกฏหมายหรือไม่ และมีการตัดต้นไม้ตามที่ร้องเรียนหรือไม่
จากการตรวจสอบพบว่า
1.มีการออกเอกสารสิทธิ์โฉนดที่ดิน ในที่ดินซึ่งมีสภาพเป็นที่ป่าเขา และเป็นป่า ไม่มีการครอบครองทำประโยชน์อยู่จริง ดังนี้
1.1 มีการออกโฉนดที่ดินซึ่งเป็นที่เขากิ่วม่วงหรือดอยป่าซาง ในปี พ.ศ.2533 ซึ่งเป็นการออกโฉนดให้นักการเมืองในขณะนั้น ได้แก่ พ.อ.สาคร กิจวิริยะ นายทหาร จ.ป.ร.7 ,นายสวัสดิ์ สืบสายพรหม ส.ส.จังหวัดศรีสะเกษ,นายพูนสวัสดิ์์ มูลศาสตรสาทร ส.ส.จังหวัดสุรินทร์,นายบรรยาย สุขเกษม ข้าราชการการเมืองประจำสำนักนายกรัฐมนตรี,นายไพโรจน์ ฟองดาวิรัตน์ ข้าราชการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งหมดจำนวน 19 แปลงที่ตำบลดอยลาน อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย เนื้อที่494-0-01 ไร่ เป็นการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินมาตรา 58 แห่งประมวลกฏหมายที่ดิน
จากการตรวจสอบเอกสาร พบว่าบุคคลดังกล่าวที่นำที่ดินมาออกโฉนดที่ดินอ้างว่าซื้อจากเจ้าของที่ดินเดิมซึ่งเป็นบุคคลในพื้นที่และเป็นคนสูงอายุ ในใบไต่สวนระบุเหมือนกันว่าเป็นที่สวนไม่เป็นที่สงวนหวงห้ามที่สาธารณประโยชน์ และจากการลง
พื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่าที่ดินที่นำมาออกโฉนดที่ดินทั้ง 19 แปลง มีสภาพเเป็นที่เขาปัจจุบันมีการปลูกยางพารา และข้าวโพด และได้ตรวจสอบพบว่าบุคคลที่ในในไต่สวนระบุว่าเป็นเจ้าของที่ดินเดิมเกือบทั้งหมดได้เสียชีวิตหมดแล้วยกเว้นนาง...ซึ่งในใบสารบบที่ดินระบุว่าเป็นผู้ขายที่ดินให้ ผู้มีชื่อดังกล่าวข้างต้นและได้มีการนำมาออกโฉนดที่ดินเลขที่ดิน 3 ตำบลดอยลาน อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย ให้ถ้อยคำว่า ตนไม่เคยมีที่ดินบริเวณนั้น มีแต่ที่นา อยู่หลังหมู่บ้าน และได้ยกให้ลูกสาวไปแล้ว เหตุที่ตนกับนางเพชร ลูกสาวซึ่งตายไปแล้ว มีชื่อในการขายที่ดินบริเวณกิ่วต้นม่วง(ดอยป่าซาง)ร่วม60กว่าไร่ อาจเป็นเพระาลูกเขยของตน ซึ่งเป็นนายหน้าขายที่ดินในแถยนี้แอบอ้างชื่อตนกับลูกสาวและได้สอบสวนบุตรสาวของนางจา และมีชื่อในการขายที่ดิน ซึ่งเพิ่งจะเสียชีวิตไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่ามาให้ถ้อยคำตรงกันว่ามารดาตนไม่เคยมีที่ดินที่กิ่วต้นม่วงหรือดอยป่าซางเพราะที่นั้นในอดีตมีสภาพเป็นป่า
นอกจากนี้ผู้ใหญ่บ้านตำบลดอนลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และผู้ใหญ่บ้านตำบลแม่อ้อ อำเภอพาน จังหสัดเชียงราย หลายคนต่างให้ถ้อยคำสอดคล้องกันว่า รู้จักร่องสักหรือม่อนมะเฮ่ กับกิ่วต้นม่วงหรือดอยป่าซางและสันขะมิ้น เป็นอย่างดี ในอดีตร่องสัก(ม่อนมะเฮ่) มีลักษณะเป็นป่าไม้ทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นต้นสัก ต้นเต็ง ต้นรังและสันขะมิ้น แต่ก่อนเป็นป่าอยู่หัวไร่ปลายนาและกิ่วต้นม่วง(ดอยป่าซาง)แต่ก่อนเป็นป่าใหญ่ ชาวบ้านใช้ประโยชน์ร่วมกันในการหาของป่าและตัดไม้เพื่อนำไป
ปลูกบ้านอาศัยและผู้ที่สูงอายุที่มีชื่อขายที่ดินนั้นเป็นลูกบ้านของพวกตนไม่เคยมีที่ดินบริเวณดังกล่าวเหตุที่มีชื่อขายที่ดินอาจเป็นเพราะบุตรชายหรือบุตรเขยของบุคคลเหล่านั้นเป็นานยหน้าขายที่ดินจึงเอาชื่อไปใส่โดยไม่ทราบ
เมื่อพิจารณาแล้วการออกโฉนดที่ดดินมีความไม่ชอบด้วยกฏหมาย ดังนี้
1.1.1 มีการปกปิดข้อเท็จจริงว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ที่เขาและมีสภาพไม่เป็นที่ป่าเพราะหากระบุว่าเป็นที่เขาที่ป่าซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินจะต้องห้ามไม่ให้ออกโฉนดที่ดินตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 27มีนาคม พ.ศ.2499 ที่เขาที่ภูเขาให้เป็นที่หวงห้าม มิให้บุคคลทำด้วยประการใดให้เป็นการทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดิน ที่หิน ที่กรวด ที่ทราย และกฏกระทรวงฉบับที่5 ซึ่งใช้ในขณะออกโฉนดที่ดินก็ห้ามออกโฉนดที่ดิน ในบริเวณที่เขา ที่ภูเขาเช่นเดียวกัน
การดำเนินการทั้งหมดในการออกโฉนดที่ดินจึงไม่ชอบด้วยกฏหมายและนอกจากนี้บุคคลที่ออกโฉนดที่ดินก็ไม่ได้มีการเข้าครอบครองทำประโยชน์อยู่จริง จึงต้องห้ามมิให้ออกโฉนดที่ดินตามกฏหระทรวงฉบับที่5แห่งประมวลกฏหมายที่ดิน
1.1.2 เหตุที่อ้างว่าซื้อมาจากผู้สูงอายุและอ้างว่าผู้สูงอายุครอบครองมาก่อนปีพ.ศ.2497(ก่อนประมวลกฏหมายที่ดินใช้บังคับและไม่ได้แจ้งส.ค.1)นั้นเพราะว่าตามมาตรา58แห่งทวิแห่งประมวลกฏหมายที่ดิน ถ้าครอบครองภายหลังประมวลกฏหมายที่ดินใช้บังคับ(หลังพ.ศ.2497)โฉนดที่ดินที่ออกมาจะถูกห้ามโอน10ปีและโฉนดที่ดินทั้ง 19 โฉนด ไม่มีการถูกห้ามโอนแต่อย่างใด และโฉนดที่ดินที่ออกมาเนื้อที่จะไม่เกิน50ไร่เพื่อเป็นการเลี่ยงที่จะต้องขออนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดหากเนื้อที่เกิน50ไร่
เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินเหล่านี้ประกอบด้วย นายอนันต์ สุโณทัย เจ้าพนักงานที่ดินจ.เชียงราย,นายสุรพล หรูวรรธนะ ผู้กำกับศูนนย์เดินสำรวจ,นายสมเกียรติ ดุริยกฤณชาติ เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิ์,นายธงชัย เกิดปฐม ช่างเดินสำรวจ,นางสาวพเยาว์ เครือหงษ์ ผู้ช่วยฝ่ายสอบสวนสิทธิ์,นายบดินทร์ หน่อเเสง ผู้ช่วยฝ่ายรังวัด
1.2การออกโฉนดที่ดินซึ่งเป็นที่เขา ร่องสักหรือสันมะแห่และสันขมิ้นในปีพ.ศ.2538 ซึ่งเป็นการออกโฉนดที่ดินให้แก่ นายทุนซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี จำนวน5แปลง เนื้อที่184ไร่ ปัจจุบันมีการขายต่อเพื่อปลูกยางพารา
จาการตรวจสอบเอกสาร พบว่าบุคคลดังกล่าวที่นำที่ดินมาออกโฉนดที่ดินอ้างว่าซื้อจากเจ้าของที่ดินเดิมซึ่งเป็นบุคคลในพื้นที่และเป็นคนในใบไต่สวนระบุเหมือนกันว่าไม่เป็นที่เขาไม่เป็นที่สงวนหวงห้ามที่สาธารณประโยชน์ แต่จากการลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่าที่ดินที่นำมาออกโฉนดที่ดินทั้ง5แปลงมีสภาพเป็นที่เขาปัจจุบันมีการตัดต้นไม้ มีการฉีดยาฆ่าหญ้า เตรียมปลูกยางพารา และในใบไต่สวนยังระบุว่าได้ปลูกไม้เบญจพรรณ และได้ตรวจสอบพบว่าบุคคลที่ในใบไต่สวนระบุว่าเป็นเจ้าของที่ดินเดิม เกือบทั้งหมดได้เสียชีวิตหมดแล้ว แต่ได้สอบถามนาง..ภรรยาผู้มีชื่อขายที่ดินให้นายทุนปัจจุบันอายุ82ปีซึ่งในใบไต่สวนระบุว่าเป็นผู้ขายที่ดินจำนวนทั้งหมดกว่า 120 ไร่บริเวณร่ิงสัก สันมะแห่ สันขมิ้น ให้ถ้อยคำว่า ตนรู้จักป่าร่องสักหรือม่อนมะแฮ่ กับกิ่วต้นม่วงหรือดอยป่าซาง และสันขะมิ้น เป็นอย่างดี เพราะตนมีที่นาบริเวณที่ลุ่มตีนเขา ม่อนมะแฮกับสันขะมิ้น เป็นเขาอยุ่หัวนาของตนภายหลังมีการตัดถนนผ่านบนหัวนาแยกระหว่างที่นาของตนกับม่อนมะแฮและสันขะมิ้น
แต่เดิมร่องสักกับสันขะมิ้นมีสภาพเป็นป่าไม้ใหญ่ ประกอบด้วยไม่สัก เต็งรัง ไม้ดู่ (ป่าแพะหรือป่าเบญจพรรณ) ชาวบ้านใช้ประโยชน์ร่วมกัน ในการหาของป่าและล่าสัตว์เลี้ยงชีพ สามีตน ไม่เคยมีที่ดินบนร่องสัก(ม่อนมะแฮ่)และสันขะมิ้น แม้แต่แปลงเดีย มีแต่ที่นา ตนไม่รู้ว่ามีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินบนม่อนมะแฮ่ และสันขะมิ้น ได้อย่างไร เพราะตนกับสามีไม่เคยไปจับจองทำประโยชน์และไปมีที่ดินบริเวณดังกล่าวแม้แต่แปลงเดียว
เมื่อพิจารณาแล้วการออกโฉนดที่ดินมีความไม่ชอบด้วยกฏหมาย ดังนี้
มีการปกปิดข้อเท็จจริงว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ที่เขาและไม่มีสภาพเป็นป่า เพราะหากระบุว่าเป็นที่เขาที่ป่าซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จะต้องห้ามมิให้ออกโฉนดที่ดินตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 27 มีนาคม 2499 ที่เขา ที่ภูเขา ให้เป็นพื้นที่หวงห้าม มิให้บุคคลทำด้วยประการใดให้เป็นการทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดิน ที่หิน ที่กรวด ที่ทราย และกฏกระทรตวงฉบับที่ 43(พ.ศ.2537) ซึ่งใช้ในขณะออกโฉนดที่ดินก็ห้ามออกโฉนดที่ดินในบริเวณที่เขาที่ภูเขาเช่นเดียวกัน การดำเนินการทั้งหมดในการออกโฉนดที่ดิน จึงไม่ชอบด้วยกฏหมาย และนอกจากนี้บุคคลที่ออกโฉนดที่ดินก็ไม่ได้มีการเข้าครอบครองทำประโยชน์อยู่จริง จึงต้องห้ามมิให้ออกโฉนดที่ดิน ตามกฏกระทรวงฉบับที่ 43 แห่งประมวลกฏหมายที่ดิน
เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินเหล่านี้ ประกอบด้วย นายชัชชัย สุขดินทร์ ผู้กำกับเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน และนายปดิษพร วงศ์เจริญเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงราย รวมเนื้อที่ทั้งหมด 678 ไร่
2.กอ่นหน้านี้ในปีพ.ศ.2554สำนักงานป.ป.ท.เคยลงพื้นที่ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนมีการออกเอกสิทธิ์ไม่ชอบดด้วยกฏหมายในพื้นที่ราษฎรทำประโยชน์ร่วมกัน มีสภาพเป็นที่เขาและป่า ที่ตำบลดอยลาน อำเภอ จังหวัดเชียงราย
จากการตรวจสอบเอกสารและจากการลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ปรากฏรายละเอียด พบว่ามีการออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ที่มีสภาพเป้นที่เขา มีสภาพเป้นป่าสมบูรณ์ และพบว่าโฉนดที่ดินบางแปลงยังไม่มีการลงระวางโฉนดที่ดิน รวมเนื้อที่ทังหมดประมาณ 1,300 ไร่ ส่วนที่กระทำการอยู่ในอำนาจของสำนักงานคณะกรรมการป.ป.ช. นั้น สำนักงานป.ป.ท.ได้ส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการป.ป.ช.แล้วตามหนังสือรับที่11625 ลงวันที่ 21 กรกฏาคม 2554 ในส่วนการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมกันกระทำอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป.ป.ท.ในการออกโฉนดที่ดินรอบพระธาตุดอยแง่มรวม9แปลง รวมเนื้อที่ 174 ไร่ ซึ่งปัจจุบันยังมีสภาพเป็นป่าสมบูรณ์ มีสภาพเป็นเหวสูงชัน อยู่ระหว่างนำเข้าคณะกรรมการ ป.ป.ท.พิจารณาแต่งตั้งอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง
3.จากการลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่า ที่ดินกว่า 1,000 ไร่ซึ่งจากการลงพื้นที่เมื่อเดือนพฤษภษคม 2554 ยังคงมีสภาพเป็นป่าสมบูรณ์ ปัจจุบันไม่เหลือสภาพป่า มีการใช้รถแม็คโฮ เข้าไถป่า และมีการนำยาฆ่าหญ้า ฉีดตลอดพื้นที่เป็นเนื้อที่กว่า 1,000 ไร่
รักษ์ไม้,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,มูลไส้เดือนดิน,การเลี้ยงไส้เดือน,ปุ๋ยอินทรีย์,ปุ๋ยชีวภาพ